โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

DesignNation 2019 เทศกาลออกแบบงานใหม่ของเมืองไทย

กรุงเทพธุรกิจ

เผยแพร่ 17 พ.ย. 2562 เวลา 09.16 น.

กรุงเทพฯ มีการจัดงานเกี่ยวกับการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์และงานออกแบบดีๆ หลายครั้ง ครั้งนี้ก็เช่นกันสำหรับงานDesignNation 2019หรือเทศกาลแสดงผลงานดีไซน์และศิลปะสุดสร้างสรรค์

ผนึกกำลังการจัดงานร่วมกันระหว่างบริษัทคอร์ปอเรชั่น โฟร์ดี จำกัดและกลุ่มพันธมิตรพลังสยาม(Siam Synergy)นำโดยบริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน), บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด, สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) และ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)

บริเวณจัดงานครอบคลุมพื้นที่ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ (MBK), หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, ลิโด้ คอนเน็คท์ (Lido Connect), สยามสแควร์, และพื้นที่ วันสยาม (OneSiam) อันประกอบด้วย ศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ และศูนย์การค้าสยามพารากอน ระหว่างวันที่ 7-24 พฤศจิกายน 2562

ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมในรูปแบบของ pop-up shops จากนักออกแบบทั่วประเทศกว่า 5,000 ชิ้น 200 แบรนด์ 10 หมวดหมู่ ที่ไม่สามารถพบเห็นได้บ่อย นำเสนองานดีไซน์ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ แฟชั่น เครื่องประดับ ฯลฯ อาทิDesign Plant Design PLANTกลุ่มนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งรุ่นใหม่ที่มุ่งนำอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทยไปสู่ระดับนานาชาติได้แก่ ดุลยพล ศรีจันทร์ (pdm brand), Atelier 2+, thinkk Studio, SLAP Studio, Dots design Studio

กลุ่มทองเอก ดิสทริค(Thong-Ek Design District) การรวมตัวของสตูดิโอออกแบบ ร้านเฟอร์นิเจอร์ ทั้งแบรนด์ไทยและแบรนด์ต่างประเทศ

นักออกแบบหน้าใหม่ อาทิYoung Graphic Designers & Illustratorsกลุ่มเครื่องประดับและกลุ่มงานInnovation Craft

โดยในปีหน้ายังจะมี Design Nation Market ตระเวนไปตามที่ต่างๆ เพื่อให้นักออกแบบและผู้ประกอบการได้มีพื้นที่แสดงผลงานสร้างสรรค์และให้สาธารณชนได้เข้าถึงผลงานมากยิ่งขึ้นควบคู่ไปกับการนำเสนอเนื้อหาด้านการออกแบบและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ งานแสดงสินค้าออกแบบและงานสร้างสรรค์ (design and creative fair) การมอบรางวัล Design Nation Awards สำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และรางวัล Degree Shows สำหรับนักออกแบบระดับบัณฑิตจบใหม่

ร่วมด้วยกิจกรรมเสวนาโดยผู้ประกอบการและบุคคลในแวดวงอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ประสบความสำเร็จ ทั้งจากในและต่างประเทศ อาทิ Foreign Policy จากสิงคโปร์, Boris Bertram ผู้กำกับหนัง The Human Shelter ฯลฯ นิทรรศการนักออกแบบรุ่นใหม่ 40/40, งานฉายภาพยนตร์ Movies on Design, การแสดงต่างๆ และผลงานการออกแบบที่จะเป็น Landmark กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ย่านสยาม

คณะผู้จัดงานDesignNation 2019และผู้บริหาร

"DesignNation 2019 จัดขึ้นภายใต้แรงบันดาลใจจากแนวคิด Futurizing the City มุ่งเน้นการเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และร่วมสร้างระบบนิเวศทางการค้าใหม่ (New Ecosystem) เพื่อตอบรับพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุค Disruption"ประธาน ธีระธาดาผู้อำนวยการ เทศกาล DesignNation กล่าว

แม้ว่าDesignNation 2019เป็นชื่องานใหม่ ยังไม่คุ้นหู แต่ทีมงานทั้งหมดมีประสบการณ์จาก เทศกาลออกแบบบางกอก (Bangkok Design Festival) ซึ่งจัดมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2550

ในงานยังเปิดตัวพื้นที่ชุมชนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ออนไลน์www.designnation.netซึ่งจะทำหน้าที่เป็น Market Place สำหรับผู้ประกอบการและนักออกแบบ ควบคู่ไปกับการจัดแสดงผลงานในเทศกาล DesignNation 2019เป็นการใช้กลยุทธ์ผสมผสานระหว่างธุรกิจออนไลน์และแบบดั้งเดิมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ตลาดงานดีไซน์และศิลปะ ตอบรับพฤติกรรมของผู้บริโภค ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจไทยในอนาคต และติดตามข่าวสารงานออกแบบ-กิจกรรมได้ที่เว็บดังกล่าว

ตอกย้ำให้เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพ สามารถเป็นศูนย์กลางตลาดในกลุ่มสินค้าออกแบบ และการบริการด้านการออกแบบ ทั้งในรูปแบบออนไลน์และงานจัดแสดงสินค้าในระดับสากลได้อย่างแน่นอน สมกับที่UNESCO(องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ) ได้ประกาศให้กรุงเทพฯเป็นเมืองสร้างสรรค์ (Creative City) ในด้านการออกแบบ

การจัดงานDesignNation 2019ได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจาก กลุ่มพันธมิตรพลังสยาม (Siam Synergy) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของกรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางธุรกิจความเจริญที่มีความหลากหลาย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การศึกษา ศิลปะ นวัตกรรม ที่ได้รับความนิยมจากคนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มีการจัดแสดงงานศิลปะทั้งในประเทศและงานศิลปะระดับเวิลด์คลาสตลอดทั้งปี

จึงถือเป็นย่านแห่งศิลปะ หรือart district ที่แท้จริง

ภาพ : ปัณณภัสร์ พัฒนาปิยะวงค์

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0