โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

Google จับมือรพ.ราชวิถี ต่อยอดใช้ AI ช่วยคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานขึ้นตา

Dailygizmo

เผยแพร่ 14 ธ.ค. 2561 เวลา 03.32 น. • DailyGizmo admin

Google ประกาศเดินหน้านำ AI มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ประเดิมด้วยการจับมือโรงพยาบาลราชวิถี ต่อยอดการใช้ AI มาช่วยคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานขึ้นประสาทตาแทนบุคลากรทางการแพทย์ที่ขาดแคลน ช่วยให้รู้ตัวแต่เนิ่นๆจะได้ป้องกันได้ทัน

"เบาหวาน" คือหนึ่งในโรคที่คนไทยเป็นจำนวนมาก จาการสำรวจพบว่ามีคนไทยป่วยเป็นเบาหวานถึง 5 ล้านคน ซึ่งคนที่ป่วยเป็นโรคนี้มีความเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (Diabetic Retinopathy) ถ้าปล่อยให้อาการลุกลามก็หนักถึงขั้นตาบอดได้ ซึ่งอาการนี้สามารถป้องกันได้หากหมอตรวจพบอาการตั้งแต่เนิ่นๆ โดยหมอจะแนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานหมั่นตรวจดวงตาทุกปี อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ แพทย์เฉพาะทางหรือหมอที่ผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตา ที่สามารถวิเคราะห์อาการนี้ในไทยได้นั้น ทั่วประเทศมีจำนวนแค่ 1,400 คนเท่านั้น แถมส่วนใหญ่นั้นจะประจำอยู่โรงพยาบาลในกรุงเทพ เรียกว่าไม่เพียงพอต่อการวินิจฉัยผู้ป่วยทั้งหมดกว่า 5 ล้านคนทั่วประเทศ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของหมอนั้นก็ได้มีการฝึกอบรมพยาบาลและเจ้าหน้าที่การแพทย์ให้มาช่วยคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้นในเขตสุขภาพ 13 เขตทั่วประเทศก่อนส่งถึงมือหมอ แต่ความแม่นยำของพยาบาลนั้นจะอยู่ที่ 74% นั่นจึงเป็นที่มาของการนำ AI มาช่วยคัดกรองคนไข้ให้แม่นยำขึ้น ทางโรงพยาบาลราชวิถี นำโดย นพ. ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งทำงานวิจัยเกี่ยวกับรื่องของดัชนีผู้ป่วยเบาหวานเป็นหนึ่งในมาตรวัดสุขภาพของคนไทย ซึ่งโครงการคัดแยกผู้ป่วยเบาหวานขึ้นตาก็เป็นหนึ่งในโครงการที่ภาครัฐให้ความสำคัญ จึงทำให้มีข้อมูลย้อนหลังจำนวนมาก

จากนั้นก็สร้างแบบจำลองและอัลกอริทึ่มในการคัดกรองขึ้นมา การฝึกสอน AI นั้นจะใช้เทคนิคของ Machine Learning โดยจะป้อนข้อมูลรูปภาพจอประสาทตาให้ AI เรียนรู้ว่าแบบไหนเป็นอาการของเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ถ้าเป็นแล้วอยู่ในระดับใน 5 ระดับ ด้วยการใช้ฐานข้อมูลผู้ป่วยจำนวน 7,500 คน รูปภาพกว่า 13,000 ภาพ ผลที่ได้คือ AI สามารถคัดแยกผู้ป่วยได้แม่นยำถึง 97% แถมความเร็วในการคัดแยกนั้นทำได้เร็วกว่าคนอีกด้วย โดยพยาบาลแค่ทำการถ่ายรูปจอประสาทตา จากนั้นก็ส่งขึ้นระบบ Cloud ของ Google จากนั้นก็รอรับผลได้ทันที

ขยายผลการทดลอง นำร่อง 2 จังหวัด

เนื่องจาก AI ที่นำมาใช้นั้นเป็นการฝึกสอนโดยใช้ข้อมูลเก่า จึงมีความเป็นได้สูงว่าเมื่อนำมาใช้กับผู้ป่วยจริงแล้วอาจจะเกิดความแตกต่าง ดังนั้นทางโรงพยายบาลจึงได้ทำการขยายผล นำร่องใช้งานในโรงพยาบาล 2 จังหวัดก่อน เริ่มจากโรงพยาบาลคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีที่ใช้งานได้แล้ว และเชียงใหม่จะเปิดให้บริการเป็นที่ต่อไป ผลการคัดกรองจากสองโรงพยาบาลนี้จะถูกนำมาขยายผล หากใช้งานได้ดี ไม่เกิดปัญหาอะไรก็จะต่อยอดไปใช้กับโรงพยาบาลอื่นๆทั่วประเทศ

AI for Social Good

นอกจากการนำ AI มาใช้ด้านสุขภาพแล้ว ทาง Google ยังส่งเสริมการนำไปใช้ด้านอื่นๆอีก เช่น

  • สนับสนุน QUANDA แอปเพื่อการศึกษาในเกาหลีที่ช่วยให้นักเรียนหาคำตอบของโจทย์ที่ต้องการได้
  • การนำ AI มาช่วยพยากรณ์การเกิดน้ำท่วมในอินเดีย
  • พยากร์บริเวณที่เกิด Aftershock หลังแผ่นดินไหว
  • การนำมาใช้เรื่องการอนุรักษ์ พยูน ด้วยการใช้โดรนถ่ายภาพเก็บข้อมูล แล้วใช้ AI วิเคราะห์หาตำแหน่ง,พฤติกรรมทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของ AI for Social Good ที่ทาง Google ต้องการผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรต่างๆเพื่อนำ AI ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางสังคม โดยล่าสุดทาง Google ได้เซ็น MOU กับ คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and Social Commission for Asia Pacific หรือ UN-ESCAP) จับมือเป็นพันธมิตรเพื่อแบ่งปันแนวทางปฏิบัติ, ส่งเสริมการใช้ AI รวมถึงสร้างเครือข่ายการวิจัยด้าน AI เพื่อประโยชน์ต่อสังคมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อสร้างแนวทางที่ดีที่สุดในการจัดการกับความเสี่ยงและความกังวลต่างๆ นอกจากนั้นก็ยังมีโครงการ AI Impact Challenge ของ Google ที่เปิดรับไอเดียและข้อเสนอแนะในการใช้ AI ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมจากองค์กรและสถาบันต่างๆ และเพื่อผลักดันให้องค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกร่วมสมัครเพื่อชิงทุนมูลค่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเปิดรับสมัครจนถึงวันที่ 22 มกราคม 2562
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0