โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

LINE Education Square คว้ารางวัล LINE Challenge Developer สร้างคนรุ่นใหม่รับไทยแลนด์ 4.0

Dailygizmo

เผยแพร่ 18 ธ.ค. 2561 เวลา 09.03 น. • DailyGizmo admin

จบลงแล้วกับ LINE Challenge Developer อีกหนึ่งโครงการจาก LINE ที่ตั้งเป้าส่งเสริมนักศึกษาไทยที่มีฝีมือ ป้อนสู่ตลาดแรงงานที่ไทยกำลังขาดแคลน โดยผู้ชนะคือ  LINE Education Square ที่นำแพลตฟอร์มของไลน์มาแก้ปัญหาด้านการศึกษา

LINE Challenge Developer
LINE Challenge Developer

LINE Challenge Developer เพิ่งจัดเป็นครั้งแรกโดยร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีสิรินธร (SIIT) เพื่อช่วยพัฒนาเด็กไทยที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีให้ก้าวไปเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาไทยแลนด์ 4.0 โดยเปิดรับสมัครไปตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา  มีทีมนักศึกษาที่ผ่านเข้ารอบทั้งหมด 9 ทีม ทั้งหมดได้ใช้ API จาก LINE ฟรี และเข้าร่วมฝึกอบรม รับคำแนะนำจากทีมผู้เชี่ยวชาญจาก LINE ประเทศไทย จากนั้นก็นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ

ล่าสุดได้มีการประกาศผลผู้ชนะเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยได้รับเกียรติจาก ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มอบรางวัลและแสดงความยินดีแก่ทีมนักศึกษาผู้ชนะ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา ณ สำนักงาน LINE ประเทศไทย ซึ่งผู้ชนะจะได้รับรางวัลรวมกว่า 1 ล้านบาท แถมยังมีโอกาสไปดูงานถึงสำนักงานใหญ่ LINE ที่เกาหลี พบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์แบบเอ็กซ์คลูซีฟกับทีมนักพัฒนาของ LINE ระดับโลก แถมได้ใช้งานแพ็คเกจ LINE@Pro+ พร้อม API ฟรีเป็นเวลา 1 ปี

LINE Challenge Developer
LINE Challenge Developer

ทีมที่คว้ารางวัลชนะเลิสอันดับที่ 1 คือ LINE Education Square ที่พัฒนาระบบจัดการคอร์สการเรียนการสอนแบบครบวงจร รองรับผู้ใช้ทั้งอาจารย์และนักศึกษา จากเดิมที่อาจารย์แต่ละคนใช้ช่องทางการสื่อสารและสั่งงานไม่เหมือนกัน ทำให้เด็กเกิดความมึนงงหรือต้องเสียเวลาเรียนรู้การใช้แพลตฟอร์มใหม่ๆ การแก้ปัญหาก็เปลี่ยนมาใช้แพลตฟอร์มของไลน์เพียงช่องทางเดียว ด้วยการพัฒน่แอปใส่เข้าไป ช่วยอำนวยความสะดวกทั้งฝั่งครูและนักศึกษา

ในฝั่งของอาจารย์นั้นมีเครื่องมืออัพโหลดสไลด์หรือไฟล์ประกอบการสอนส่งไปในไลน์ได้เลย ทันทีที่ไฟล์อัพโหลดเสร็จก็จะแจ้งเตือนให้นักศึกษาให้รู้ทันที จะได้เข้ามาโหลดได้ก่อนเข้าเรียน, เรื่องต่อมาคือการให้การบ้าน อาจารย์สามารถอัพโหลดไฟล์ได้พร้อมกำหนดวันส่งได้ ในกรณีที่นักศึกษาส่งานเรียบร้อยแล้ว  ก็จะแจ้งให้อาจารย์รู้ พอตรวจเสร็จคะแนนก็จะขึ้นให้ทันที ไม่ต้องเสียเวลารอ นอกจากนั้นยังมีเครื่องมือในการคิดเกรดให้ด้วย โดยทำสถิติให้ว่าคะแนนสูงสุด ต่ำสุดเท่าไหร่ ค่าเฉลี่ยเท่าไหร่ พร้อมตัดเกรดให้ทันที ที่เหนือไปกว่านั้นคือการนำ Blockchain มาช่วยในการตรวจสอบเกรดย้อนหลัง ทำให้ปลอมแปลงเกรดได้ยากขึ้น โดยบนใบคะแนนจะมี QR Code ใช้มือถือส่องก็เช็คเกรดย้อนหลังได้เลย

PetinLINE
PetinLINE

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ตกเป็นของ ทีม PetinLINE ที่พัฒนาแชตบอทระบบค้นหาและรับเลี้ยงสุนัข แมวจรจัดผ่าน LINE โดยเป็นตัวกลางในการจับคู่ระหว่างผู้ที่ต้องการรับเลี้ยงสุนัขหรือแมวจรจัด กับข้อมูลของสุนัขหรือแมวจรจัดในบริเวณใกล้เคียงที่ต้องการหาที่อยู่โดยสามารถค้นหาตามเงื่อนไขที่ระบุได้ พร้อมระบบซื้อขายอุปกรณ์สัตว์เลี้ยงในตัว

 LINE Feeder
LINE Feeder

ส่วนรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม LINE Feeder มาพร้อมแชตบอทที่เชื่อมต่อกับระบบ IoT อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบ ควบคุมการให้อาหารสัตว์ที่อยู่ที่บ้านผ่าน LINE ได้ แม้ตนเองจะเดินทางอยู่หรือไม่ได้อยู่บ้านก็ตาม อีกทั้ง ผู้ใช้งานสามารถเปิดระบบเสียงที่ตั้งไว้ล่วงหน้าในการเรียกสัตว์เลี้ยงได้

LINE Challenge Developer
LINE Challenge Developer

รัฐมนตรีห่วงไทยขาดแรงงานฝีมืออย่างมาก

ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ ได้ให้ความเห็นในงานวันนี้ว่า แม้ไทยกำลังมุ่งสู่ 4.0 แต่แรงงานฝีมือด้านไอทีที่ไทยมีอยู่ถือว่าไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ภาครัฐเองต้องร่วมมือกับหน่วยงานการศึกษาสร้างคนให้ได้มากขึ้น โดยท่านมองว่า 4 เรื่องหลักที่ต้องการคนเป็นอย่างมาก ก็คือ 

  • Cyber security ซึ่งเป็นสาขาที่ขาดแคลนอย่างหนักทั่วโลก แต่เป็นอาชีพที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
  • Smart City ภายใน 5 ปีข้างหน้าสมาร์ทซิตี้จะบูมขึ้นมากในไทย เราจะเห็นเมืองอื่นๆนอกจาก กรุงเทพ เชียงใหม่ ภูเก็ต อีกหลายๆเมืองจะเริ่มเปลี่ยนตัวเองเป็นเมืองอัจฉริยะมากขึ้น ซึ่งหมายถึงความต้องการแรงงานด้านไอทีมากขึ้น
  • Digital Government ทางภาครัฐเองได้รับแรงกดดันจากภาคประชาชน ให้ปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น ทำให้คนเข้าถึงบริการของรัฐสะดวกขึ้น ทางหน่วยงานต่างๆเองก็ยังไม่ได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกัน รวมถึงข้อมูล Big Data ในแต่ละหน่วยงานก็ยังไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งทางกระทรงดิจิทัลได้เตรียมแผน Blueprint เรื่องนี้ไว้แล้ว คาดว่านะนำเสนอกับรัฐบาลก่อนช่วงเลือกตั้งนี้
  • Startup ทางภาครัฐก็พยายามที่จะสร้างระบบนิเวศน์ขนาดใหญ่ให้กับเหล่าสตาร์ทอัพ เพื่อให้เกิดการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ยกตัวอย่างเช่น การสร้างแพลตฟอร์ม AI ให้สตาร์ทอัพมาร่วมกันใช้งานได้ ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุน นอกจากนั้นยังสร้างโอกาสให้สตาร์ทอัพเจอกับนักลงทุนเพื่อจับคู่ธุรกิจในการขยายบริการให้เติบโตขึ้น

LINE Challenge Developer
LINE Challenge Developer

เด็กไทยมีความสามารถแต่ขาดพื้นที่แสดงฝีมือ

อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทย กล่าวว่า “ประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรด้านเทคโนโลยีอยู่มาก ซึ่งจริงๆ แล้ว บุคลากรไทยมีความรู้ ความสามารถด้านนี้ไม่แพ้ชาติอื่นๆ หลายบริการของ LINE ที่เป็นที่นิยม เช่น LINE MAN, LINE STICKERS ส่วนหนึ่งมาจากฝีมือนักพัฒนาไทยทั้งนั้น ซึ่งพนักงานในไลน์ประเทศไทยนั้นกว่า 91% เป็นคนไทย

แต่ปัญหาคือคนเก่งเหล่านี้ไม่มีเวทีหรือพื้นที่ให้แสดงออก LINE ในฐานะเป็นแพลตฟอร์มผู้นำด้านเทคโนโลยี จึงหวังว่าโครงการ LINE Challenge Developer ที่เราร่วมมือกับสถาบันชั้นนำอย่าง SIIT ในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการส่งเสริมเยาวชนไทย ให้เตรียมพร้อมรับมือกับการทำงานจริงในอนาคต พร้อมเป็นจุดผลักดัน กระตุ้นให้เยาวชนไทยที่สนใจในด้านไอที ได้พัฒนาฝีมือด้านเทคโนโลยีให้ก้าวหน้า นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สุดท้ายจะเป็นประโยชน์ต่อคนไทยและประเทศชาติ อย่างผู้ชนะในโครงการนี้เรียกว่ามีความพร้อมมาก ทั้งในด้านของการเตรียมตัว การนำเสนองาน เดโม่ที่สามารถใช้งานได้จริง พร้อมกับโมเดลธุรกิจในการสร้างรายได้ ทาง LINE พร้อมเป็นองค์กรที่จะช่วยผลักดันอย่างเต็มที่ในการสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ ส่วนในเฟสต่อไปนั้น LINE วางแผนที่จะต่อยอดโครงการนี้ไปยังมหาวิทยาลัยอื่นๆให้สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ”

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0