โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

DEPA ชงครม.ต่ออายุ ลดภาษี 200% หนุนเอสเอ็มอีด้านดิจิทัล

Money2Know

เผยแพร่ 22 ก.ค. 2562 เวลา 09.50 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
DEPA ชงครม.ต่ออายุ ลดภาษี 200% หนุนเอสเอ็มอีด้านดิจิทัล

DEPA ศึกษามาตรการดึงนักลงทุน เข้ามาลงทุนด้านเทคโนโลยี-นวัตกรรม เตรียมขอ ครม. ต่ออายุ ลดหย่อยภาษี 200% ให้ SMEs ที่ร่วมโครงการและเข้าเกณฑ์อีก 3 ปี คาดสิ้นปี 65 จะสร้างการเติบโตในอุสหกรรมดิจิทัลอีก 6 เท่า ด้านผู้ประกอบการห่วง ลงทุนแล้วมีคนทำงานเพียงพอและมีตลาดให้ลงทุนหรือไม่

มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (มูลนิธิ สวค.) ร่วมกับสำนักงาน ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล (DEPA) จัดงานเผยแพร่และแถลงข่าวผลการศึกษา "มาตรการการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลของประเทศไทย" ภายใต้การดำเนินงานศึกษาโครงการแนวทางการส่งเสริม สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล และจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับมาตรการในการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลในประเทศไทย พร้อมทั้งเตรียมเสนอต่ออายุมาตรการลดหย่อยภาษี 200% สำหรับ SMEs ที่ร่วมโครงการกับสำนักงานและอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร

นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการกลุ่มงานเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล ระบุว่า จากการศึกษา "มาตรการการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลของประเทศไทย" พบว่าประเทศไทยมีการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีดีกว่าประเทศอื่นๆทั้งในด้านของระยะเวลาการยกเว้นภาษีและอัตราการลดหย่อนภาษี ซึ่งสามารถทำให้ดึงดูดนักลงทุนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเมื่อพิจารณามาตรการทางการเงินอื่นๆแล้วพบว่าประเทศไทย ยังไม่มีมาตรฐานที่ต่างประเทศดำเนินการ อาทิ การให้เครดิตภาษีเพื่อการวิจัยและพัฒนา การยกเว้นภาษีอสังหาริมทรัพย์ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และการอุดหนุนเพื่อสนับสนุนการจ้างงานรวมถึงค่าเช่าต่างๆเป็นต้น

จากการศึกษาดังกล่าวมีข้อเสนอทั้งหมด 4 ประเด็นในการผลักดันให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมดิจิทัล ได้แก่

1) การสร้างอุปสงค์ที่เพียงพอในการชักจูงให้เข้ามาลงทุน(Securing Sizable Demand)
2) ศูนย์ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จด้วยระบบดิจิตอล (Digital One-Stop Service)
3) สนามทดสอบธุรกิจดิจิทัล (Digital Regulatory Sandbox)
4) กองทุนร่วมทุนสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อลงทุนในพื้นที่เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Venture Capital Fund for SME)

ขณะที่มาตรการการลดหย่อนภาษี 200% สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ซื้อหรือใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากนักพัฒนาและผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่ขึ้นทะเบียนกับ DEPA เนื้ออยู่ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนดในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยทาง DEPA จะเสนอเรื่องนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อต่ออายุมาตรการดังกล่าวแล้ว

มาตรการใหม่ที่จะมีการต่ออายุไปอีก 3 ปี โดยโครงการลดหย่อนภาษีดังกล่าวเริ่มมาตั้งแต่ปี 2560 และจะหมดอายุวันไหนวันที่ 31 ธันวาคม 2562 นี้ การขอขยายระยะเวลาจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 และจะปรับวงเงินสูงสุดที่สามารถขอยกเว้นภาษีได้จากเดิม 100000 บาทขึ้นเป็น 200,000 บาทเพื่อให้สอดคล้องกับมูลค่าวงเงินที่เอื้ออำนวยให้กับผู้ประกอบการในการเข้าถึงเทคโนโลยีตามสถานการณ์ปัจจุบันได้

นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ ระบุว่าในขอบเขตมาตราการลดหย่อนภาษีเดิมครอบคลุมเฉพาะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งในมาตรการใหม่ที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีชักมีการขยายจาก ซอฟต์แวร์ (Software) เพิ่มขึ้นมาจากเดิม ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์(Hardware) , อุปกรณ์อัจฉริยะ(Smart Device) และบริการดิจิตอล(Digital Service) รวมถึงจะการให้คำปรึกษาและบริการออกแบบระบบรวมถึงบริการดิจิตอลอื่นๆ ที่ผ่านมาก็มีหลากหลายหน่วยงานในการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและการจ้างงานในอุตสาหกรรมต่างๆมีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายรายเดือนในส่วนของพนักงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เข้าร่วมโครงการอีกด้วย

รู้จักการประเมินการใช้มาตรการลดหย่อนภาษีในปีที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ประกอบการมากกว่า 140 ราย เข้าร่วม และคาดว่าจะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมด้านซอฟต์แวร์เป็นจำนวน 1,300 ล้านบาท ทั้งนี้แม้ว่ามาตรการดังกล่าว คาดจะส่งผลกระทบทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากการเก็บภาษีถึง 567 ล้านบาท แต่มาตรการนี้สามารถสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นในด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในการปรับรูปแบบดำเนินการธุรกิจด้วยเทคโนโลยี(Digital Tramformation) เพิ่มขึ้นมากกว่า 3,158 ล้านบาท

หลังจากนี้จะมีการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานพันธมิตรเพื่อดำเนินการรวบรวมข้อมูลให้กับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป ซึ่งจากการศึกษาในต่างประเทศบางเรื่องที่ไม่ตรงกับบริบทของไทยก็จะมีการตัดออกเช่นกัน

ดร.รพีสุภา หวังเจริญรุ่ง ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง รายงานผลการศึกษาว่า แม้ไทยมีมาตรการต่างๆของไทยในด้านภาษีจะดีกว่าประเทศอื่นๆแต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนไม่สนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยคือ ประเทศไทยยังมีความต้องการของตลาดในด้านเทคโนโลยีกว้างไม่เพียงพอ หนึ่งในปัญหาที่พบนั้นก็คือเมื่อผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาในประเทศไทยจะมีผู้ซื้อหรือไม่ ราคาสูงแล้วจะมีผู้ ประเทศไทยใช้บริการหรือไม่ ? ซึ่งหากไม่มีอุปสงค์ที่ชัดเจนถ้ามองจากมุมมองของนักลงทุนจะเข้ามาลงทุนหรือไม่ ?

ขณะที่อีกหนึ่งส่วนที่เข้ามามีผลกระทบในการตัดสินใจการลงทุนในด้านเทคโนโลยีคือเมื่อเข้ามาลงทุนในประเทศไทยแล้วมีแรงงานที่มีประสิทธิภาพในการทำงานด้านเทคโนโลยีและบุคลากรทางด้านดิจิตอลหรือไม่ ? และเมื่อย้ายฐานการผลิตไปยังเขตเศรษฐกิจต่างๆรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะหาบุคลากรในด้านอื่นๆที่สนับสนุนกิจการได้หรือไม่ ทั้งนักบัญชีและพนักงานอื่นนอกเหนือจากพนักงานที่ใช้แรงงาน ดังนั้นจึงนำมาสู่ข้อเสนอของการศึกษานี้

"ข้อเสนอคือการให้ DEPA เข้ามามีบทบาทในการรวบรวมตำราต่างๆในด้านเทคโนโลยีเพื่อให้นักลงทุนได้รับรู้ว่าตลาดด้านเทคโนโลยีต่างๆที่กระจัดกระจายอยู่ในประเทศไทยเมื่อรวมกันแล้วมีขนาดใหญ่มากน้อยเพียงใด" ดร.รพีสุภา  กล่าว

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0