โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

Covid-19 : เมื่อ 4 ใน 5 แสดงอาการป่วยไม่รุนแรง แล้วเราจะมีความเสี่ยงแค่ไหน

PostToday

อัพเดต 09 เม.ย. 2563 เวลา 01.31 น. • เผยแพร่ 09 เม.ย. 2563 เวลา 01.28 น. • webmaster@posttoday.com
Covid-19 : เมื่อ 4 ใน 5 แสดงอาการป่วยไม่รุนแรง แล้วเราจะมีความเสี่ยงแค่ไหน
Covid-19 : เมื่อ 4 ใน 5 แสดงอาการป่วยไม่รุนแรง แล้วเราจะมีความเสี่ยงแค่ไหน
Covid-19 : เมื่อ 4 ใน 5 แสดงอาการป่วยไม่รุนแรง แล้วเราจะมีความเสี่ยงแค่ไหน
Covid-19 : เมื่อ 4 ใน 5 แสดงอาการป่วยไม่รุนแรง แล้วเราจะมีความเสี่ยงแค่ไหน
Covid-19 : เมื่อ 4 ใน 5 แสดงอาการป่วยไม่รุนแรง แล้วเราจะมีความเสี่ยงแค่ไหน
Covid-19 : เมื่อ 4 ใน 5 แสดงอาการป่วยไม่รุนแรง แล้วเราจะมีความเสี่ยงแค่ไหน
Covid-19 : เมื่อ 4 ใน 5 แสดงอาการป่วยไม่รุนแรง แล้วเราจะมีความเสี่ยงแค่ไหน
Covid-19 : เมื่อ 4 ใน 5 แสดงอาการป่วยไม่รุนแรง แล้วเราจะมีความเสี่ยงแค่ไหน

ปัจจุบันนักวิจัยประเมินว่า ในจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 1,000 คน มีผู้เสียชีวิตราว 5-40 คน หากจะระบุตัวเลขคาดการณ์ที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีกก็คือ 9 คน ในผู้ติดเชื้อ 1,000 คน หรือเกือบ 1% แต่ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งเรื่องของอายุ เพศ สุขภาพโดยทั่วไป และระบบสาธารณสุขที่ผู้ป่วยเข้ารับบริการ 

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลคนไข้ 56,000 คน ข้อสรุปบ่งชี้ว่าผู้ได้รับเชื้อ 4 ใน 5 คน จะมีอาการป่วยไม่รุนแรง โดย

  • 80% มีอาการไม่รุนแรง
  • 14% มีอาการรุนแรง
  • 6% มีอาการวิกฤต
  • อัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำที่ 1-2%

 

แล้ววันนี้เรามีความเสี่ยงแค่ไหน

  • ถ้าติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ กลุ่มคนที่มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่า ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ผู้ที่มีโรคประจำตัว และอาจจะรวมถึงเพศชาย
  • ผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือมีปัญหาในการหายใจ มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนปกติอย่างน้อย 5 เท่า!!
  • การวิเคราะห์ขนาดใหญ่ครั้งแรกในผู้ติดเชื้อมากกว่า 44,000 ในประเทศจีน พบว่า อัตราการเสียชีวิตในผู้สูงอายุสูงกว่าคนวัยกลางคนถึง 10 เท่า!!
  • อัตราการเสียชีวิตในคนที่อายุต่ำกว่า 30 ปีต่ำที่สุด โดยมีผู้เสียชีวิต 8 คนในจำนวนผู้ติดเชื้อ 4,500 คน
  • คนที่มีโรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุ สามลำดับแรกที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่ออาการป่วยรุนแรงในผู้สูงอายุ คือ 35.8%, 26.9% และ 10.4 % ตามลำดับ
  • คนที่สูบบุหรี่ ปอดของคนสูบบุหรี่จะถูกทำลายจนเกิดภาวะถุงลมโป่งพองซึ่งภาวะนี้จะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ปอดสูงกว่าคนปกติ ส่งผลให้ผู้ชายที่สูบบุหรี่จะมีภาวะปอดอักเสบที่รุนแรงกว่า 2 เท่า!! และเสียชีวิตมากกว่าเกือบ 4 เท่า!! ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการสูบบุหรี่ในจีนที่ผู้ชายสูบบุหรี่มากกว่าผู้หญิง
  • เพศชายมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเพศหญิงเล็กน้อย

ทางด้านผลการวิเคราะห์จากศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของจีน (CCDC) ระบุว่า แม้ว่าอัตราการติดเชื้อโรค Covid-19 ระหว่างชายและหญิงจะไม่ต่างกันมากนัก แต่อัตราการเสียชีวิตนั้นทิ้งห่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีจำนวนคนไข้ชายที่เสียชีวิต 2.8% ในขณะที่คนไข้หญิงเสียชีวิต 1.7%

สาเหตุที่ทำให้เป็นเช่นนี้ สืบเนื่องมาจากการที่ผู้ชายเป็นเพศที่มีภูมิต้านทานโรคอ่อนแอกว่า มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบชัดว่าเหตุใดผู้หญิงจึงแข็งแกร่งกว่าผู้ชายในแง่นี้ ทั้งยังสามารถพัฒนาภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพดีกว่า และอยู่คงทนนานปีกว่าอีกด้วย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0