โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

Crowdsourced Art : งานศิลปะที่ชวนชาวบ้านชาวช่องร่วมระดมสมอง และเผลอๆ ร่วมกันสร้าง !

The101.world

เผยแพร่ 12 พ.ย. 2562 เวลา 10.39 น. • The 101 World
Crowdsourced Art : งานศิลปะที่ชวนชาวบ้านชาวช่องร่วมระดมสมอง และเผลอๆ ร่วมกันสร้าง !

บทความชวนดูงานศิลปะและนวัตกรรมจากโลกที่หนึ่ง ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีให้สังคมและชีวิตคน ผ่านสายตานักออกแบบมัลติมีเดียจากโลกที่สามในนามกลุ่มEyedropper Fill

 

Eyedropper Fill เรื่อง

 

กำแพงบ้านร้างแห่งหนึ่งในนิวส์ออร์ลีนส์เดิมเป็นเพียงพื้นที่ให้วัยรุ่นแถบนั้นแวะเวียนมาพ่นกราฟิตี้ พรมฉี่ และสบถผ่านสีสเปรย์ แต่วันหนึ่งในปี2011 ศิลปินชื่อCandy Chang เปลี่ยนกำแพงให้กลายเป็นกระดานดำ พ่นตัวอักษรสีขาวเป็นประโยคเรียบง่าย ทิ้งเอาไว้ให้คนเติมคำในช่องว่างว่าBefore I die I want to_

 

 

Crowdsourced Art คือรูปแบบศิลปะที่‘เปิด’ ให้คนทั่วไปเข้ามาระดมความคิด ออกไอเดีย โยนความเห็น หรือแม้แต่ร่วมทำ ก่อนที่ศิลปินจะนำสิ่งเหล่านี้มาเป็นวัตถุดิบในการสร้างสรรค์ผลงาน และหลายครั้งวัตถุดิบเหล่านั้นก็กลายเป็นงานศิลปะด้วยตัวมันเอง โดยศิลปินอาจไม่ต้องลงมือทำอะไรเพิ่ม

เช่นเดียวกับโปรเจ็กต์Before I Die ศิลปินCandy Chang ทำหน้าที่เป็นเพียง‘สะเก็ดไฟ’ จุดคำถามและประเด็นที่น่าสนใจโยนเข้าไปกลางวง ก่อนจะปล่อยให้พลังความคิดของมหาชนโหมแรงไฟและสวยงามด้วยตัวมันเอง งานศิลปะรูปแบบนี้ทำหน้าที่เป็น‘พื้นที่’ รองรับความคิดของคน คล้ายกับเส้น“_”  ที่ผ่านไปไม่นานชาวบ้านในละแวกบ้านร้างหลังนั้น(และผู้คนทั่วโลก หลังโปรเจ็กต์ถูกนำไปทำในประเทศต่างๆ ในเวลาต่อมา) ก็ช่วยกันเติมคำตอบจนล้นช่อง ว่าก่อนตายพวกเขาปรารถนาที่จะทำอะไร

 

beforeidieproject.com

 

ในกระบวนการCrowdsourced Art หรือเรียกง่ายๆ คือ‘ศิลปะที่รวบรวมวัตถุดิบจากทางบ้าน’ เราจะได้เห็นความคิดผ่านPerspective หลากหลายจากคนที่มีความแตกต่าง ในงานศิลปะทั่วไปเราอาจได้เห็นความคิดผ่านมุมมองแว่นตาของศิลปินเพียงคนเดียว แต่กับCrowdsourced Art เราอาจได้เห็นความคิดของคุณป้านักบัญชี หรือเด็กผู้ชายอายุแปดขวบในงานด้วย

Learning to Love You More ศิลปินMiranda July และHarrell Fletcher เลือกสร้างสรรค์งานศิลปะชิ้นนี้โดยใช้วิธีการCrowdsourcing ด้วยการ‘ให้การบ้าน’ มวลชน โจทย์มีตั้งแต่เรียบง่ายใกล้ตัวอย่าง‘ถ่ายใต้เตียงตัวเองแบบเปิดแฟลช’  ‘ถ่ายรูปพ่อแม่ของคุณจูบกัน’  ‘แต่งเพลงที่เศร้าที่สุดในชีวิต’ ไปจนถึง‘สร้างสัญลักษณ์ประท้วงและออกไปประท้วง’ หรือ‘เขียนอธิบายการเมืองในฝัน’ หลังมวลชนผู้เลือกรับโจทย์ไหนก็ได้จากทางเว็บไซต์ส่งการบ้านกลับมาให้ ศิลปินจึงนำผลงานเหล่านั้นไปรวบรวมเป็นหนังสือชื่อเดียวกับโปรเจ็กต์

 

http://learningtoloveyoumore.com

 

บางคนอาจมองว่าCrowdsourced Art คือวิธีการทำงานศิลปะแบบคนขี้เกียจ แต่อย่าลืมว่าการทำงานศิลปะรูปแบบนี้ก็ใช่จะง่าย เพราะศิลปินต้องตั้งโจทย์ที่น่าสนใจ สำคัญ หรือเชื่อมโยงกับคนมากพอให้คนตอบรับ ตามด้วยการจัดการวัตถุดิบจำนวนมหาศาล แถมต้องยอมรับความเสี่ยงหากสุดท้ายไม่มีใครเอาด้วยเลย นอกจากนี้ มันคือแบบฝึกหัดที่ดีให้ศิลปินได้ลองลดบทบาทของตัวเอง เปิดตากว้างขึ้น และเชื่อในพลังการสร้างสรรค์ที่มาจากคนอื่นๆ

นอกจากกระบวนการCrowdsourcing จะเกิดขึ้นในโลกจริงอย่างกำแพงBefore I Die หรือLearning to Love You Moreยังสามารถเกิดขึ้นในโลกออนไลน์ ในยุคที่อินเทอร์เน็ตเป็นศูนย์กลางของคนทั่วทุกมุมโลก การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแพลตฟอร์มของกระบวนการ ยิ่งทำให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าสนใจได้อีกมหาศาล

The Johnny Cash Project เล่นกับความทรงอิทธิพลและความทรงจำของผู้คนที่มีต่อศิลปินอย่างJohnny Cash ด้วยมิวสิกวิดีโอที่เปิดให้ทุกคนเป็นผู้ร่วมสร้าง โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ของโปรเจ็กต์และเลือกวาดภาพคนละเฟรม จากนั้นภาพทั้งหมดจึงถูกนำมาประกอบกันเป็นเอนิเมชัน และกลายเป็นมิวสิกวิดีโอที่ถูกสร้างโดยแฟนJohnny Cash ทั่วโลก

 

https://www.youtube.com/watch?v=WwNVlNt9iDk

 

ไอเดียCrowdsourced art ที่ให้คนบนโลกอินเทอร์เน็ตมีส่วนร่วม ยังมีรูปแบบสนุก ตลก และมีส่วนร่วมได้ง่ายๆ  ด้วย มิวสิกวิดีโอKilo โดยLight Light เปิดให้คนเข้าชมผ่านเว็บไซต์ แต่ละซีนของเอ็มวีจะชวนให้ผู้ชมเลื่อนเมาส์ไปยังจุดต่างๆ ของหน้าจอ เช่น ให้เลือกว่าคุณเป็นเพศหญิงหรือชายโดยการนำเมาส์ไปชี้ที่ไอคอน ให้คุณเลื่อนเมาส์ไปยังประเทศที่อยากไปบนแผนที่โลก ไปจนถึงคำสั่งต่างๆ อย่าง‘อยู่ภายในวงกลมสีเขียว’

ตลอดการรับชม(และเล่น) เว็บไซต์จะบันทึกภาพตัวชี้เมาส์ของแต่ละคนเอาไว้บนหน้าจอมิวสิกวิดีโอ เมื่อคนทยอยเข้ามาชมมากขึ้น ก็จะยิ่งได้เห็นตัวชี้เมาส์ที่เป็นเสมือนตัวแทนของคนที่เคยเข้ามาดูก่อนหน้าอยู่ในมิวสิกวิดีโอมากขึ้นตามไปด้วย 

 

 

 

นอกจากเราจะสนุกกับการดูและเล่น เรายังได้เห็น‘เรื่องราว’ ของคนดูคนอื่นๆ ที่เข้ามาก่อนหน้าบันทึกไว้ในเอ็มวีด้วย เช่น เราจะเห็นตัวชี้เมาส์ที่เลือกชี้เมาส์ตรงกลางระหว่างสัญลักษณ์หญิงชาย หรือเราจะเห็นตัวชี้เมาส์ที่ไม่เคยทำตามคำสั่งเอาซะเลย

 

https://youtu.be/W3ZjY8YD_NY

 

และเมื่อมาถึงยุคที่ฝ่ามือกับสมาร์ทโฟนแทบจะกลายเป็นสิ่งเดียวกัน ก็เกิดงานศิลปะCrowdsourced art รูปแบบใหม่ๆ ที่ผสานคนในโลกออนไลน์และคนในโลกออฟไลน์ ที่ยืนอยู่บนพื้นที่จริง เข้าด้วยกัน เช่นโปรเจ็กต์ที่ชื่อว่าSculpture Cam ที่กลุ่มนักออกแบบStudio Moniker สร้างสรรค์ให้กับสวนสาธารณะYorkshire Sculpture park

นักท่องเที่ยวที่เข้าไปชมประติมากรรมในสวนแห่งนี้ สามารถเข้าเว็บไซต์sculpture.cam จากโทรศัพท์มือถือ เมื่อเข้าไปจะพบกับกรอบปริศนา รูปทรงประหลาด พร้อมข้อความว่าFind the matching sculpture ! หน้าที่ของเราคือตามหาว่ากรอบที่ขึ้นอยู่บนหน้าจอคือมุมไหนของประติมากรรมชิ้นไหนในสวนแห่งนี้ เมื่อเจอแล้วสามารถกดถ่ายภาพ ภาพแต่ละมุมของประติมากรรมแต่ละชิ้นจากคนแต่ละคน จะถูกนำไปประกอบเป็นภาพสามมิติของประติมากรรมชิ้นนั้น แบ่งให้ผู้คนในอีกซีกโลกที่ไม่ได้เข้าชมสวนแบบตัวเป็นๆ ได้เห็นประติมากรรมแบบสามมิติ มองได้รอบด้าน

กระบวนการCrowdsourcing ทำให้คนดูกลายเป็นผู้สร้างงานประติมากรรมอีกชิ้นบนโลกออนไลน์ ที่เจ๋งคือมันเป็นประติมากรรมที่ถูกประกอบจากต่างช่วงเวลา ต่างสภาพอากาศ แถมบางมุมมีภาพคนไปยืนคู่ด้วย!

 

https://vimeo.com/277282904

 

กระเถิบใกล้ตัวเข้ามาหน่อย โปรเจ็กต์ศิลปะในบ้านเราที่ใช้กระบวนการCrowdsourcing ก็มีไม่น้อย ที่ทุกคนน่าจะเคยผ่านตาคงเป็น นิทรรศการSecond Hand Dialogue โดยผู้กำกับ เต๋อ- นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ที่เปลี่ยนให้Bangkok Citycity Gallery กลายเป็น‘ศูนย์รับบริจาคบทสนทนา’ ผู้คนที่แวะเวียนเข้ามาสามารถโทรหาใครก็ได้ในนิทรรศการ โดยบทสนทนาของตัวและคู่สายจะถูกบันทึก และถูกนำไปจัดแสดงภายในแกลอรี่ ทั้งในรูปแบบเสียงและข้อความที่ถูกถอดเทป รวมถึงบทสนทนาทั้งหมดยังถูกรวบรวมไว้ในรูปแบบหนังสือ หลังนิทรรศการจบลงอีกด้วย

แทนที่จะเข้ามาแกลอรี่เพื่อชมงานศิลปะที่ศิลปินเป็นผู้สร้าง กลับกลายเป็นว่าผู้ชมเป็นฝ่ายมอบเรื่องราวของตัวเองให้ศิลปินสร้างกลายเป็นนิทรรศการศิลปะ  นี่แหละ คือCrowdsourced Art 

 

 

จะว่าไปกระบวนการศิลปะรูปแบบนี้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน– ยุคสมัยที่เราสามารถแชร์ โต้ตอบความรู้สึก แสดงความคิดเห็นกันผ่านแพลตฟอร์มใหญ่ที่ชื่อsocial media ที่เอื้อให้เกิดกระบวนการเจ๋งๆ อีกมากมาย เราจะเห็นว่าเพจฮาๆ บางเพจเปิดให้คนแต่งเรื่อง แปลงเนื้อเพลงต่อกันผ่านช่องคอมเมนต์ บางเพจเปิดให้คนหยิบภาพไปตัดต่อตามไอเดียของตัวเองแล้วส่งกลับมาประชันกัน ฯลฯ แม้จะดูเป็นแค่ไอเดียขำๆ แต่หากศิลปินและนักออกแบบจับไปต่อยอดกลายเป็นงาน เราคงได้เห็นงานศิลปะที่น่าสนใจอีกเต็มไปหมด

Crowdsourced art คือรูปแบบศิลปะที่ท้าทายศิลปินนักออกแบบและท้าทายในมุมของผู้ชมงานศิลปะ สำหรับศิลปิน เราอาจเคยชินกับการฟังแต่เพียง‘เสียง’ ของตัวเอง และเปล่งเสียงของเราผ่านงานศิลปะ กระบวนการนี้ท้าทายให้เราได้ลองหรี่เสียงของตัวเองลง และกางหูให้กว้างขึ้นเพื่อรับฟังเสียงอื่นๆ ที่เราอาจไม่เคยฟัง

สำหรับผู้ชม เราอาจคุ้นเคยกับการชมงานศิลปะด้วยการยืนเงียบๆ เพื่อฟังเสียงที่ศิลปินส่งมา เมื่อถูกกระบวนการCrowdsourcing ท้าทายให้เราต้องมีส่วนร่วมเป็น‘ผู้สร้างสรรค์’ จึงเป็นโอกาสให้เราได้ย้อนกลับไปฟัง‘เสียง’ ข้างในตัว

และในวินาทีนั้น เราอาจพบเสียงแห่งความคิดสร้างสรรค์ชั้นดีจากข้างใน ที่ไม่เคยถูกค้นพบมาก่อนก็เป็นได้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0