โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

My Way My Investment Interview ... กับบทสัมภาษณ์อาจารย์ ผศ.ดร. ศุภวัฒน์ สุภัควงศ์

Stock2morrow

อัพเดต 18 ต.ค. 2561 เวลา 11.10 น. • เผยแพร่ 18 ต.ค. 2561 เวลา 05.03 น. • Stock2morrow
My Way My Investment Interview ... กับบทสัมภาษณ์อาจารย์ ผศ.ดร. ศุภวัฒน์ สุภัควงศ์
My Way My Investment Interview … กับบทสัมภาษณ์อาจารย์ ผศ.ดร. ศุภวัฒน์ สุภัควงศ์

มีอะไรที่ดีกว่าการลงทุนไหม
ที่จะทำให้บั
นปลายชีวิตของเราเป็น บันปลายชีวิตที่ดีได้
สำหรับเพื่อนๆแล้ว อะไรน่ากลัวกว่ากันค่ะ ระหว่าง“กลัวการเริ่มลงทุนในวันนี้ ” กับ “กลัวการใช้ชีวิตในอนาคตที่ไม่มีรายได้” บทสัมภาษณ์นี้จะทำให้เพื่อนๆฉุกคิดถึงคำว่า“บันปลายชีวิต”

มาถึง EP.8 กันแลัวนะคะ สำหรับโปรเจ็กต์ดีๆที่ Stock2morrow ทำขึ้นจากความตั้งใจที่ว่า #ทุกอาชีพสามารถลงทุนได้ กับโปรเจ็กต์ My Way My Investment สำหรับบทสัมภาษณ์ตอนนี้ เราพาเพื่อนไปทำความรู้จักกับอาชีพ ครูหรืออาจารย์ เป็นอาชีพที่เราต่างก็รู้กันดีว่า รายได้ไม่สูงมากนัก เพื่อนๆคิดว่ามันจะเป็นอุปสรรคของการเริ่มลงทุนหรือเปล่าคะ? บทสัมภาษณ์นี้เราได้ ผศ.ดร.ศุภวัฒน์ สุภัควงศ์ หรือ อ.นาย มาตอบคำถามนี้ให้เพื่อนกันแล้วค่ะ
 

แนะนำตัวให้พวกเรารู้จักหน่อย
ชื่อ อ.นาย ผศ.ดร.ศุภวัฒน์ สุภัควงศ์ ครับ เป็นอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่วนนั้นคืองานประจำนะครับ นอกจากนั้นคือเป็นนักลงทุน ทั้งในส่วนที่ลงทุนเอง และเป็นที่ปรึกษาในบริษัทที่เน้นวิจัยและพัฒนาการเทรดอัตโนมัตชื่อว่า Think Algoรวมทั้งเป็นวิทยากรในเครือ Stock2morrowด้วยครับ ผลงานเขียนหนังสือชื่อ เทรดหุ้นยุคใหม่ให้โรบอททำเงินแทน

 

เริ่มต้นศึกษาการลงทุนได้ยังไง
เริ่มลงทุนจริงๆตอนที่มาทำงานครั้งแรกครับ ตอนเรียนเราเป็นนักเรียนทุน ได้เงินเดือนอยู่ทุกเดือนครับ แต่พอเราเริ่มทำงานเป็นอาจารย์และทำงานจริงๆ สิ่งที่เราต้องมอง คือ เราต้องมองว่าเงินที่เรามีอยู่ตอนนี้มันเพียงพอต่ออนาคตหรือเปล่า?  ก็ได้คำตอบว่า เห้ย!มันต้องหาวิธีแล้วล่ะ ว่าจะทำยังไงให้มันงอกเงยไปได้เรื่อยๆ ถามว่าเริ่มยังไง จริงๆวิธีลงทุนก็มีสินทรัพย์ในตลาดมากมายให้เราลงทุนได้เต็มไปหมด ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกวิธีไหน ส่วนตัวผมเอง ผมเลือกดูการลงทุนในหุ้น เพราะว่ามีความคุ้นเคยอยู่บ้าง คนในครอบครัวเองก็ลงทุนในหุ้นครับ จุดเริ่มต้นเลยก็เหมือนนักลงทุนทั่วไป ไปซื้อหนังสือมาอ่าน เข้าคอร์สสัมมนาอมรบต่างๆ พอรู้สึกว่าพร้อมประมาณหนึ่งแล้ว ก็เปิดพอร์ตและเริ่มซื้อขายครับ

สหกรณ์ออมทรัพย์ครู คืออะไร แล้วปัญหาส่วนใหญ่ของครูจะเป็นหนี้กันเยอะจากการกู้สหกรณ์นี้ จริงไหม?

หนี้ของครู ผมมองว่า ถ้ามองรายได้อาชีพครูก็ไม่ได้เป็นอาชีพที่สร้างรายได้เยอะมาก แต่รายจ่ายเองซึ่งแต่ละคนก็ไม่เท่ากันถ้ามองว่ารายได้น้อยกว่ารายจ่าย ก็คงต้องมีช่องทางต่างๆ ในการหาเงินเพิ่มหรือกู้นั่นเอง คราวนี้ก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละคนเองว่า เขามีความรับผิดหรือมีวินัยมากน้อยแค่ไหน? หรือมีความโลภ ที่อยากได้มากน้อยแค่ไหน? มีความต้องการทางครอบครัว หรือปัจจัยอื่นๆอีกที่ต้องใช้เงิน มากน้อยแค่ไหน? ถ้ามันมีความต้องการมาก ก็จะหาช่องทางที่จะกู้ เมื่อกู้ก็ต้องมีวินัยที่จะส่งคืน เพื่อไม่ให้เงินก้อนนี้มันใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้าไม่สามารถคุมได้ หนี้ก้อนนี้มันก็จะใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ สำหรับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ในส่วนตัวผม ผมมองว่าเป็นที่ที่ใช้ในการออมเงิน เรามีก็เอาเข้าไปเก็บเพื่อให้มันงอกเงย ผมไม่ได้มองสหกรณ์ในมุมของการกู้ ในส่วนตัวผมเองผมไม่ได้กู้เงินอยู่แล้วเลยมองว่า เป็นหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยออมเงินให้เติบโตขึ้น แต่ไม่ได้มองว่าเป็นทางเลือกสำหรับการสร้างหนี้

ลักษณะอาชีพความเป็นครู ส่งผลดี หรือเสีย กับการลงทุนของอย่างไรบ้าง

ในส่วนของการเป็นอาจารย์ ช่วงเวลาปกติเป็นช่วงเวลางาน ก็จะไม่เหมาะกับการไปเฝ้าหน้าจอ หรือลงทุน ดังนั้นช่วงเวลาที่ทำงานก็จะโฟกัสในงานของตัวเองให้ดีที่สุด การลงทุนก็เลยจะมาหลังจากนั้น เลยต้องมองก่อนเรื่องแรก เราเป็นนักลงทุนในแบบไหน แนวทางที่เป็นเดย์เทรด ไม่น่าจะเหมาะแน่ๆกับอาชีพของเรา ฉะนั้นเราก็มองในมุมที่กว้างกว่านั้น อย่างตัวผมเอง ผมมองว่าผมไม่มีเวลาดูหน้าจอระหว่างวันถ้าผมจะทำการซื้อขายหุ้น ผมจะรอแค่ช่วงใดช่วงนึงของวัน อย่างเช่นช่วงตลาดปิด ก็คือใช้เวลาแค่ 5 นาที ช่วงตลาดปิดสี่โมงครึ่ง ในการที่จะซื้อหรือขายแค่นั้น คือระหว่างวันก็ไม่เฝ้าดูหน้าจอแล้วก็โฟกัสงานของตัวเองให้ที่ดีสุด

คนที่มีอาชีพครู ส่วนใหญ่ลงทุนไหม

ผมมองว่าหลากหลาย เพราะแต่ละคนใช้ชีวิต และมีเงื่อนไขในการใช้เงินที่แตกต่างกัน ความต้องการความจำเป็นไม่เหมือนกัน แต่ยังไงซะผมมองว่า ทุกคนต้องลงทุนเพียงแต่ว่า เค้าอยู่ช่วงไหนของชีวิต และความปรารถณา หรือความต้องการในช่วงนั้นๆ เป็นอย่างไร หลายคนอาจจะเลือกที่ลงทุนเก็บออม ในส่วนของออมทรัพย์ เพราะมีความจำเป็นต้องใช้เงินเรื่อยๆ ผลตอบแทน ก็อาจจะน้อยหน่อย บางคนอาจจะมองว่าไม่มีเวลาศึกษามากพอ ก็ลงทุนในกองทุนรวม หรือบางคนพอที่จะมีเวลา มีความรู้ในการวิเคราะห์ ก็อาจจะลงทุนในหุ้นได้ อันนั้น ผมมองว่าหลากหลาย แต่เชื่อว่าทุกคนต้องมีการลงทุนครับ

ส่วนใหญ่ที่คนเรียนสายวิศวะจะมีการคิดแบบเป็นขั้นเป็นตอน ช่วยเรื่องลงทุนไหม

ถ้ามองในสายวิศวะ คืออาชีพที่ชินกับการทำอะไรที่เป็นระบบมากๆ ชินกับการ follow instruction ทำทุกอย่างเป็นขั้นตอน ที่กลัวมากที่สุด คือความเสี่ยง ฉะนั้นแนวคิดตัวนี้ ก็เลยมาถึงในเรื่องของการลงทุน ที่ผมมองอย่างแรกเลย เงินก้อนแรกที่ได้จากรายได้ของเรามากน้อยแค่ไหน รายได้ตรงนี้จะถูกแบ่งออกไปในส่วนของค่าใช้จ่ายต่างๆในแต่ละเดือน แล้วเงินก่อนที่เหลือ คือใช้ในการลงทุนเพื่อให้มันงอกเงยขึ้นไป คราวนี้ถามว่าจะลงทุนในสินทรัพย์ส่วนไหน อันนั้นก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคนเพราะการลงทุนในแต่ละอย่างมีความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้ไม่เท่ากัน ผมมีหุ้นเพราะมองว่าศึกษามาบ้างแล้ว มีกองทุนต่างประเทศเนื่องจากต้องการกระจายความเสี่ยง เพราะเล่นหุ้นในประเทศแล้ว ต่างประเทศเราไม่มีเวลาดูตลาดแล้วซื้อ-ขายเองด้วย ก็เล่นเป็นกองทุนแทนเป็นตัวเลือกอีกทางนึง พอมาดูในส่วนของหุ้น ผมพยายามมองให้ทุกอย่างเป็นระบบ ว่าจะมีกลไกในการเลือกหุ้นดีที่เข้าพอร์ตเราได้อย่างไร ฉะนั้นหลักง่ายๆของผมมี 3 ส่วนด้วยกันครับ

  • ผมจะลงทุนต่อเมื่อตลาด ณ เวลานั้นเป็นตลาดที่ดี หรือตลาดเป็นใจ ดูภาพรวมของตลาด คือเศรษฐกิจที่ดี
  • ลงในอุตสาหกรรมไหนดี เพราะในแต่ละช่วงเวลาจะมีอุตสาหกรรมที่ มัน Outperform ออกจากตลาด มีอยู่ไม่กี่ตัว
  • ค่อยเลือกหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้น
    มีสามข้อนี้ เป็นเหมือนตะข่าย 3 ชั้นที่ช่วยกรองได้ว่า เราจะได้หุ้นตัวที่ดีที่สุดจากตลาด ณ ตอนนั้น

เล่าประสบการณ์ตอนเริ่มลงทุนใหม่ๆ ให้ฟังหน่อย มีช่วงที่อยากเลิกไหม แล้วอะไรเป็นกำลังใจให้กลับมาลงทุนต่อ
ถามว่าเคยท้อไหม ผิดพลาดไหม เคยครับ ช่วงแรกของการศึกษา เราคิดว่าเราเก่งพอแล้ว อ่านหนังสือ เข้าคอร์สสัมมนา ก็คิดว่าตัวเองแน่แล้วแหละ มั่นใจครับว่าเรามีทักษะและการตัดสินใจที่ดี สามารถทำเงินจากตลาดทุนนี้ได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง พอเริ่มเปิดพอร์ตซื้อขายจริง มันต่างกับที่เราอ่านจากในหนังสือเยอะมาก เราเลือกหุ้นที่ดูเป็นหุ้นที่มีพื้นฐานดี เราเชื่อว่ามีอนาคต เราซื้อมันเก็บเข้าพอร์ต ปรากฏซื้อไป 2-3 เดือนมันไม่ขยับเลย ในขณะที่หุ้นที่ดูไม่มีพื้นฐานอะไรเลย มันกลับวิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ เราก็เริ่มรู้สึกว่ามันแอบไม่แฟร์นะ ในเมื่อเรามีสิ่งที่ดีที่สุดแล้วทำไมมันไม่ไปไหน หนำซ้ำบางตัวที่มองว่าดีแล้วซื้อไว้ ปรากฎว่ามันยิ่งตกลงไปอีกมากขึ้นเรื่อยๆ ณ จุดนั้นคือไม่มีความสุขกับการลงทุนเลย เพราะเราไม่รู้สุดท้ายแล้ว แนวทางที่ดีที่สุดของการลงทุนคืออะไร ก็เลยเป็นจุดที่ผมหยุดทุกอย่าง ล้างหุ้นที่มีในพอร์ต และพยายามกลับมาคิดทบทวนว่าเราพลาดตรงไหน แล้วขั้นต่อมา คือเราจะกลับไปใหม่อย่างไร เพื่อจะไม่ผิดพลาดแบบเดิมอีก

ณ ตอนนั้น คิดว่าจุดพลาดคืออะไร

ตอนนั้นผมมีหุ้นตัวหนึ่งที่ โดยพื้นฐานเป็นหุ้นพื้นฐานดี เราก็เลยซื้อ โดยที่เรามีแพลนการลงทุนที่เชื่อว่ามันดีแล้วนะ เข้าซื้อตัวนี้ ถ้ามันตกถึงเท่านี้จะ cut loss ออก คือมีเป้าหมาย มีแพลนชัดเจนครับ แต่สิ่งเกิดขึ้น เพราะราคาเริ่มตกมาหน่อยนึง เราก็เริ่มแบบคิดในใจ เห้ยยย! เอ๊ะ! แต่มันเป็นหุ้นที่ดี ซื้อเพิ่มๆๆๆๆ แต่มันไม่เด้งกลับ กลับตกไปมากกว่าเดิมอีก แต่เมื่อถึงจุดเราต้อง cut loss ดันไม่กล้า เพราะรู้สึกว่าเงินเราจำนวนเยอะมากๆ อยู่ตรงนั้นถ้า cut loss คือเราขาดทุนไปมากพอสมควรเลย ก็เลยเลือกที่จะอยู่นิ่งๆเฉยๆ ไม่ทำอะไร แต่ปรากดว่าหุ้นตัวเดียวคือติดลบไปกว่า 30-40 %

ถ้านักลงทุนแนว VI คือเชื่อในพื้นฐานว่ามันดี ถ้ามันตกก็ยังจะเชื่อ ส่วนตัวอาจารย์มองว่ายังไง?

ผมมองว่าถ้าลงทุนแนว VI คือมองพื้นฐานของบริษัท คือต้องวิเคราะห์ให้ถึงขั้นว่า บริษัทนี้เป็นบริษัทที่ดี จะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีมากๆ ได้ในอนาคต ฉะนั้นคนกลุ่มนี้ เขาพร้อมที่จะซื้อเมื่อราคาตก ยิ่งตกยิ่งซื้อเก็บ แล้วจุดนึงมันจะสร้างผมตอบแทนที่ดีได้
ถ้ามองมุมนักลงทุนทั่วไป เรามั่นใจแน่หรอว่าที่วิเคราะห์ว่ามันเป็นหุ้นที่ดีแล้ว ถ้ามั่นใจก็ไม่มีปัญหาครับ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือไม่มั่นใจครับ พอมันเริ่มตกก็จะมีเรื่องของอารมณ์เข้ามา สุดท้ายจะมีคำถามในใจว่าที่เลือกมา มันถูกหรือผิด วิเคราะห์ถูกไหม หรือแค่ไปตามข่าวที่ไม่รู้ว่าเป็นข่าวจริงหรือข่าวปลอม ทีนี้สุดท้ายแล้วมันคือ “อารมณ์” ที่ทำให้เรา ไม่ทำตามแผนที่เราวางไว้แต่แรก

ตอนที่ล้างพอร์ต แล้วกลับมาใหม่ ทำไมถึงกลับมาได้หรือฉุกคิดอะไร

ตอนนั้นสิ่งที่คาใจมากๆ ด้วยความเป็นวิศวะ เราชินกับทุกอย่างที่มันเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน อย่างเช่น 1+1=2 เราเลือกหุ้นพื้นฐานดี เราก็เชื่อว่ามันต้องราคาขึ้น ตานี้กลับตกลงเหมือนขัดแย้งในใจเพราะตรงข้ามกันมาก  เลยตั้งคำถามใหม่ในใจ หรือว่ามันเป็นเพราะว่า หุ้นที่เราโฟกัสอยู่ มันแค่บางตัวที่เป็นแบบนี้ ถ้าเราทำแบบนี้กับหุ้นทุกตัวในตลาด ผลที่มันออกมาจะเป็นยังไง เพราะฉะนั้น สิ่งที่ทำคือเอาแนวคิดการลงทุน เหมือนเดิมเลยนะ เอาตัวนี้แหละเขียนโปรแกรมเลย ถ้าฉันทำแบบนี้กับหุ้นทุกตัวในตลาด ตั้งแต่อดีต ตลาดเปิดใหม่ๆ จนถึงปัจจุบัน ถามว่าหุ้นตัวนี้จะให้ผลตอบแทนที่ดีมากน้อยแค่ไหน ความเสี่ยงจากความคิดการซื้อขายการลงทุนแบบไหน อยู่ในระดับไหน แล้วเรายอมรับได้หรือเปล่า เมื่อศึกษาข้อมูลในอดีตอย่างจริงจัง ทำให้เราเข้าใจว่าแนวทางการทุนแนวนั้นมันดีจริงๆ พอเรากลับเข้ามาในตลาดหุ้นอีกครั้ง เรามาพร้อมกับความมั่นใจ ที่ถูกตัดอารมณ์ออกไป ก็จะเป็นตัวสร้างผลตอบแทนที่ดีให้เราได้

คิดว่าคนเราควรเริ่มลงทุนตอนไหน เงินเยอะหรือน้อยสำคัญแค่ไหน เท่าไหร่ถึงเริ่ม

ผมมองว่าเริ่มให้เร็วที่สุด เงินมากหรือน้อยไม่สำคัญ ถ้าในวันที่เริ่มเงินมาก และเป็นเงินเย็น ผมอยากให้ใส่เข้าไปเลย  แต่ถ้าไม่โชคดี มีรายจ่ายเยอะ ทะยอยลงทุนไปเรื่อยๆ ไม่เสียหาย แต่สิ่งหนึ่งที่จำเป็นเลยคือ ยิ่งคุณเริ่มเร็วเท่าไหร่ ไอ้ตัวผลตอบแทนแบบทบต้น มันจะช่วยมากๆ ในระยะยาว ทีนี้ ที่ผมบอกว่าเริ่มให้เร็ว ผมมองว่า การลงทุนเป็นการเล่มเกมส์ระยะยาว ช่วงแรกอย่าไปคิดมาก ว่ามันขาดทุนกี่บาทกี่เปอร์เซน ให้มองว่าเป็นส่วนนึงของการศึกษา เราต้องมีประสบการณ์ก่อน ต้องเจ็บให้เยอะ จะได้รู้ว่าทำไมถึงเจ็บแล้วต้องรู้ให้ได้ว่าทำยังไงถึงหาย หรือไม่เจ็บอีก ต้องให้ได้กำไรเยอะๆ จะได้รู้จักความโลภที่จะเข้ามาเกี่ยวข้อ ฉันจะอยากได้มากกว่าเดิม ในช่วงแรกของการลงทุนควรได้รู้จัก อารมทั้งหมดที่เกี่ยวข้อกับตลาดทุน เมื่อเรารู้ว่ามันมีแบบไหนบ้าง เราถึงจะคุมตัวเองอยู่ แล้วหลังจากนั้น ผมมองว่าเฟสสองต่างหากที่จะเป็นตัวอย่างผลตอบแทนที่ดีได้ แล้วช่วงหลังของชีวิตถึงจะเป็นช่วงที่กอบโกยกลับมาได้

หลักคิดที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการลงทุน
ผมมองว่าคนหนึ่งคนจะประสบความสำเร็จใจการลงทุนได้ มี 3 อย่างครับ

  • หาจุดซื้อ-ขายที่ดี
  • การจัดการการลงทุน สมมุติมีหุ้นที่เราสนใจเยอะ เรามีการแบ่ง หรือจัดการมันอย่างไร สมมุติมีหุ้น 20 ตัว จะแบ่งเงินลงทุนตัวละ 5 % เท่าๆกัน หรือบางตัวเยอะบางตัวน้อยต้องมีการจัดการอย่างไร
  • คุมอารมณ์ และมีวินัยในการลงทุน

สิ่งที่ผมเห็นส่วนใหญ่ นักลงทุนจะมีข้อ 1 และ 2 ที่โอเคแล้ว คือหาความรู้ได้ไม่ยากแต่ที่สำคัญที่สุด คุมอารมณ์ ตัดอารมณ์ ออกจากการลงทุน และมีวินัยครับ ก็เป็นที่มาที่ไปของแนวคิดการลงทุนที่ผมใช้ปัจจุบัน หรือ การลงทุนอย่างเป็นระบบ (System Trade) ไอเดียของมันคือ ทำการใส่เงื่อนไขการซื้อขายเข้าไป โดยที่ทำการทดสอบย้อนหลัง จากแนวคิดแบบนี้ สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในตลาดได้ เมื่อเรามั่นใจในระบบ ที่เหลือเราแค่รอในแต่ละวัน ว่ามีหุ้นตัวไหนที่เกิดสัญญาณซื้อ ก็เข้าไปซื้อ โดยที่ไม่มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง เอ๊ะ! มันดีจริงๆหรือเปล่า ถ้าระบบบอกให้ซื้อ คือซื้อ ถ้าระบบบอกให้ขาย คือขาย เพราะมันไม่มีอารมณ์และพอทำตามไปเรื่อยๆ ปรากฎว่ามันได้ผลจริงๆ ถ้ามันเป็นระบบดีจริงๆ ก็จะสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาวการเป็นนักลงทุนอย่างเป็นระบบ อย่างแรกเลยเราต้องมีระบบที่ใช้ช่วยในการค้นหาหุ้นที่ดี ก็คือการนำข้อมูลในอดีตมาศึกษาว่า ถ้าเรามีแนวคิดการซื้อ-ขายแบบนี้ มันจะเป็นยังไง เหมือนกึ่งๆจะเป็นงานวิจัยค้นหาว่าเราจะสร้างระบบตัวนี้ให้เป็นวิธีได้อย่างไร นักลงทุนอย่างอย่างระบบจึงเสียเวลาส่วนใหญ่กับการสร้างระบบที่ดี เมื่อได้ระบบที่ดีแล้ว สิ่งที่ต้องทำคือมีวินัยในการ Follow ตามกฎของระบบเหล่านั้น ที่ผมทำคือเมื่อตลาดปิดผมทำการดาวน์โหลดหุ้นทุกตัวออกมา และใช้โปรแกรมในการแสกนหาหุ้นว่าตัวไหน มีสัญญาซื้อ-ขายบ้าง และซื้อหรือขายในจำนวนเท่าไหร่ ในวันต่อมาก็คือคีย์คำสั่งนั้นไปเลย สังเกตุได้ว่าจะไม่มีการใช้อารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง และทำตามกฎที่ระบบวางไว้อย่างชัดเจนถ้าเราทำตามกฎนั้น มันจะได้ดีมากน้อยแต่ไหน และมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน คือคำถามที่ผมตั้ง ถ้าสมมุติว่ามันได้ 5% ผมเอาเงินไปลงทุนพันธบัตรไม่ดีกว่าหรอ? หรือกองทุนรวม ลงครั้งเดียวแล้วไม่ต้องไปเล่นไปดูแลก็ได้ แบบนี้ไม่ดีกว่าหรอ? เราใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ ทำให้เกิดความมั่นใจ

แล้วหลักคิดในการประกอบอาชีพของครูละ?
ตั้งแต่วันเแรกที่ผมมาเป็นอาจารย์ ผมรู้ว่าไม่ได้เป็นอาชีพที่มีรายได้สูงมากมาย การเลือกเป็นอาชีพนี้มันเป็นความสุขที่ได้สอน ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ดีๆให้คนกลุ่มหนึ่ง เทอมๆนึงได้สอนเด็กเยอะมาก มีทั้งคนที่เขาเข้าใจ และไม่เข้าใจ แต่ต้องมองแบบนี้ ว่าเด็กทั้งหมดในแต่ละเทอม ขอแค่ซัก 2-3 คน ที่เข้าใจจริงๆ และมีไฟในการเรียนรู้ต่อ คนกลุ่มนี้แหละ จะเป็นกลุ่มที่จะทำให้สังคมที่เราอยู่มันดีขึ้นไปเรื่อยๆ ส่วนตัวผมคือ ผมมีความสุขในการสอน และพร้อมที่จะส่งมอบสิ่งดีๆ ให้คนในเจเนอร์เรชั่นต่อไป

ฝากถึงคนยังไม่ลงทุนหน่อย
ผมว่าการที่เราจะกลัวการลงทุนในวันนี้ เราควรกลัวการใช้ชีวิตในอนาคตเมื่อเราไม่มีรายได้ซะมากกว่าหรือเปล่า ณ วันนี้ ยังเป็นวันที่เราสามารถทำงานได้ หาเงินได้ แทนที่เราจะเอารายได้ส่วนนี้ไปใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟื่อย แล้วอนาคตไม่รู้เลยว่า จะเจ็บป่วยหรือถึงวันที่เราไม่สามารถทำงานได้ขึ้นมาเมื่อไหร่ ถามว่าจะกระทบเรามากขนาดไหน ในขณะที่ถ้าเริ่มในวันนี้ ไม่ต้องมากแต่สม่ำเสมอ ไปเรื่อยๆ  ณ วันนั้นที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดไว้ คือป่วย  หรือแค่อายุมากแล้วอยากหยุดทำงาน จะมีเงินก้อนนี้มาดูแล ฉะนั้นคืออย่ามองแค่ในมุมสั้นๆว่า ปีนี้ลงทุนแล้วขาดทุน 10% ฉันจะไม่ลงทุนแล้ว แต่อยากให้มองยาวๆ มากกว่า ว่าในอีก 50 ปีข้างหน้า เราจะใช้ชีวิตอย่างไร มีอะไรที่ดีกว่าการลงทุนไหม ที่จะทำให้บันปลายชีวิตของเรา เป็นบันปลายชีวิตที่ดีได้

หลังจากเพื่อนๆอ่านบทสัมภาษณ์ของอาจารย์นายจบ เราเชื่อว่าต้องมีคนที่มองอนาคตข้างหน้าและต้องเริ่มหาคำตอบว่าควรทำอย่างไรกับ “บั้นปลายชีวิต” ทัศนคติในมุมมองความคิดเรื่องการลงทุนของอาจารย์ที่ย้ำเสมอๆในบทสนทนา คืออาจารย์จะทำตามระบบและไม่นำอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องในการตัดสินใจซื้อ-ขาย ซึ่งเป็นเพราะการเรียนวิศวะของท่านเอง เป็นจุดแข็งที่เกิดจากอาชีพที่ท่านทำงานอยู่ เราเชื่อว่า เพื่อนๆเองไม่ว่าทำอาชีพอะไรก็จะมีจุดแข็งของตัวเองและนำมาปรับใช้กับการลงทุนได้เหมือนกันค่ะ ..สำหรับอาชีพต่อๆไป ถ้าเพื่อนๆอยากรู้เทคนิคการลงทุนของอาชีพไหน แอบ inbox มาบอกพวกเราได้นะคะ แล้วมาเรียนรู้ประสบการณ์การลงทุนดีๆของแต่ละอาชีพไปด้วยกันใน My Way My Investment EP.9 ด้วยกันค่าาาาา..

 

stock2morrow

ศูนย์รวมความรู้เรื่องหุ้น ศูนย์รวมนักลงทุนรายย่อย ที่อยากรู้วิธีการลงทุนในหุ้นอย่างถูกต้องและได้กำไรอย่างยั่งยืน ติดตามเราได้ที่ LINE@stock2morrow, FB:stock2morrow และ www.stock2morrow.com 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0