โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

COVID-19 ทั่วโลกร่วมใจทุ่มเม็ดเงินมหาศาล...ประคองเศรษฐกิจพ้นวิกฤติโควิด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

อัพเดต 07 เม.ย. 2563 เวลา 08.50 น. • เผยแพร่ 07 เม.ย. 2563 เวลา 08.50 น.

            การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกยังคงส่อเค้ารุนแรงและมีแนวโน้มที่จะยังไม่สามารถควบคุมได้ในระยะอันใกล้ ทำให้เศรษฐกิจโลกเผชิญความเสี่ยงสูงขึ้น และกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีนี้ ดังนั้น รัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกจึงต่างออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการเงินและการคลังเพื่อบรรเทาผลกระทบในวงเงินมหาศาล ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว มาตรการการคลังจะเน้นไปที่การช่วยลดภาระรายจ่ายของครัวเรือนและธุรกิจ ตลอดจนการประคองให้ครัวเรือนและธุรกิจยังมีรายได้เข้ามา ในขณะที่มาตรการทางการเงินจะเน้นที่การเสริมสภาพคล่อง เช่น การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และการผ่อนปรนภาระหนี้ 
             สำหรับตัวเลขมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเป็นเพียงวงเงินที่ทางการระบุไว้ ซึ่งบางมาตรการยังไม่มีการเปิดใช้หรืออัดฉีดจริง และเมื่อใช้จริงอาจต่ำกว่าที่ระบุ โดยส่วนหนึ่งเป็นเพียงการรับรองการปล่อยกู้ซึ่งอาจไม่ได้นำออกมาใช้จริงทั้งหมด ขณะที่ มาตรการทางการเงินมักมีวงเงินค่อนข้างสูง แต่เพราะฐานสินทรัพย์ทางการในระบบเศรษฐกิจมีขนาดใหญ่ จึงทำให้ไม่สามารถตีความผลลัพธ์ของมาตรการกระตุ้นจากเพียงตัวเลขได้ อีกทั้ง จำนวนวงเงินอาจจะไม่ได้สะท้อนถึงประสิทธิผลของมาตรการกระตุ้นเสมอไป ทั้งนี้ แม้ว่าในหลายประเทศจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวงเงินที่สูงกว่า 10% ของ GDP แต่ยังคงต้องติดตามประสิทธิผลของมาตรการต่อไป โดยหากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น คาดว่าทางการคงพร้อมที่จะออกมาตรการเพิ่มเติมในระยะข้างหน้า 
             ​โดยสรุป การดำเนินมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 ที่ใช้เม็ดเงินมหาศาลนั้น ท้ายที่สุดแล้วอาจจะไม่ช่วยให้เศรษฐกิจในหลายประเทศพ้นภาวะถดถอย แต่อย่างน้อยก็ช่วยให้เศรษฐกิจหดตัวน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีที่ไม่มีมาตรการใดๆ มารองรับ และที่สำคัญกว่านั้น มาตรการต่างๆ ที่นำมาใช้ในภาวะเช่นนี้ก็เพื่อช่วยให้กลไกทางเศรษฐกิจยังสามารถดำเนินต่อไปได้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0