โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

Covid -19 บทพิสูจน์ที่แท้จริงของ สตาร์ทอัพ – SMEs ไทย กับทางรอด

ทันข่าว Today

อัพเดต 03 เม.ย. 2563 เวลา 09.00 น. • เผยแพร่ 03 เม.ย. 2563 เวลา 08.59 น. • ทันข่าว Channel

Highlight

  • บทพิสูจน์ที่แท้จริงของสตาร์ทอัพ และ SMEs ไทย เพราะแทบทุกธุรกิจกำลังประสบความท้าทาย
  • 6 แนวคิด เปิดสู่ทางรอดธุรกิจ
  • ปรับเพื่อไปต่อ เพราะ “พฤติกรรมผู้บริโภค” ในโลกหลัง Covid-19 ก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน

วิกฤตไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ไม่เพียงแต่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพ แต่ยังเป็นพิษภัยต่อธุรกิจ SMEs แบบสะบักสะบอม ไม่ว่าจะสายป่านสั้น หรือยาวแค่ไหน นี่คือบทพิสูจน์ที่แท้จริงของสตาร์ทอัพ และ SMEs ไทย?

แทบทุกธุรกิจกำลังประสบความท้าทายต่าง ๆ ดังนี้

  • รายได้ กำไรที่หายไป ที่เห็นได้ชัดอย่างบริษัทที่มีรายได้มาจากการจัดงาน หายไปในพริบตา แผนงานทั้งปี เรียกว่ากลายเป็นเศษกระดาษ
  • รายจ่ายซึ่งส่วนมากเป็นต้นทุนคงที่ไม่หายตาม ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนและสวัสดิการพนักงาน ค่าเช่าออฟฟิศ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่สามารถติดหนี้ไว้ก่อนได้
  • ส่งผลให้กระแสเงินสดสุทธิติดลบ  ถึงแม้จะมีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากแค่ไหนก็ตาม กลายเป็นว่าใครสายป่านยาวก็รอด สายป่านสั้นก็ลำบาก

แล้วทางรอดคืออะไร?

ไม่มีธุรกิจไหนไม่เคยเจอปัญหาครับ เพียงแต่ในภาวะวิกฤติใหญ่แบบนี้หลาย ๆ ธุรกิจล้วนต้องตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันดังนั้น “สติ” เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะนำทางให้ผู้ประกอบธุรกิจฝ่าฟันอุปสรรคและผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้

ถัดมา คือ

  • รัดเข็มขัด ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออก อะไรก็ไม่สำคัญเท่าเงินสดในวิกฤติที่ไม่รู้จะผ่านพ้นไปเมื่อไหร่ แต่ก็อย่าแน่นจนเกินไป เช่น การไล่คนที่มีความสำคัญกับธุรกิจหลักออก เพราะจะเป็นการกำจัดข้อได้เปรียบทางธุรกิจ หรือทำให้บริษัทไม่สามารถกลับมาดำเนินการได้ปกติ
  • เปิดใจหารายได้เพิ่มเติม แน่นอนว่าการโฟกัส เป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจควรทำ แต่การกระจายความเสี่ยงก็เป็นเรื่องสำคัญ ในภาวะที่รายได้จากธุรกิจหลักหดหาย ความอยู่รอดอาจมาจากธุรกิจอื่นๆ ที่สามารถใช้ทักษะ ความเชี่ยวชาญที่ใกล้เคียงกับธุรกิจหลักของเรา
  • หาแหล่งทุนเพิ่มเติม ซึ่งการกู้เงินอาจไม่ใช่เรื่องง่ายในภาวะวิกฤติ ดังนั้นทุนจากหน่วยงานรัฐบาล จึงเป็นแหล่งเงินทุนไม่กี่แหล่งที่มีภูมิต้านทานต่อวิกฤตินี้
  • ถือโอกาสปรับปรุงโครงสร้างเทคโนโลยีในบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตาร์ทอัพที่วางโครงสร้างเว็บไซต์ใหม่ เพื่อรองรับฟีเจอร์ที่สำคัญต่อการเติบโตในอนาคต สร้างฐานข้อมูลที่เป็นระเบียบ และมีความเสถียร พร้อมสู่การเป็น Data-driven organization เพื่อให้พื้นฐานมั่นคง
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดี เพราะในยามยากนี่แหล่ะที่ทำให้คนมักต้องการความช่วยเหลือ ถ้าคุณช่วยทำให้ใครก็ตามผ่านพ้นวิกฤติได้ในยามนี้ ก็เป็นไปได้สูงที่เขาจะตอบแทนคุณ ยามเมื่อคุณต้องการความช่วยเหลือเช่นเดียวกัน

ปรับเพื่อไปต่อ เพราะ “พฤติกรรมผู้บริโภค” ในโลกหลัง Covid-19 ก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน

  • ผู้บริโภคอยากซื้อของอย่างมั่นใจมากขึ้น
    ในวันที่คนไม่สามารถออกไปเดินซื้อข้าวของในตลาดได้อย่างสะดวกเหมือนในอดีต พวกเขาก็จะหันไปหาซื้อบนโลกออนไลน์ แต่ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็คือการโพสต์สินค้าด้วยภาพนิ่งอย่างเดียวอาจไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว
  • ผู้บริโภคอยากได้ระบบอัตโนมัติ นาทีนับจากนี้ไปจึงเป็นโอกาสของธุรกิจการศึกษาที่มีแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างแท้จริง
  • ผู้บริโภคมองหาธุรกิจที่มั่นใจได้ในความสะอาด ธุรกิจที่โปรโมตตัวเองด้านความสะอาดกลายเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ของคนกลุ่มนี้ หรือหากยังไม่เห็นภาพ อาจขอยกกรณีของ
    แบรนด์ Stella McCartney ที่เปิดตัว Flagship Store โดยชูจุดขายด้านระบบกรองอากาศในร้านว่าสามารถกำจัดมลพิษจากอากาศภายนอกร้านได้มากถึง 95%
  • ผู้บริโภคมองหาธุรกิจที่พร้อมจะร่วมมือกับผู้อื่น

ธุรกิจที่สามารถสร้างบรรยากาศในการดูแลลูกค้าให้ดียิ่งกว่าเดิม การมีพันธมิตรที่จับมือก้าวผ่านความยากลำบากร่วมกัน เป็นภาพจำที่สร้างประสบการณ์ที่ดีเสมอ

ทิ้งท้ายสักนิด อย่างที่ Ray Dalio ผู้บริหารบริษัท Bridgewater Associates เฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่สุดของโลกเคยพูดไว้ ผลกระทบจากวิกฤตไวรัสนี้ไม่ส่งผลด้านเศรษฐกิจมากนัก แต่ ส่งผลต่อจิตใจอย่างมาก ทรัพย์สินที่มีมูลค่ามากที่สุดที่คุณต้องดูแลให้ดีนั่นก็คือ “ตัวคุณเองและครอบครัวของคุณ” เพื่อประคองธุรกิจให้อยู่ได้ในระยะยาว 

Cr: TrendWatching, กรุงเทพธุรกิจ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0