โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

New Normal…ท้าทายการค้าระหว่างประเทศของไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

อัพเดต 28 พ.ค. 2563 เวลา 09.09 น. • เผยแพร่ 28 พ.ค. 2563 เวลา 09.09 น.
Foreign Trade
Foreign Trade

​                 วิกฤต COVID-19 เปลี่ยนวิถีการทำธุรกิจทั่วโลก ที่ส่งผ่านมายังการค้าโลกในปี 2563 หดตัวถึง 13% ถึง 32% (WTO) และภาวะชะงักงันของ FDI หดตัวที่ 30% ถึง 40% (UNCTAD) สิ่งเหล่านี้ท้าทายการปรับตัวของธุรกิจการค้าระหว่างประเทศของไทยให้พร้อมรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ครอบคลุมถึงการปรับกระบวนการทางธุรกิจระหว่างประเทศที่ให้สอดคล้องกับวิถีปฏิบัติใหม่ “New Normal" ดังนี้

            การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการบริโภคท้าทายผู้ส่งออก/นำเข้าในการบริหารจัดการคลังสินค้าให้มีความยืดหยุ่น โดยเฉพาะการคาดการณ์ปริมาณการสำรองสินค้าให้เพียงพอต่อการบริโภคและการผลิตในทุกสถานการณ์ ธุรกิจที่ต้องเชื่อมโยงการค้ากับหลายประเทศจะเผชิญความยุ่งยากที่ต้องรับมือกับความต้องการที่ต่างกันไป ซึ่งการนำ AI มาช่วยประมวลผลข้อมูล (Big Data) ทั้งฝั่งผู้บริโภคและการผลิตได้แบบทันที (Real-time) จะกลายเป็นตัวช่วยสำคัญให้ธุรกิจสามารถคาดการณ์ปริมาณการจัดซื้อ ระยะเวลาการสำรองสินค้า พื้นที่ในการจัดเก็บ ประมาณการค่าใช้จ่าย เพื่อให้สามารถจัดเตรียมสต็อคสินค้าและบริหารจัดการธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                ขณะที่มาตรฐานด้านความปลอดภัยจะเป็นสิ่งที่นานาชาติหันกลับมาให้ความสำคัญยิ่งขึ้น ทำให้เกิดความยุ่งยากในการเข้าถึงตลาด และอาจเพิ่มต้นทุนในการเตรียมความพร้อมในระยะแรก อาทิ การฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ มาตรฐานสุขอนามัยของพนักงานขนส่งและพาหนะที่ใช้ขนส่งซึ่งค่อนข้างเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้าทางบกผ่านชายแดนไทย อาทิ การต้องเปลี่ยนคนขับรถเป็นคนท้องถิ่นที่มีจำนวนจำกัด นอกจากนี้ ในระยะข้างหน้าอาจขยายมาสู่การเข้มงวดด้านกฎระเบียบสุขอนามัยพืชและสัตว์ที่ง่ายต่อการเป็นพาหะนำเชื้อโรค ซึ่งหากเทียบแล้วมาตรฐานการนำเข้าของ EU เรียกได้ว่าอยู่ในระดับสูง ถ้าหากผู้ประกอบการสามารถปฏิบัติได้ตามเกณฑ์อยู่แล้วก็ไม่ที่ต้องกังวลในด้านนี้

                  นอกจากนี้ กระบวนการการค้าระหว่างประเทศก็กำลังถูกผลักดันเข้าสู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบทั่วโลก ในด้านหนึ่งนับว่าช่วยอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างดี แต่ขณะเดียวกันข้อมูลของผู้ประกอบการตลอดห่วงโซ่ธุรกิจก็จะถูกตรวจสอบโดยภาครัฐได้โดยง่าย ซึ่งธุรกิจส่งออกรายใหญ่ที่มีการจัดการฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบอยู่แล้วไม่น่ากังวล แต่ธุรกิจรายย่อยที่มีจำนวนมากในไทยและธุรกิจค้าชายแดนที่ยังมีช่องโหว่คงต้องปรับทั้งกระบวนการทำธุรกิจให้โปร่งใส่และตรวจสอบได้ ไม่ว่าจะเป็นการรายงานผลประกอบการของธุรกิจในรูปแบบสากล การยืนยันตัวตนของผู้นำเข้า/ส่งออกในรูปแบบดิจิทัล การส่งเอกสารศุลกากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI) การชำระเงินค่าสินค้า/บริการ ตลอดจนการชำระภาษีอากรระหว่างประเทศ

               อีกทั้ง บทบาทของจีนที่มีต่อไทยคงจะลดน้อยลงจากปัจจุบัน ซึ่งแน่นอนว่าจีนจะยังคงเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลกและไทยยังเป็นหนึ่งในห่วงโซ่การผลิตที่สำคัญของจีน แม้ในระยะข้างหน้านักลงทุนจะกระจายความเสี่ยงออกจากจีนไปลงทุนในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก แต่เม็ดเงินลงทุนที่กระจายออกก็จะเป็นในรูปแบบเฉพาะสินค้าหรือเฉพาะอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพการผลิตในประเทศปลายทางการลงทุน ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นการส่งออกของไทยบางอย่างอาจเกิดการเบี่ยงเบนการค้า (Trade Diversion)ไปยังตลาดใหม่ที่เป็นเป้าหมายของนักลงทุนตามไปด้วย ดังนั้น โจทย์สำคัญของไทยคงต้องพุ่งเป้าไปที่การเร่งรัดจัดทำความตกลงทางการค้าเสรีเพื่อสร้างแต้มต่อให้แก่ธุรกิจส่งออกของไทยในประเทศที่อาจเป็นฐานการผลิตใหม่ในอนาคต อาทิ แถบทวีปอเมริกา ยุโรป และแอฟริกา ทั้งนี้ ในปัจจุบันตลาดส่งออกหลักของไทยในกลุ่มสินค้าขั้นกลางส่วนใหญ่ไทยล้วนมีความตกลงทางการค้าเสรีอยู่แล้วทั้งจีน ญี่ปุ่น และอาเซียน 


0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0