โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

EIAไฮสปีดผ่านฉลุย!!!

ฐานเศรษฐกิจ

เผยแพร่ 24 มิ.ย. 2562 เวลา 08.14 น.

 

ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซีคืบ ประยุทธ์ นั่งหัวโต๊ะประชุมกพอ.รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน   ผ่านความเห็นชอบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วคาดว่า รฟท. จะสรุปแผนส่งมอบพื้นที่กับเอกชน และลงนามได้ภายใน ก.ค. 2562

     การประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 6/2562 วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2562 โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล ได้พิจารณา และรับทราบความคืบหน้าขั้นตอนการดำเนินงานโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้ 1. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน   โดยกพอ.รับทราบ ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ที่ได้ผ่านความเห็นชอบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน แล้ววันนี้ (24 มิ.ย. 2562) คาดว่า รฟท. จะสรุปแผนส่งมอบพื้นที่กับเอกชน และลงนามได้ภายใน ก.ค. 2562 ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะถือว่าเป็นโครงการฯ ร่วมทุนรัฐและเอกชนในพื้นที่ อีอีซี เป็นโครงการแรก

2. โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ช่วงที่ 1  ซึ่ง กพอ.รับทราบ ผลการประชุม คณะรัฐมนตรีเรื่องโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดฯ และอนุมัติผลการคัดเลือก ผลการเจรจา และให้กรรมการพิจารณาร่างสัญญาที่ผ่านมาการพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว และให้ความเห็นกลับมาภายในวันที่ 1 ก.ค. 2562  ก่อนนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จะได้ลงนามในสัญญาร่วมลงทุนในโครงการฯ กับเอกชนที่ได้รับคัดเลือก ภายในเดือนก.ค. 2562 เช่นกัน

โครงการ ฯ นี้ ได้ผ่าน EIA แล้ว โดย สผ.จะนำเสนอให้ ครม. เพื่อพิจารณาต่อไป หลังจากนั้นการนิคมอุตสาหกรรม จะสามารถลงนามสัญญากับเอกชนเพื่อบริหารจัดการถมทะเลได้

 

สำหรับ ความคืบหน้าจากทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ช่วงที่ 1 ถือเป็นการผลักดันโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ สร้างการลงทุนมูลค่าสูงถึง (รวม 2 โครงการ) 271,900 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูง ฯ 224,000 ล้านบาท และโครงการท่าเรือมาบตาพุด 47,900 ล้านบาท

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0