โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

E-DUANG : การปะทะ ๒ กลุ่ม ๒ กระแส ต้องการให้ยุบ ไม่ต้องการยุบ

มติชนสุดสัปดาห์

อัพเดต 20 ก.พ. 2563 เวลา 00.52 น. • เผยแพร่ 20 ก.พ. 2563 เวลา 00.52 น.
ยุบ ไม่ยุบ อนาคตใหม่

หากมองในเชิงรูปแบบ บทบาทของคณะกรรมการการเลือกตั้ง บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญ ต่อ”คดีเงินกู้ ๑๙๑ ล้านบาท”ของพรรค อนาคตใหม่

๒ องค์กรอิสระนี้ดำรงอยู่ในสถานะอันเป็น “ฝ่ายรุก” เป็น “ฝ่ายลงมือกระทำ”อย่างเด่นชัดในฐานะ “โจทก์”

พรรคอนาคตใหม่ คือ เหยื่อ คือ จำเลย

เป็นเหยื่อเพราะมีโอกาสถูกยุบพรรค เป็นเหยื่อเพราะมีโอกาสที่กรรมการบริหารพรรคจะถูกตัดสิทธิทางการเมือง และบางคนอาจต้อง ติดคุกติดตะรางด้วยซ้ำไป

กระนั้น หากสำรวจ “พื้นที่” ทางด้านการเคลื่อนไหวก็ไม่แน่ว่าฝ่ายของพรรคอนาคตใหม่จะอยู่ในสถานะ “ตั้งรับ”หรือ “ถูกกระทำ”

ตรงกันข้าม กลับเริ่มมีกระแสโต้กลับในลักษณะ”รุก”มากยิ่งขึ้น

 

นับแต่คณะกรรมการการเลือกตั้งรับคำร้องอันเกี่ยวกับพรรคอนาคตใหม่ขึ้นมาไต่สวน นับแต่ผลการไต่สวนลงเอยด้วยการส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญภายใต้ข้อเสนอว่าน่าจะมีการยุบพรรค ตัดสิทธิ

ได้เกิดความคิด ๒ กระแสเกิดขึ้นและดำรงอยู่ในพื้นที่ข่าวโดยอัต โนมัติ

กระแส ๑ โน้มเอียงไปทางต้องการให้ยุบพรรคอนาคตใหม่

กระแส ๑ โน้มเอียงไปทางไม่ต้องการให้เกิดการยุบพรรคอนาคตใหม่

ในเบื้องต้นความโน้มเอียงอย่างแรกครอบครอง”พื้นที่”

แต่ยิ่งใกล้วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ เด่นชัดมากยิ่งขึ้นว่าความโน้มเอียงอย่างหลังกลับมีการเคลื่อนไหวและได้รับความสนใจเป็นอย่างสูงในทางสังคม

ทำท่าว่าจะยึดครองและกลายเป็น”กระแสหลัก”ด้วยซ้ำไป

 

ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ของสื่อกระแสหลัก สือเก่า ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สื่อกระแสรอง สื่อใหม่

ปรากฏ ๒ ความคิดนี้เกิดขึ้น ดำรงอยู่อย่างคึกคัก

นี่เป็นสภาพที่ไม่เคยสัมผัสในห้วงแห่งการพิจารณาคดียุบพรรค ไทยรักไทย หรือแม้กระทั่งในห้วงแห่งการพิจารณาคดียุบพรรคพลังประชาชน

แต่เห็นและสัมผัสได้ในห้วงแห่งการพิจารณาคดียุบพรรคอนาคต ใหม่

นี่คือปรากฏการณ์ที่เป็นสัญญาณใหม่ในทางการเมือง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0