โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

Exclusive Content : แผนกระตุ้นท่องเที่ยว ตั้งรับเมื่อไวรัสโควิด-19 จบจริง

TNN ช่อง16

อัพเดต 23 ก.พ. 2563 เวลา 09.20 น. • เผยแพร่ 23 ก.พ. 2563 เวลา 09.20 น. • TNN Thailand
Exclusive Content : แผนกระตุ้นท่องเที่ยว ตั้งรับเมื่อไวรัสโควิด-19 จบจริง
สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะการท่องเที่ยวจึงจำเป็นจะต้องเตรียมพร้อมแผนรับมือเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวเพื่อดึงเม็ดเงินกลับมาหลังสถานกาณณ์คลี่คลายลง

         สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งก็ทำให้หลายฝ่ายประเมินได้ยาก ว่าจะคลี่คลายลงเมื่อใด เพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อยัคงเพิ่มขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง โดยการท่องเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยวจีนถือเป็นฟันเฟืองในการกระตุ้นรายได้จากการท่องเที่ยวให้กับหลายประเทศ หนึ่งในนั้นคือ ประเทศไทย 

       

         ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประเมินผลกระทบจากการที่นักท่องที่ยวจีนหายไป เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่า มีความเป็นไปได้ที่แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 2563 "จะเติบโตต่ำกว่า 2%"  เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวของไทยได้รับผลกระทบรุนแรงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 

      โดยคุณดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาประเมินนักท่องเที่ยวต่างชาติไว้ว่าอาจลดลง 5 ล้านคน ซึ่งจะส่งผลให้รายได้ของประเทศไทยหายไปประมาณ 2.5 แสนล้านบาท  ขณะเดียวกัน หากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รุนแรงกว่าที่คาดการณ์กัน  ก็อาจกระทบ GDP ทั้งปี 2563 ให้ขยายตัวได้ไม่ถึง 2% หรืออาจขยายตัวเพียง 1.5%  จากเดิมที่ ธปท.คาดการณ์ว่า GDP ปี 2563 จะขยายตัว 2.8% ส่วนช่วงไตรมาส 1/2563 อาจขยายตัวไม่ถึง 1%

         "นอกจากปัจจัยลบอย่างไวรัสโควิด-19 ที่กระทบเศรษฐกิจไทยรุนแรงแล้ว ยังมีปัญหาภัยแล้ง และงบประมาณปี 63 ที่ยังล่าช้า  ทำให้เศรษฐกิจในปีนี้  ค่อนข้างสาหัส ซึ่งต้องติดตามผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ว่า จะรุนแรงแค่ไหน  อาจไม่รุนแรงเท่ากับตัวเลขของกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา แต่มีความเป็นไปได้ที่ GDP ปี 2563 จะต่ำกว่า 2%" 

         การก้าวข้ามวิกฤตครั้งนี้จำเป็นจะต้องอาศัยนโยบายหลายด้าน ทั้งนโยบายการเงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ให้กับผู้ประกอบการ มาตรการด้านการคลัง ทั้งการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เลื่อนการจ่ายภาษีและประกันสังคม รวมถึงกระตุ้นการออกเดินทางสัมมนาของภาครัฐ ตลอดจนมาตรการสถาบันการเงินให้ธนาคารพาณิชย์ช่วยพักชำระหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ย นอกจากนั้นยังจำเป็นที่จะต้องอาศัยมาตรการด้านสาธารณสุข สร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศ 

        ด้านอาจารย์สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์  นักวิชาการอิสระ มองว่า ผลกระทบของไวรัสโควิด ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกมากกว่าในปีที่มีการแพร่ระบาดของซาร์ส เนื่องจากปัจจุบันเศรษฐกิจจีนมีสัดส่วนใน GDP โลก เพิ่มจาก 4.2% มาเป็น 14.3% อย่างไรก็ตาม  เชื่อว่ารัฐบาลจีนจะพยุง GDP ในปีนี้ให้ขยายตัวได้กว่า 5%   แต่ก็ยังไม่มีใครตอบได้ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกต่อไปจะเป็นอย่างไร แม้ว่าหลายฝ่ายจะคาดว่า  น่าจะยุติไวรัสได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ และกลับเข้าสู่ภาวะปกติในที่สุด

        ในส่วนภาคการท่องเที่ยว อาจารย์ประเมินว่า เหตุการณ์น่าจะคลี่คลายภายในเดือนมิถุนายนนี้ สิ่งสำคัญคือต้องปรับมุมมองของนักท่องเที่ยวให้เห็นว่าสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตามปกติ และคาดว่านักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศเกิดใหม่ เช่น อินเดีย รัสเซีย และกลุ่มประเทศที่ไม่ได้รับผลกระทบจากไวรัส อย่างตะวันออกกลาง อเมริกา และยุโรป จะเป็นตลาดศักยภาพที่ช่วยหนุนภาคท่องเที่ยวของไทยได้ 

        ที่สำคัญ "พระเอก"ในเวลานี้ คือ "การพึ่งพางบประมาณภาครัฐ" ที่เตรียมจะปล่อยออกมา กว่า 3.2 ล้านล้านบาท แม้จะยังล่าช้าอยู่   เพราะทั้งภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกพึ่งพาจีนเป็นส่วนใหญ่   โดยคาดว่าภาคการส่งออกของไทยน่าจะติดลบ 2-4% และภาคการท่องเที่ยวของไทยก็อาจจะติดลบราว 9% ทำให้คาดว่าปีนี้ "เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวราว 2-2.2%"

        ขณะที่ คุณยุทธศักดิ์  สุภสร ผู้ว่าการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า  ในช่วงระยะสั้น ที่ถือว่าเป็นช่วงทำใจ รอว่าเมื่อไรนักท่องเที่ยวจีนจะกลับมา  เทียบกับสถานการณ์โรคชาร์ส จะกระทบ 3- 5 เดือน และน่าจะติดลบมากสุดในเดือนเมษายน หลังจากนั้น จะเริ่มลบน้อยลงในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน และคาดว่าจะกลับมาเป็นบวกได้ในเดือนกรกฏาคม 

        ส่วนมาตรการที่จะนำเสนอต่อรองนายกสมคิดได้แก่ 1.มาตรการฝ่าวิกฤติ โคโรนา ที่ต้องมีการเยียวยาผู้ประกอบการ การหาแหล่งเงินทุน การเข้าถึงแหล่งทุน  2.มาตรการความเชื่อมั่นที่ต้องกระตุ้นตลดในประเทศ ให้ฟื้นก่อนจากนั้นถึงจะกระตุ้นตลาดต่างประเทศ 3.ซ่อมสร้างอุปทาน ยกระดับการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน ในช่วงที่ไม่มีคนเข้ามาก็กลับไปปรับปรุง และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ต่าง ๆ ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ อย่างนี้ เป็นต้น 

       "เพื่อนแท้หรือไม่แท้จะรู้ได้ก็ตอนลำบาก" เป็นคำกล่าวที่ใช้ได้มาทุกยุคทุกสมัย  ดังนั้น การที่รัฐบาลตัดสินใจไม่ปิดรับนักท่องเที่ยวจากจีน ก็เพราะมองว่า การปิดประตูไม่รับเพื่อนหรือพี่น้องเข้าบ้านก็ดูจะใจร้ายจนเกินไป  เพราะในอนาคตทั้งไทยและจีนยังคงต้องพึ่งพากันต่อไป  วิกฤติครั้งนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นวิกฤตทั้งสองประเทศที่ต้องสู้ไปด้วยกัน 

 ข่าวที่เกี่ยวข้อง

-Exclusive Content :คืนชีพย่านเจริญกรุง ด้วยแฟชั่นและอาหาร

-Exclusive Content : ไวรัสโคโรนา-ฝุ่นPM2.5-ราคาหน้ากากอนามัยN95พุ่ง

-Exclusive Content : "ไวรัสโคโรนา"พ่นพิษ ส่อท่องเที่ยวไทยวูบ 3 เดือน

เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0