โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

EICแนะธุรกิจปรับตัว หลังรัฐฯยกเลิกพลาสติกใช้แล้วทิ้งปี2015

Money2Know

เผยแพร่ 18 เม.ย. 2562 เวลา 08.59 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
EICแนะธุรกิจปรับตัว หลังรัฐฯยกเลิกพลาสติกใช้แล้วทิ้งปี2015

EIC ไทยติดอันดับ 6 ปัญหาขยะพลาสติกสูงสุดของโลก แนะผู้ประกอบปรับตัวใช้บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ หรือบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้พร้อมต้นทุนที่สูงขึ้น หลังหลายประเทศทั่วโลกดำเนินมาตรการลดใช้พลาสติก 

ไทยทิ้งขยะพลาสติกลงสู่ทะเลมากที่สุด อันดับ 6 ของโลก

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาขยะพลาสติกที่มีปริมาณสูงขึ้นต่อเนื่องโดยไทยติดอันดับ 6 ของโลก ที่มีการทิ้งขยะพลาสติกลงสู่ทะเลมากที่สุด คิดเป็นปริมาณราว1.3 ล้านตันต่อปี ทำให้ในปี 2018 ภาครัฐ จึงได้ออกมาตรการลดและยกเลิกการใช้พลาสติกซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายเพื่อลดปริมาณขยะภายในประเทศ

ขยะพลาสติกถูกทิ้งลงสู่แหล่งน้ำทั่วโลกประมาณปีละ 8 ล้านตัน โดยไทยติดอันดับ 6 ของประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกลงสู่ทะเลมากที่สุดในโลก Ocean Conservancy ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ศึกษาเรื่องการรักษาทรัพยากรทางทะเลคาดการณ์ว่า ขณะนี้ มีขยะพลาสติกไหลเวียนอยู่ในมหาสมุทร ทะเล และแหล่งน้ำทั่วโลกถึงกว่า 150 ล้านตัน สะสมต่อเนื่องจากปี 1950

ซึ่งปริมาณขยะดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกจากการจัดการขยะมูลฝอยที่ไม่ได้ประสิทธิภาพและอัตราการนำพลาสติกไปรีไซเคิลที่ต่ำโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา เป็นผลให้ขยะพลาสติกจำนวนมากไหลลงแหล่งน้ำ ออกสู่ทะเลและมหาสมุทรในที่สุด

สำหรับประเทศไทย กรมควบคุมมลพิษประมาณการว่า ขยะพลาสติกในไทยมีประมาณปีละมากกว่า 2 ล้านตัน คิดเป็น 12% ของปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด ถึงแม้ว่าบางส่วนจะถูกกำจัดหรือนำกลับไปใช้ประโยชน์ แต่ก็มีอีกราว 1 ล้านตันที่ถูกทิ้งลงสู่ทะเล ซึ่งขยะพลาสติกของไทยที่พบได้มากที่สุดในทะเล ได้แก่ ถุง(13%) หลอด(10%)  ฝาพลาสติก(8%) และภาชนะบรระจุอาหาร(8%)

รัฐฯ ตั้งเป้าเลิกใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวใน 6 ปี

เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว รัฐบาลไทยจึงกำหนดเป้าหมายยกเลิกการใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งจำนวน 7 ชนิดภายในปี 2025 ซึ่งภาคเอกชนไทยได้เริ่มยกเลิกการใช้พลาสติกไปแล้วเช่นกัน

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2018 คณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกได้พิจารณาแผนปฏิบัติการลดและเลิกการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง (single-use plastic) จำนวน 7 ชนิด

*โดยวางเป้าหมายเป็นช่วงเวลา ระหว่างปี 2019-2025 ดังนี้คือ ยกเลิกปี 2019 ประกอบด้วย *

1) Cap seal  ฝาน้ำดื่ม โดยปกติจะผลิตจากพลาสติก PVC ฟิล์ม
2) ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารประเภท OXO ส่วนใหญ่มักจะผสมในพลาสติกประเภท HDPE และ LDPE
3)  Microbead จากพลาสติก ส่วนผลิตภัณฑ์ที่จะยกเลิกปี 2022 ประกอบด้วย 4) ถุงพลาสติกหูหิ้ว ขนาดความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตจากพลาสติก LLDPE
5)  กล่องโฟมบรรจุอาหาร ในส่วนของพลาสติกที่จะยกเลิกในปี 2025 ได้แก่
6) แก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
และ 7) หลอดพลาสติก ซึ่งทั้งกล่องโฟม แก้ว และหลอดพลาสติกบางส่วน  ส่วนใหญ่จะผลิตจากพลาสติกประเภท polystyrene

ในขณะที่ ภาคเอกชนไทยบางส่วนได้เริ่มยกเลิกการใช้พลาสติกแล้ว ตัวอย่างเช่น เครือ Anatara ที่เริ่มยกเลิกการใช้หลอดพลาสติกตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2018 เป็นต้นไป ตามนโยบายลดขยะพลาสติกของโรงแรม นอกจากนี้ร้านกาแฟ Starbucks ที่มีสาขาทั่วโลก ได้ประกาศเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2018 ที่จะเลิกใช้หลอดพลาสติกของทุกร้านภายในปี 2020

ต้นทุนของผู้ประกอบการในธุรกิจขึ้นรูปผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์พลาสติกมีแนวโน้มสูงขึ้น

เนื่องจากต้องหาวัตถุดิบชนิดใหม่มาใช้ทดแทนพลาสติกของเดิมที่ถูกยกเลิกไป โดยจำเป็นต้องใช้งานได้เทียบเคียงวัสดุเดิมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ต้นทุนการผลิตหลอดพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้เองจะสูงกว่าต้นทุนหลอดพลาสติกแบบดั้งเดิมอยู่ราว 1 เท่า นอกจากต้นทุนวัตถุดิบแล้ว ผู้ผลิตอาจต้องลงทุนในด้าน R&D เพื่อพัฒนาวัสดุที่เหมาะกับการใช้งานของผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการจะผลิตเอง อีกทั้งอาจต้องลงทุนในด้านการสื่อสารทางการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์ถึงคุณสมบัติโดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์อีกด้วย

อีไอซี แนะผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกไทย ควรรับมือด้วยการผลิตบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ ที่สามารถย่อยสลายได้

อีไอซีมองว่า ผู้ประกอบการควรรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ ด้วยการผลิตพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น bioplastic และเจาะตลาดบรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุอื่นทดแทนพลาสติก ปัจจุบันมีพลาสติกเพียงประเภทเดียวที่สามารถนำกลับมา re-material ใหม่ได้

คือ PET ส่วนพลาสติกประเภทอื่นยังไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ดีเท่า PET ทำให้ผู้ผลิตปิโตรเคมีย่อมได้รับผลกระทบจากเทรนด์และมาตรการยกเลิกการใช้พลาสติก ซึ่งนับเป็นความท้าทายที่จะต้องหาวัตถุดิบเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เช่น bioplastic ที่ทำมาจากอ้อย และมันสำปะหลัง

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการขึ้นรูปพลาสติกเพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์ ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับต้นทุนที่อาจเพิ่มสูงขึ้น 1 เท่าเป็นอย่างน้อยจากการเปลี่ยนไปผลิตบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ ต้นทุนที่สูงขึ้นอาจส่งผ่านไปยังผู้ซื้อได้บ้าง เช่น ผู้ซื้อในกลุ่มร้านอาหารที่ใช้หลอด กล่องใส่อาหารพลาสติก หรือร้านค้าปลีกที่ใช้ถุงพลาสติก ซึ่งจะต้องรับมือกับราคาของบรรจุภัณฑ์จากวัสดุใหม่ที่สูงขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวจะเป็นโอกาสให้ผู้ผลิตแบบ non-plastic เช่น กระดาษ ข้าว สามารถ

หาช่องทางในการเจาะเข้าสู่ตลาดบรรจุภัณฑ์อาหารได้ เช่น ถุงกระดาษใส่น้ำตาล หลอดที่ทำจากข้าวหรือกระดาษ เป็นต้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0