โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

D.I.Y หน้ากากผ้าท้องถิ่น สวยงามมีเอกลักษณ์ กันโควิด-19

ไทยโพสต์

อัพเดต 30 มี.ค. 2563 เวลา 11.26 น. • เผยแพร่ 30 มี.ค. 2563 เวลา 11.26 น. • ไทยโพสต์

 

D.I.Y หน้ากากผ้าไทยอัตลักษณ์ชุมชน ฝีมือชุมชนคุณธรรมฯ

 

     สถานการณ์โรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ทำให้คนไทยตื่นตัวป้องกันตัวเองจากการติดโรคด้วยการสวมหน้ากากอนามัยป้องกันโรค ส่งผลให้เกิดความต้องการหน้ากากอนามัยจนไม่เพียงพอ เกิดการขาดแคลนหน้ากากอนามัย  เหตุนี้หน้ากากผ้าเป็นทางเลือกของผู้ที่ไม่ป่วย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่า  หน้ากากผ้า ผ้าใยสังเคราะห์ สามารถป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ได้เกินร้อยละ 50  คุณสมบัติเท่านี้เพียงพอสำหรับประชาชนที่เข้าไปในพื้นที่ชุมชน

     เพื่อให้ไทยผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 หน่วยรัฐชวนคนไทยประดิษฐ์หน้ากากผ้าเพื่อแก้ปัญหาหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ไม่เพียงพอ มีการเผยแพร่คลิป D.I.Y ทำหน้ากากอนามัยป้องกันไวรัสโคโรนาใช้เองของกรมอนามัย อุปกรณ์ คือ ผ้าฝ้าย ผ้าสาลู เข็ม ด้าย กรรไกร  ขณะที่กระทรวงมหาดไทย (มท.)  ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้จัดทำหน้ากากอนามัยแบบผ้าเพื่อสวมใส่ป้องกันการระบาดไวรัสโควิด-19 โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผลิตจำนวน 50 ล้านชิ้น นโยบายนี้มีการบูรณาการร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) นำเครือข่ายชุมชนคุณธรรมที่มีกลุ่มชาวบ้านทำผ้าท้องถิ่นและผ้าทอมือร่วมผลิตเพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชน

 

ผ้าท้องถิ่นมีเอกลักษณ์นำมาผลิตหน้ากากผ้า

 

     อิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าว  วธ. เป็นหน่วยงานหลักขับเคลื่อนความเข้มแข็งของ “บวร” โดยนำหลักการ “บวร : บ้าน วัด โรงเรียน”  ดำเนินกิจกรรมต่างๆ พร้อมบูรณาการจัดทำหน้ากากอนามัยร่วมกับ มท.ทุกพื้นที่ตามนโยบายรัฐบาล โดยมอบหมายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงาน และสำรวจความพร้อมประชาชนในชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีอยู่กว่า 20,000 แห่ง ซึ่งมีการรวมกลุ่มของชาวบ้าน แม่บ้าน มีวัตถุดิบผ้าท้องถิ่น ผ้าที่เป็นสินค้าวัฒนธรรมไทย (CPOT)  และมีความพร้อมให้ความร่วมมือในการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้ากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อผลิตรองรับการใช้งานให้ทันสถานการณ์ จำกัดการระบาดของไวรัสโคโรน่า อีกทั้งยังเป็นการช่วยแก้ปัญหาหน้ากากอนามัยไม่เพียงพอต่อความต้องการ  

      สำหรับชุมชนคุณธรรมที่เข้าร่วมจัดทำหน้ากากอนามัย อาทิ  เครือข่ายชุมชนคุณธรรมจังหวัดชลบุรีจัดทำหน้ากากผ้า  , ชุมชนคุณธรรมวัดนาหนองจังหวัดราชบุรีจัดทำหน้ากากผ้าจกทอมือ ,ชุมชนคุณธรรมม่วงกลวง จังหวัดระนองจัดทำหน้ากากผ้าปาเต๊ะลายไทย , ชุมชนคุณธรรมวัดโพธาราม จังหวัดยโสธร จัดทำหน้ากากผ้าลายตาม๊อง แล้วยังมีชุมชนคุณธรรมวัดพลา จังหวัดระยอง ชุมชนคุณธรรมวัดป่าธรรมดา จังหวัดนครราชสีมา ชุมชนคุณธรรมบ้านบางกลม จังหวัดสงขลา และชุมชนคุณธรรมหนองสมณะใต้ จังหวัดลำพูน

 

 พลังบวรช่วยชาติ ร่วมต้านโควิด-19 ผลิตหน้ากากผ้า

 

         “ วธ.ได้รับรายงานจากวัฒนธรรมจังหวัดว่า มีจำนวนชุมชนฯ ที่ผลิตหน้ากากแบบผ้า จำนวน 2,372 ชุมชน ผลิตหน้ากากแบบผ้าแล้ว จำนวน 339,054 ชิ้น และคาดว่าจะสามารถผลิตได้กว่า 5 ล้านชิ้น เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะนำไปมอบให้กับหน่วยงาน สถานศึกษา กลุ่มคนที่ต้องปฏิบัติงานภายใต้ความเสี่ยงและประชาชน  นอกจากนี้ ยังได้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารโรคไวรัสโควิด-19 ผ่านเครือข่ายชุมชนคุณธรรมฯ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วยพลังบวรทางช่องทางสื่อต่างๆ แก่ประชาชนอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องตามที่สธ.ขอความร่วมมือ เช่น คำแนะนำการป้องกันควบคุมโรค สำหรับผู้เดินทางไป-กลับจากพื้นที่การระบาด นักศึกษา และสถานศึกษาที่มีกลุ่มผู้เดินทางกลับจากพื้นที่การระบาด   ความรับผิดชอบต่อสังคม การรักษาระยะห่างทางสังคม social distancing วิธีการทำหน้ากากอนามัยใช้เอง เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทันเวลา ลดความตระหนก และสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ด้วย     “ อิทธิพล กล่าวถึงการดึงเครือข่ายวัฒนธรรมจังหวัดร่วมต้านโควิด

 

ขั้นตอนการเย็บจักร ประกอบชิ้นส่วนหน้ากากผ้า

 

                รมว.วธ. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ชักชวนเครือข่ายศิลปินพื้นบ้าน ทั้งลิเก ลำตัด และศิลปินผีตาโขน จังหวัดเลย จัดทำคลิปรณรงค์”ร่วมกันห่วงใย ใส่ใจสังคม” ถือเป็นอีกหนึ่งเครือข่ายวัฒนธรรมที่ใช้ความรู้ความสามารถด้านศิลปะการแสดงเอกลักษณ์ของไทย ช่วยรณรงค์สื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องและแนวทางปฏิบัติตัวเพื่อให้มีชีวิตที่ปลอดภัยจากไวรัสโควิด-19 ขณะที่มิติวิชาการสู้วิกฤตโควิด ทางศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ประกาศให้ทุนเขียนบทความวิจัยในสถานการณ์โรคระบาด”โรคเปลี่ยนคน คนเปลี่ยนโลก “ กับนักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษามานุษยวิทยาและสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 ทุน ทุนละ 20,000 บาท ส่งผลงานได้ถึงวันที่ 20 เม.ย.นี้ วิจัยด้านวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือหนึ่งในการถอดบทเรียนและหาแนวทางป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในบ้านเรา   

 

    

  

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0