โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

Digital twin: โลกธุรกิจเมื่อทุกอย่างถูก clone ได้

Stock2morrow

อัพเดต 11 ธ.ค. 2562 เวลา 02.12 น. • เผยแพร่ 09 ธ.ค. 2562 เวลา 17.00 น. • Stock2morrow
Digital twin: โลกธุรกิจเมื่อทุกอย่างถูก clone ได้
Digital twin: โลกธุรกิจเมื่อทุกอย่างถูก clone ได้

หากเรามีโลกเสมือนอีกใบหนึ่งที่สามารถจำลองอะไรก็ได้เพื่อ “ทดลองก่อนลงมือทำจริง” คงจะดีไม่น้อย เพราะนอกจากจะช่วยลดโอกาสความผิดพลาดในการทำงานและการเข้าใจผิดแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนการผลิต การแก้ปัญหาอีกด้วย 

จินตนาการดูง่ายๆ ว่า ถ้าหากแพทย์สามารถจำลองระบบของร่างกายคนไข้เพื่อดูอาการผิดปกติของโรคร้าย และสามารถทดลองรักษามันในรูปแบบต่างๆ ว่าวิธีไหนดีที่สุดก่อนที่จะลงมือรักษาจริง มันน่าจะเพิ่มโอกาสการช่วยชีวิตของคนไข้อย่างมาก 

ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้สามารถเริ่มทำได้ด้วยนวัตกรรมที่อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า digital twin หรือฝาแฝดดิจิทัล 

ซึ่งจะประกอบไปด้วยส่วนที่เป็น physical หรือส่วนที่สามารถจับต้องได้ อย่างเช่นเครื่องจักรหรือร่างกายจริงๆ และส่วนที่เป็น digital ซึ่งเป็นการบูรณาการ emerging technologies หลายอย่าง ได้แก่ Big Data Analytic, IoT, Machine Learning, Cloud, 3D Modeling และ VR/MR เข้ามาไว้ด้วยกันเพื่อทำ virtual representation ของสิ่งต่าง ๆ เพื่อติดตามสถานะและคาดการณ์ประเมินสภาพของสิ่งนั้น

บทความนี้จะนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับนวัตกรรมฝาแฝดดิจิทัลที่จะมาเปลี่ยนโลกธุรกิจในหลายๆ อุตสาหกรรมในไม่ช้านี้

จุดเริ่มต้นของ Digital Twin

ต้นแบบของ digital twin ถูกนำมาทดลองใช้ครั้งแรกในช่วงปี 1970 โดย NASA จากเคสที่โด่งดังอย่างยาน Apollo 13 ที่ถังออกซิเจนได้ระเบิดระหว่างภารกิจ ทว่าโชคยังดีที่ทุกสถานการณ์เกี่ยวกับยานลำนี้ได้ถูกจำลองไว้แล้วก่อนออกเดินทาง ทำให้เหล่าวิศวกรภาคพื้นสามารถตรวจสอบและแก้ไขปัญหาได้แม้ว่าจะอยู่ห่างกว่า 200,000 ไมล์ห่างออกไป 

แน่นอนว่าหลังจากที่เทคโนโลยีสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น digital twin ก็ได้ถูกนำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มากขึ้น ทั้งในด้านการซ่อมบำรุง ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์  ตลอดจนการวางแผนระบบการผลิต ซึ่งบทบาทของ digital twin ก็ได้เริ่มเข้ามามีความสำคัญมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา Gartner ได้คาดการณ์ไว้ว่าการใช้งานเทคโนโลยีนี้จะเพิ่มขึ้นกว่าถึง 3 เท่าภายในปี 2022 

ก่อนหน้าที่จะมาเป็น digital twin ในยุคแรก สิ่งของกายภาพ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องจักร ยังไม่ได้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ ทำให้มีเฉพาะฃส่วนที่เป็น physical เท่านั้น ส่งผลให้การตรวจสอบและการจัดเก็บข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ ต่อยอดและพัฒนาเป็นไปได้ยากและใช้เวลามาก 

ในยุดถัดมาจึงได้เริ่มมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้เพื่อช่วยในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล แต่ยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อทั้งสองระบบเข้าหากัน แปลว่ายังต้องอาศัยมนุษย์เป็นหลักในการป้อนข้อมูลเข้าไปเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ 

แต่เมื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของเซ็นเซอร์ที่มาพร้อมกระแส IoT  จึงทำให้การตรวจสอบและติดตามสถานะ และการเก็บข้อมูลของเครื่องจักรเป็นไปได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น และเมื่อนำเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งไว้มาผนวกเข้ากับเทคโนโลยีอื่นๆ อย่าง big data จึงทำให้สามารถรวบรวมข้อมูลจากเซ็นเซอร์ต่าง ๆ มาไว้เป็นหนึ่งเดียวแล้วจำลองฝาแฝดของสิ่งของนั้นๆ ออกมาได้เป็น digital twin ที่สมบูรณ์ในที่สุด 

 

Use-case 1: ฝาแฝดดิจิทัลในอุตสาหกรรม  Healthcare

หนึ่งใน use case ที่น่าสนใจของ digital twin ที่จะมายกระดับวงการแพทย์และเพื่อเพิ่มโอกาสในการช่วยชีวิตคนคือ การใช้ digital twin ในการจำลอง genomic makeup physiological characteristics และ lifestyle ของคน เพื่อที่จะทดลองวัดผลวิธีรักษาโรคต่างๆ เพื่อหาวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด 

ยกตัวอย่างบริษัท Dassault ผู้พัฒนา Living heart หรือแบบจำลองหัวใจของคนซึ่งรวบรวมข้อมูลทั้งภาพสองมิติของหัวใจ ลักษณะการเต้นของหัวใจ รวมถึงรายละเอียดอื่น ๆ เพื่อที่จะเอามาสร้างหัวใจจำลองของคนนั้นๆ สำหรับการเตรียมการวางแผนการรักษา และตรวจดูปัจจัยเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ นอกจากนี้ 

อีกหนึ่งบริษัทอย่าง Sim&Cure start-up ก็ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ลักษณะเดียวกันเพื่อจำลองโครงสร้างของสมองคนในการพัฒนาวิธีการรักษาโรคหลอดเลือดในสมองโป่งพอง วิธีนี้ช่วยลดอัตราความผิดพลาดของการรักษาลงได้กว่า 3-4 เปอร์เซ็นต์และได้ช่วยชีวิตคนแล้วกว่า 1,500 รายใน 25 ประเทศ

https://siliconcanals.com/news/startups/french-medtech-startup-simcure-raises-e3m-to-revolutionise-brain-surgery/

 

Use-case 2: ฝาแฝดดิจิทัลใน show-biz

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า digital twin ก็สามารถเป็นพิธีกรได้ 

ล่าสุดในงาน CCTV Spring Festival Gala 2019 ได้มีการเปิดตัวพิธีกรดิจิทัล 4 คนที่จำลองทุกอย่างจากพิธีกรที่เป็นคนจริงๆ โดยพิธีกรดิจิทัลเหล่านี้สามารถโต้ตอบกับแฟนๆ ได้ไม่ต่างจากตัวจริง ทั้งการทำหน้าทำตาไปจนถึงความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เนื่องจากถูกบรรจุข้อมูลของต้นแบบผนวกกับเทคโนโลยีอย่าง machine learning, computer vision, natural language processing และ speech synthesis ไว้หมดแล้ว ทั้งนี้ ObEN ผู้พัฒนาหวังว่านวัตกรรมดังกล่าวจะช่วยให้เหล่าศิลปิน ดาราสามารถใกล้ชิดกับแฟนคลับได้มากขึ้น รวมถึงเปิดช่องทางใหม่ ๆ ให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ให้เข้าถึงผู้ชมใหม่ได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

Use-case 3: ฝาแฝดดิจิทัลใน smart city

ทุกคนคงรู้จักสิงคโปร์ในนามผู้นำด้าน smart city ของโลก แต่ล่าสุด ในปี 2018 Dassault บริษัทเดียวกันกับที่พัฒนา Living Heart ได้ทำการจำลอง digital twin ของสิงคโปร์ไว้ทั้งเกาะไว้ใน Virtual Singapore  ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากหน่วยงานของสิงคโปร์เป็นอย่างดี โดยหวังว่านวัตกรรมนี้จะเข้ามามีบทบาทอย่างมาในการยกระดับ smart city ให้ smart ยิ่งขึ้น 

ยกตัวอย่างเช่น การทำ simulation สำหรับปรับปรุงการสัญจรของพื้นที่ต่างๆ สามารถทำได้โดยไม่ต้องเข้าไปสำรวจสถานที่จริงเลย เนื่องจาก digital twin ได้รวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูล GIS ทั่วไปอย่างแผนที่ ข้อมูลที่ดิน ไปจนถึงข้อมูล dynamic อย่าง สภาพอากาศ สภาพจราจร จำนวน footfall ไว้หมดแล้ว ซึ่งเมื่อผนวกกับเครื่องมือ analytics แล้วก็สามารถออกแบบวางแผนได้ว่าการวางผังเมือง หรือการปรับนโยบายแบบไหนจะมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด

 

อ้างอิง:

https://www.seebo.com/digital-twin-technology/

https://www.forbes.com/sites/bernardmarr/2019/04/23/7-amazing-examples-of-digital-twin-technology-in-practice/#5c1be0676443

https://www2.deloitte.com/us/en/insights/focus/industry-4-0/digital-twin-technology-smart-factory.html

https://www.plasticstoday.com/medical/living-heart-project-beats-on-five-more-years-dassault-fda-renew-partnership/58240144161219

https://venturebeat.com/2019/01/29/obens-creates-ai-hosts-for-chinas-network-spring-festival-gala/

https://govinsider.asia/digital-gov/meet-virtual-singapore-citys-3d-digital-twin/

 

 

ดร. ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์

ผู้เขียนเป็นเจ้าของเว็บไซต์ settakid.com ที่วิเคราะห์ประเด็นเปลี่ยนโลกผ่านมุมมองเศรษฐศาสตร์แบบเข้าใจง่ายๆ  คุณ ณภัทร จบปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลและจอนส์ ฮอปกินส์ เคยมีประสบการณ์ทำวิจัยที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ดและธนาคารโลก และสำเร็จการศึกษาปริญญาเอกสาขาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์อยู่ที่มหาวิทยาลัยมินนิโซต้า เป็นนักเขียนรับเชิญของ stock2morrow และเป็นคอลัมนิสต์ประจำสำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0