โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

Gadget ที่ยังอยู่และที่จากไป มาดูกันว่าอะไรจะยังคงอยู่ในยุคของ Coding

The MATTER

อัพเดต 20 ม.ค. 2563 เวลา 14.30 น. • เผยแพร่ 20 ม.ค. 2563 เวลา 14.14 น. • Branded Content

ก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เทคโนโลยีก้าวไปข้างหน้าตามเวลาที่เดินแบบไม่เคยหยุดยั้ง และยกขบวนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราอย่างขาดเสียไม่ได้ เวลาผ่านไป ของใหม่ยิ่งออกมายิ่งล้ำหน้าแบบตามแทบไม่ทัน จนเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ตกรุ่นได้ง่ายภายในระยะเวลาอันสั้น

บ้างหล่นหายไปตามกาลเวลา มีวนกลับมาบ้าง อย่างบางช่วงที่เกิดจะฮิต Gadget อะนาล็อก กล้อง  ฟิล์ม เทปคาสเซ็ต แผ่นเสียง เรียกได้ว่าเป็นปาฏิหาริย์ของเทคโนโลยีที่ตายไปแล้ว ใครจะคิดว่าในวันที่เราถ่ายรูปได้สะดวกสบายจากปลายนิ้วที่แตะบนจอโทรศัพท์ เราโหยหารูปที่ถ่ายแล้วยังไม่ได้ดูในตอนนั้นกันอยู่ แต่บางอย่างก็ตายจากไปแบบไปแล้วไปลับ ไม่มีทีท่าจะกลับมา อาจเพราะมีนวัตกรรมใหม่ๆ มาทดแทน หรือให้ความสะดวกสบายชนิดที่ไม่คิดโหยหาความคลาสสิกในวันวานอีกต่อไป

ส่องสำรวจความเป็นไปของเทคโนโลยี ผ่าน Gadget ในชีวิตประจำวัน อะไรที่ยังอยู่ อะไรที่จากไปแล้ว ในยุคที่ทุกย่างก้าวของเรา ล้วนถูกซัพพอร์ตด้วยเทคโนโลยี มีของใหม่ๆ ทักษะใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ

บุปผาชน สังคมอเมริกันที่เปลี่ยนแปลง และคอมพิวเตอร์ส่วนตัวรุ่นแรกจากแอปเปิ้ล

คอมพิวเตอร์ ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในยุคนี้ แต่คอมพิวเตอร์ส่วนตัวและการจำหน่ายคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้รายย่อย (ชาวบ้านอย่างเราๆ) เกิดขึ้นในยุคที่บุปผาของชาวฮิปปี้ผลิบานอย่างไม่สิ้นสุด Apple Computer Inc. ได้เปิดตัวและวางจำหน่าย Apple I คอมพิวเตอร์ส่วนตัวรุ่นแรกๆ ของโลก ในจำนวนจำกัด กระแสตอบรับและยอดจำหน่ายเป็นที่น่าพึงพอใจ แค่ไหนน่ะหรอ? มากขนาดที่ว่า Apple II ออกมาสู่ตลาดในปีต่อมาทันที คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะจึงเริ่มเข้ามาเป็นหนึ่งในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประจำบ้าน (แม้จะไม่ทุกบ้านอย่าง literally ก็ตาม) ถือเป็นก้าวสำคัญของเทคโนโลยีที่เริ่มเข้าถึงผู้คนมากขึ้น

ยุคนี้ไม่ได้ให้กำเนิดแค่ของชิ้นใหญ่ แต่รวมไปถึงของชิ้นเล็กอย่าง Floppy disk ความจุน้อยแต่มากด้วยความทรงจำ ในยุคแรก เจ้าแผ่นนี้มีขนาดใหญ่ถึง 8 นิ้ว หลังจากนั้นจึงค่อยๆ พัฒนาให้มีขนาดเล็กลง เพื่อความสะดวกในการใช้งาน พร้อมกับความจุที่มากขึ้นด้วยฟังก์ชั่น double density ทำให้ใครหลายคนตกหลุมพรางด้วยการ copy เอา shortcut ของโปรแกรมใดๆ ใส่เจ้าแผ่นนี้ ด้วยหวังใจว่าจะได้โปรแกรมตัวเต็มกลับไปใช้นั่นเอง

ยังมีอีเมลที่เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมสำคัญ ระดับเปลี่ยนโลกที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ ทว่ากลับยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร การติดต่อสื่อสารกัน ยังมีทางเลือกอีกมากที่ไม่ต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์ อย่างการส่งจดหมาย อีเมลในยุคนี้จึงยังเหี่ยวๆ แห้งๆ ทั้งที่เป็นนวัตกรรมสำคัญของโลกใบนี้

USB อะนาล็อก และ Pop Culture

ยุคที่ก่อกำเนิดการนิยามวัฒนธรรมอันเป็นปัจเจกที่แสนจะ Main Stream อย่าง Pop Culture ความมีสีสันของยุคนี้ ทำให้เป็นช่วงเวลาที่ใครหลายคนต่างโหยหาถึงความทรงจำที่ยังครุกรุ่นอยู่ข้างใน ทั้งการเอาดินสอหมุนเทปคาสเซ็ตเพื่อกรอแผ่นฟิล์มให้กลับเข้าที่ การฟังเพลงได้ทุกที่ทุกเวลาจาก Walkman เครื่องเล่นเพลงแบบพกพา ความพึงพอใจเล็กๆ จากการดึงแผ่นโลหะบน Floppy disk ที่มีขนาดเล็กลงจากยุค 70’s และคอมพิวเตอร์พกพาที่หน้าตาทันสมัยขึ้นอีกหน่อย

จอมอนิเตอร์หลังเต่า แยกตัวออกมาจากเคส คีย์บอร์ด และเมาส์ลูกกลิ้งที่ต้องคอยแกะออกมาทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เป็นเอกลักษณ์ที่ผู้ใหญ่ในยุคนี้เคยสัมผัสกันมาในสมัยละอ่อน ต่ออินเทอร์เน็ต Dial-up 56k และมี World wide web ใช้งานกันอย่างจริงจัง โดยเริ่มต้นจากการใช้งานภายในองค์กร CERN ก่อนจะแพร่หลายออกไป แน่นอนว่า  Internet Explorer ในตำนาน ถือกำเนิดขึ้นเพื่อให้พวกเราได้ท่องเว็บกับอย่างง่ายดาย

อีเมลเองก็เริ่มบูมในช่วงนี้เช่นกัน instant massege กลายเป็นทางเลือกของการติดต่อสื่อสาร ทั้งโปรแกรม ICQ หรือจะเพจเจอร์ พอส่วนตัวแบบชิกๆ

การเชื่อมต่ออุปกรณ์แต่ละชิ้น ก็สามารถเชื่อมอย่างง่ายดายด้วย port USB แผ่น Floppy disk ก็ดูจะยังไม่เพียงพอ จึงก่อกำเนิดแผ่น compact disc (CD) ที่มีมาตั้งแต่ 80’s แล้วล่ะ แต่กว่าจะกลายเป็นของที่มีราคาเอื้อมถึงก็ช่วงต้น 90’s เข้าให้แล้ว

ใดๆ ล้วน instant เรียบง่าย และไร้สายไปเสียหมด

ก้าวเข้าสู่ศตวรรษใหม่ สู่ยุคที่อะไรๆ ที่ดูน้อย เรียบง่าย กลายเป็นที่นิยมมากกว่าความฉูดฉาด มีสีสัน อย่างในยุคก่อน ไม่ใช่แค่ art direction ของวัฒนธรรมหลัก แต่รวมไปถึง gadget ใดๆ ต่างก็ถูกดีไซน์ออกมาให้หน้าตาเรียบง่ายเสียทั้งนั้น สายระเกะระกะจึงกลายเป็นอวัยวะที่ไม่จำเป็น จึงถูกวิวัฒนาการดีดทิ้งไป

ฟังก์ชั่นของมันก็เช่นกัน เน้นการใช้งานที่ง่าย ใครๆ ก็ใช้ได้ เพราะราคาที่ถูกลง จนสามารถเข้าถึงคนได้ทุกเกือบทุกระดับ ความรวดเร็วทันใจ ผลักดันให้อะไรๆ ก็ล้วน instant เช่นเดียวกับบะหมี่ที่ instant มาก่อนกาล

ในแต่ละยุคที่เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษยชาติ ต่างก็มีเอกลักษณ์ตามสภาพสังคม วัฒนธรรม และเงื่อนไขใดๆ ต่างกันไป ไม่ว่าอะไรจะผลัดเปลี่ยนไปตามเวลาแค่ไหน แต่สิ่งที่อยู่กับเทคโนโลยีเหล่านี้มาตลอดคือ “Coding” คำที่เพิ่งจะคุ้นเคย แต่เขาน่ะ อยู่กับเรามาเนิ่นนาน

ตราบใดที่โลกนี้ยังต้องการชุดคำสั่ง การสื่อสารกับอุปกรณ์ใดๆ Coding ก็อยู่กับเรามานานเท่านั้นนั่นแหละ มันจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัว หรือเป็นความรู้ของเนิร์ดไอทีเท่านั้น ใครๆ ก็สามารถทำเรียนรู้และทำความเข้าใจกับมันได้ เพราะมันเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่การกดรีโมตทีวีแล้วล่ะ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0