โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

Homesick (โฮมซิก) คืออะไร ทำไมเด็กพักอยู่หอ-เรียนนอก มักเป็นกัน

MThai.com

เผยแพร่ 23 มี.ค. 2562 เวลา 05.22 น.
Homesick (โฮมซิก) คืออะไร ทำไมเด็กพักอยู่หอ-เรียนนอก มักเป็นกัน
มาทำความรู้จัก Homesick คืออะไร? ทำไมถึงเกิดกับคนที่ไปใช้ชีวิตไกลบ้าน รวมถึงอาการ สาเหตุ และวิธีแก้ไขสำหรับน้องๆ ที่กำลังสงสัยว่าตัวเองจะเป็น Homesick

มาทำความรู้จักHomesick คืออะไร? ทำไมถึงเกิดกับคนที่ไปใช้ชีวิตไกลบ้าน รวมถึงอาการ สาเหตุ และวิธีแก้ไขสำหรับน้องๆ ที่กำลังสงสัยว่าตัวเองจะเป็น Homesick หรือไม่ด้วย แต่บอกเลยว่า Homesick นั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัว และจะส่งผลต่อสุขภาพจิตย่ำแย่หากปล่อยให้เป็นแบบนี้ไปนานๆ

Homesick (โฮมซิก) คืออะไร?

Homesick (โฮมซิก) คือ อาการของโรคที่เกิดกับคนที่อยู่ไกลบ้าน โดยเฉพาะเด็กนักเรียนนอก หรือเด็กต้องใช้ชีวิตอยู่หอประจำ เป็นอาการอาลัยอาวรณ์ คิดถึงทุกอย่าง พ่อแม่พี่น้อง ญาติ สัตว์เลี้ยง สิ่งของ และอีกหลายๆ สิ่งที่บ้าน

อาการ Homesick 

โดยคนที่เป็นโรคโฮมซิก จะมีอาการเศร้าซึม หดหู่ ไม่มีความสุข เริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่า ชั้นมาทำอะไรที่นี่? พอหาคำตอบไม่ได้อาการก็แย่ลง อีกทั้งคนที่เป็นโรคนี้ บางครั้งอาจจะไม่รู้ตัว แต่วิธีสังเกตง่ายๆ คือ เป็นคนร้องไห้ง่าย มีอะไรไปกระทบกระเทือนจิตใจนิดเดียวก็รู้สึกอ่อนไหว จนบางทีก็โทรหาพ่อแม่ และแฟน บ่อยครั้ง

สาเหตุของโรค นั่นก็คือ

1. เจอสังคม วัฒนธรรม และสิ่งรอบตัวที่รู้สึกว่าไม่คุ้นเคย

  1. โฮมซิกไม่ใช่อาการที่จะเกิดขึ้นได้กับทุกคน บางคนเดินทางไปเมืองหรือไปอยู่ต่างที่กลับมีความรู้สึกชอบ ถูกใจ ซึ่งอาการจะออกมาเร็วหรือช้าต่างกัน เช่นบางคนเกิดในช่วงแรกๆ ที่ไปถึง หรือบางคนก็ไปเกิดในช่วงหลังๆ เพราะความตื่นตาตื่นใจเริ่มน้อยลง และอีกจำนวนไม่น้อยที่อาการจะมาเป็นระลอกๆ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนหรือหนาว

วิธีแก้โรค Homesick 

  1. อย่าอยู่คนเดียว พยายามอยู่กับเพื่อน และหาเพื่อนใหม่อยู่เสมอ

  2. หากิจกรรมทำเยอะๆ เพราะถ้าว่างจะยิ่งฟุ้งซ่าน ลองเปิดรับทำสิ่งใหม่ๆ เผชิญประสบการณ์ใหม่ๆ ด้วยตัวเอง ครั้งแรกอาจไม่ดี ก็ลองทำใหม่ไปเรื่อยๆ

  3. ให้เวลากับตัวเองกับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ จะได้รู้สึกคุ้นเคยไวขึ้น

  4. สร้างเป้าหมายให้ตัวเอง ลองตั้งเป้าหมายให้กับตัวเองเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ในที่ที่คุณอยู่ เช่น ตระเวนไปคาเฟ่น่ในเมืองให้ครบแล้วเขียนลงโซเชียล หรือ ถ่ายรูปเรื่องราวแลนด์มาร์กสำคัญในเมือง เป็นต้น

  5. ฝึกตัวเองให้คิดบวก เมื่อไหร่ที่รู้สึกเชิงลบ ลองหยิบดินสอกับกระดาษขึ้นมา แล้วพยายามเปลี่ยนความรู้สึกนั้นให้เป็นด้านบวกดู

  6. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยปรับระดับฮอร์โมนและช่วยลดความเครียดที่เกิดขึ้นได้

  7. โทรคุยกับพ่อแม่ให้บ่อยขึ้น เพราะจะช่วยบรรเทาอาการได้อยากดีแต่ถ้าไม่ไหวก็กลับบ้าน ไปกอดคนที่รัก ก่อนจะกลับไปสู้ต่อ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0