โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

Derivatives เครื่องมือลดความเสี่ยง หรือ เครื่องมือเพิ่มความเสี่ยง?

Stock2morrow

อัพเดต 17 ก.ค. 2562 เวลา 10.47 น. • เผยแพร่ 17 ก.ค. 2562 เวลา 10.47 น. • Stock2morrow
Derivatives เครื่องมือลดความเสี่ยง หรือ เครื่องมือเพิ่มความเสี่ยง?
Derivatives เครื่องมือลดความเสี่ยง หรือ เครื่องมือเพิ่มความเสี่ยง?

ผมอยากจะพูดถึงเรื่องของ “ความเสี่ยง (The Risk)”

ความเสี่ยงมันมาจากการ “หยุด” แชร์ลูกโซ่ที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็คือ “ระบบทุนนิยม” ดังนั้นการเคลื่อนตัวของระบบเศรษฐกิจเกิดจากการสร้างเงินใหม่ แล้วถมเข้าระบบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยใช้กลไกของ “ความโลภ” เป็นกลจักรในการขับเคลื่อน

ระบบเศรษฐกิจของเราขับเคลื่อนด้วยเครื่องมือทางการเงิน (Financial Innovation) ซึ่งล้วนแต่สร้างขึ้นมาบนพื้นฐานของความเสี่ยง ทั้งที่เดิมที่เครื่องมือเหล่านี้สร้างขึ้นมาเพื่อ “ลดความเสี่ยง” ไม่ว่าจะเป็น Derivative อย่าง CDO ที่สร้างเพื่อลดความเสี่ยงของ “เงินกู้บ้าน” แต่ท้ายที่สุด คนเราก็เอาไปใช้อย่างผิดวิธี จนที่สุดแล้วจากเครื่องมือลดความเสี่ยงก็เปลี่ยน มาเป็นระเบิดเวลา และมาระเบิดด้วย Lehman Brother ในที่สุด

อาจจะฟังดูเท่ที่ Goldman Sachs สามารถรอดจากวิกฤตมาได้ อย่างหวุดหวิด จนหลายคนมองว่าเป็นฮีโร่ เพราะขนาดสถาบันการเงินที่สุดในโลกอย่าง Citibank ยังหนีวิบากตรงนี้ไม่พ้น 

Chuck Prince อดีต CEO ของ Citibank เคยกล่าวไว้ว่า “ทุกคนจงเต้นรำต่อไป ตราบเท่าที่เสียงเพลงยังคงบรรเลงอยู่" มันเป็นวลีเด็ดที่โชว์ภาพของความเป็น “เก้าอี้ดนตรี” ของระบบการเงินของอเมริกาที่เรียกว่าเป็นต้นแบบของเครื่องมือทางการเงินทั่วโลก

เครื่องมือที่เกี่ยวกับความเสี่ยงที่ผมอยากจะพูดถึง 2 ตัว ตัวแรกคือ Futures ส่วนอีกตัวคือ Options สิ่งที่ต่างกันระหว่าง Derivatives สองตัวนี้ ก็คือ “ตัวนึงเสี่ยง ส่วนอีกตัวเสี่ยงกว่า”

เอ๋อ! สรุปว่ามันเป็นเครื่องมือลดความเสี่ยง (Risk Control) หรือ เครื่องมือเพิ่มความเสี่ยงกันแน่!

future options
future options

ถ้าจะให้พูดมันก็เหมือน “มีด” ถ้าใช้ให้ดีมันก็มีประโยชน์ แต่ถ้าใช้ผิดๆ อาจบาดมือหรือฆ่าคนอื่น แล้วก็ฆ่าตัวตายได้!

ตัว Futures และ Options ความเด็ดมันก็คือ Gearing หรือ Leverage แปลว่า คุณสามารถใช้เงินน้อยกว่า และ Take Bet ในจํานวนที่มากกว่า

ซึ่งถ้าคุณคิดเช่นนี้ คุณกระโดดลงหลุมไปได้เลย “ย้ําว่าฝังกลบ ไม่ต้องเผา!”

TFEX กับ Gold Future บ้านเราก็คือ Future อย่าง TFEX คนเล่นมีแต่เซียนกับ Prop. Trade คนนึงเขี้ยวสาด อีกคน ค่าคอมมิสชันถูกกว่าตลาด 10 เท่า เราจะกระโดดเข้าไปปล่อยหมู ก็คงไม่มีใครห้ามครับ อิ อิ

การใช้เครื่องมืออย่าง Futures และ Options ให้เกิดประโยชน์ มันเริ่มจากที่คุณจะต้องเข้าใจก่อนว่ามันช่วยลดความเสี่ยงให้กับคุณได้อย่างไร?

ในตลาด Commodity การเกษตรอย่าง ข้าว น้ำตาล ยาง ล้วนแต่เป็นตลาดที่มีความเสี่ยงสุดๆ หลายคนมองว่า การลงทุนเปิดศูนย์การค้าเสี่ยงกว่าปลูกข้าว แต่ผมว่าคุณอาจจะต้องคิดใหม่ เพราะหากใครดูราคาข้าวหรือ น้ําตาล คุณจะเห็นได้เลยว่าราคามันขึ้น-ลง มากกว่าหุ้นอีก!

การใช้ Futures ในการซื้อขายผลผลิตทางการเกษตรล่วงหน้า เป็นสิ่งที่ชาติตะวันตกใช้มาเป็นเวลานานแล้ว (เช่น ตลาด CME) จึงไม่แปลกที่ก่อนลงทุนเพาะปลูก ชาวนาของเขารู้ก่อนแล้วว่าจะได้กําไรเท่าไหร่

ในประเทศไทยมีโรงน้ำตาลมากมาย แต่มีแค่ “มิตรผล” เท่านั้นในขณะนั้น ที่เริ่มมีหน่วยงานเล็กๆ อย่าง Futures Trading เข้าช่วยในการป้องกันความเสี่ยง (จะเห็นได้ว่าโรงน้ำตาลทุกโรงรวยสุดๆ และก็จนสุดๆ เพราะขึ้นลงตามไซเคิล ในขณะที่ “มิตรผล” ไม่ได้เป็นอย่างนั้น) 

หากใครยังจําได้ จอร์จ โซรอส ผู้ได้ชื่อว่า The Man who broke the Bank of England มันช่างเป็นความเท่อย่างมหาโคตรสําหรับนักการเงินอย่างผม คุณรู้ไหมว่าเครื่องมือที่เขาใช้คืออะไร ใช่! เขาใช้ Options

ปัจจุบัน โรงน้ำตาลใช้ Futures ในการ Hedge หรือป้องกันในความเสี่ยง (ซึ่งโรงน้ําตาลในประเทศไทยเกือบทุกโรงใช้บริการ Trading Company เหล่านี้) โดย Trading Company เหล่านี้ใช้ Futures และถึงคุณจะไม่ต้องจ่ายเงินทั้งก้อนอย่างการซื้อหุ้น แต่คุณก็ต้องวาง Initial Margin ซึ่งอย่างน้อยก็ต้องใช้ถึง 10% ของราคาสินค้าเป็นอย่างน้อย

แต่ในมุมมองของ Commodity Trader แล้ว หากคุณใช้ Options ในการ Hedge มันหมายถึง จํานวนเงินที่น้อยกว่าการใช้ Futures เข้าไปอีก (เออ! แต่ถ้าคุณ Trade Options แบบไม่มี Physical Back (คือมีแต่ใบสัญญา ล้วนๆ ตายได้ง่ายๆ ครับ)

สรุปว่าเครื่องมือแต่ละอย่างมีความซับซ้อนและมีประโยชน์รวมทั้งมีโทษอย่างมหาศาล ขึ้นอยู่กับคุณจะใช้มัน

และนี้ก็คือการแนะนําตัว Futures & Options มีดสุดคมกริบแห่งทุนนิยม ถึงเวลาแล้วครับที่ทุกคนจะต้องใช้มีดเล่มนี้ให้เป็นก่อนมันจะบาดนิ้วน้อง “คุงแม่ มีดบาดนิ้วน้องฮะ!”

ภาววิทย์  กลิ่นประทุม

เจ้าของหนังสือ Best Seller ซีรี่ย์ “แกะรอยหยักสมอง 1-3”  , “ฟรีดอมเทรดเดอร์” และ “คลีนิคหุ้นมือใหม่” พร้อมเป็นไอดอลผู้จุดประกายเรื่อง "หุ้น" ให้แก่นักลงทุนรุ่นใหม่ และเป็นวิทยากรคอร์ส “ปูพื้นฐานสู่การลงทุนเบื้องต้น” โดยมีผู้ติดตามจำนวนมาก  และได้รับเชิญไปบรรยายในหน่วยงานต่างๆ มากมายทั้งภาครัฐและเอกชน  รวมทั้งได้รับเชิญสัมภาษณ์ออกสื่อต่างๆมากมาย ทั้งโทรทัศน์  วิทยุ และสิ่งพิมพ์

 

คอร์สสัมมนา :  มือใหม่เข้าใจหุ้น By ภาววิทย์

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0