โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

KTC โบรกแนะถือเป้า 32 บาท, คาดกำไรสุทธิ Q2/63 จะหดตัวตามการใช้จ่ายผ่านบัตรที่ลด และสำรองฯที่เพิ่ม

ทันหุ้น

อัพเดต 07 ก.ค. 2563 เวลา 03.48 น. • เผยแพร่ 07 ก.ค. 2563 เวลา 03.48 น.

ทันหุ้น –สู้โควิด –บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง KTC ว่า ประเมินกำไรสุทธิ 2Q20E ที่ 1.18 พันล้านบาท (-11% YoY, -28% QoQ) ซึ่งมีสาเหตุหลักจากค่าใช้จ่ายสำรองฯสุทธิที่เพิ่มขึ้น +35% YoY, +104% QoQ หนุนโดย 1) ค่าใช้จ่ายสำรองฯเพิ่มขึ้น +8% YoY, +29% QoQ และ NPLs ปรับตัวขึ้นเป็น 4.5% (2Q19 = 1.1%, 1Q20 = 4.0%) จากการที่บริษัทจะยังคงตั้งสำรอง และจัดชั้นลูกหนี้ตามปกติ แม้ว่าจะมีระยะเวลา Grace period 3 เดือนจากนโยบายผ่อนผันของ ธปท. และ 2) คาดรายได้หนี้สูญรับคืนลดลงเป็น 691 ล้านบาท (จาก 2Q19 และ 1Q20 ที่ประมาณ 800 ล้านบาท) จากความสามารถในการติดตามหนี้ที่ลดลง ตามสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และนโยบายการสนับสนุนการช่วยเหลือลูกหนี้

นอกจากนี้เราประเมินว่ารายได้ดอกเบี้ยจะปรับตัวลดลง -6% QoQ ตามสินเชื่อที่หดตัวลง -6% QoQ จากการ lock-down ที่ผ่านมา ที่ทำให้การใช้จ่ายผ่านบัตร 2Q20E ที่ -21% YoY, -19% QoQ โดยสินเชื่อข้างต้นนี้จะหดตัวในอัตราที่ช้าลงกว่าเดิม ภายหลังที่อัตราการชำระหนี้ขั้นต่ำปรับลดลงเป็น 5% จากเดิม 10% (บริษัทมีสัดส่วนลูกหนี้ที่จ่ายชำราะขั้นต่ำ หรือ Revolving ประมาณ 70%)

คงประมาณการกำไรสุทธิปี 2020E ที่ 5.34 พันล้านบาท (-3% YoY) จาก 1) สินเชื่อที่ขยายตัว +3% YoY ซึ่งขยายตัวต่ำสุดตั้งแต่ปี 2012จากสภาพเศรษฐกิจที่หดตัว และการเดินทางระหว่างประเทศที่ชะลอตัวจาก COVID-19ทำให้การใช้จ่ายผ่านบัตรขยายตัวในอัตราที่ช้าลง, 2) NPLs เพิ่มเป็น 8.2% จากปีก่อนที่ 1.1% ตามการบังคับใช้ TFRS9ที่ทำให้บริษัทตัดจำหน่ายหนี้สูญได้ช้าลง และความสามารถในการจ่ายชำระหนี้ที่ต่ำ โดยเราประเมินว่า NPLs ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก TFRS9จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าลงในปี 2021E จากการปรับลดการจ่ายชำระหนี้ขั้นต่ำเป็น 5% (เม.ย. 2020 - ธ.ค. 2021) และ 8% (ปี 2022) จากเดิม 10% และ 3) Credit cost ที่ 579 bps จากค่าใช้จ่ายสำรองฯ ที่จะเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความเสี่ยงที่สูงขึ้น

ทั้งนี้เราประเมินว่าสินเชื่อของบริษัทในปี 2020E-2021E จะไม่เพิ่มขึ้นจากที่เราประมาณการอย่างมีนัย เนื่องจากบริษัทจะพิจารณาการปรับเพิ่มวงเงินชั่วคราวเป็นรายกรณี (จาก 1.5 เท่าเป็น 2.0 เท่าในช่วง ส.ค. 2020 - ธ.ค. 2020 สำหรับลูกหนี้ที่เงินเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท โดยบริษัทมีสัดส่วนลูกหนี้ในกลุ่มนี้ประมาณ 29% ของสินเชื่อรวม) และเราคาดว่าบริษัทจะพิจารณาถึงความสามารถในการจ่ายชำระหนี้ที่ยังอ่อนตัวในกลุ่มลูกหนี้นี้เป็นหลัก

ราคาเป้าหมาย 32.00 บาท อิง 2020E PBV ที่ 3.6x (5-yr average PBV) โดย KTC มีความเสี่ยงจากแนวโน้ม loan yield ที่ปรับตัวลงอยู่ที่ 16% ภายหลังการปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมตั้งแต่ ส.ค. 2020 สำหรับสินเชื่อบัตรเครดิตลงเป็น 16% (จาก 18%) และสินเชื่อส่วนบุคคลลงเป็น 25% (จาก 28%) และค่าใช้จ่ายสำรองฯที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผลบวกที่บริษัทจะได้รับจาก Credit cost ที่ต่ำ (จากการตัดจำหน่ายหนี้สูญที่ช้าลงตาม TFRS9) ลดลง โดยเราประเมินว่าผลการดำเนินงานในระยะยาวของบริษัทจะอยู่ที่เพียง 2019-2021E EPS CAGR +4% และ 2021E ROAE ที่ 24% จากปีก่อน 31%

อยากลงทุนสำเร็จ เป็นเพื่อนกับเรา พร้อมรับข่าวสารได้ทุกช่องทางที่
APP ทันหุ้น ANDROID คลิ๊ก
https://qrgo.page.link/US6SAAPP ทันหุ้น IOS คลิ๊ก https://qrgo.page.link/QJKT7LINE@ คลิ๊ก https://lin.ee/uFms4n5FACEBOOK คลิ๊ก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/YOUTUBE คลิ๊ก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNATELEGRAM คลิ๊ก https://t.me/thunhoon_newsTwitter คลิ๊ก https://twitter.com/thunhoon1

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0