โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

FinalStraw หลอดดูดน้ำรักษ์โลก ทำด้วยสแตนเลส พกพาได้ในรูปแบบพวงกุญแจ

Thaiware

อัพเดต 17 พ.ค. 2561 เวลา 02.06 น. • เผยแพร่ 17 พ.ค. 2561 เวลา 00.40 น. • นอร่า
FinalStraw หลอดดูดน้ำรักษ์โลก ทำด้วยสแตนเลส พกพาได้ในรูปแบบพวงกุญแจ
FinalStraw หลอดดูดน้ำที่นำมากลับมาใช้ซ้ำได้ และพับใส่ในกล่องเล็กๆ ขนาดพอเหมาะเพื่อห้อยกับพวงกุญแจได้

แม้ว่าหลอดดูดน้ำพลาสติกจะเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นเล็กๆ แต่ก็สามารถสร้างขยะได้ในปริมาณที่มากมายมหาศาล โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว มีรายงานว่ามีหลอดน้ำถูกใช้มากถึง 500 ล้านหลอดต่อวันเลยทีเดียว

ด้วยเหตุนี้ FinalStraw หลอดน้ำรักษ์โลกจึงเกิดขึ้น จากแนวคิดของ Emma Cohen และ Miles Pepper 2 ผู้ประกอบการที่อยู่ในลอสแอนเจลิส โดยเป็นหลอดน้ำที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ และสามารถพับหลอดใส่ในกล่องเล็กๆ ขนาดพอเหมาะเพื่อห้อยกับพวงกุญแจได้ ซึ่งนอกจากจะมีขนาดเล็ก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว วัสดุที่ใช้ทำหลอดก็ยังเป็นสแตนเลสหุ้มยางซิลิโคนด้วย จึงทำความสะอาดได้ง่าย

Emma Cohen เผยกับเว็บไซต์ Digital Trends ว่า เมื่อปี 2013 ที่เธออยู่ในประเทศไทยนั้น เธอสังเกตเห็นว่าชายหาดมีหลอดเต็มไปหมด แม้ว่าจะมาเก็บทิ้งทุกเช้า แต่ก็จะเห็นว่ามีหลอดมากมายถูกทิ้งใหม่อีก จากคนที่ซื้อน้ำมาดื่ม และทิ้งหลอดโดยไม่สนใจความงดงามของชายหาด จึงเป็นที่มาของการนำเรื่องหลอดพลาสติกไปพูดใน TEDx talk  เมื่อปี 2015  จากนั้นในเดือน ต.ค. ปี 2017 เธอได้รู้จักกับ Miles Pepper ผู้ซึ่งมีไอเดียบรรเจิดในการผลิตหลอดที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ และพกพาสะดวก  เธอจึงตัดสินใจออกจากงานประจำ เพื่อมาร่วมทำโปรเจคหลอดน้ำรักษ์โลกกับ Pepper อย่างเต็มตัว

FinalStraw หลอดดูดน้ำรักษ์โลก ทำด้วยสแตนเลส พกพาได้ในรูปแบบพวงกุญแจ
FinalStraw หลอดดูดน้ำรักษ์โลก ทำด้วยสแตนเลส พกพาได้ในรูปแบบพวงกุญแจ

ทั้งนี้ โปรเจคดังกล่าวอยู่ระหว่างระดมเงินทุนในเว็บไซต์ Kickstarter ซึ่ง Pepper เผยว่าคนส่วนใหญ่ใช้กระบอกน้ำหรือขวดน้ำแบบที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่จนถึงตอนนี้หลอดที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ก็ยังมีขนาดใหญ่เกินไปและพกพาลำบาก FinalStraw จึงช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ซึ่งตอนนี้ มีผู้ร่วมสนับสนุนโปรเจคของพวกเธอกว่า 33,000 คนแล้ว รวมเป็นเงินมากกว่า 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 49.6 ล้านบาท จากที่ตั้งเป้าแค่ 12,500 เหรียญสหรัฐ (387,500 บาท) เท่านั้น โดยราคาเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์นี้อยู่ที่ 20 เหรียญสหรัฐ (620 บาท) และพร้อมจัดส่งได้ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2018 เป็นต้นไป
 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0