โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

Burnout & Brownout หมดไฟหมดใจทำยังไงให้ไปต่อ

FWD

อัพเดต 17 มิ.ย. 2562 เวลา 12.55 น. • เผยแพร่ 17 มิ.ย. 2562 เวลา 12.55 น. • FWD Thailand

นี่คือความรู้สึกของคนที่หมดใจภัยเงียบจากการทำงานที่ร้ายแรง ความจริงของคนที่กำลังรู้สึก เหนื่อยกาย เหนื่อยใจ หมดไฟ และไร้แรงจูงใจในการทำงาน หากปล่อยทิ้งไว้นาน ความคิดนี้อาจจะลามไปถึงโรคซึมเศร้าได้ในที่สุด ซึ่งทั้ง 2 ภาวะนี้นั้นจะมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป

เหนื่อยกาย: ภาวะของอาการ Burnout Syndrome เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการถูกกดดันมาเป็นระยะเวลานาน ในสถานที่ทำงานด้วยรูปแบบของความคาดหวังที่สูงเกินกว่าที่ตัวเองจะรับไหว 

เหนื่อยใจ: ภาวะของอาการ Brownout Syndrome ที่ต้องทนเบื่อหน่าย จากความเวิ่นเว้อของเจ้านาย และความวุ่นวายจากสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน หรือเพื่อนร่วมงานบางประเภท รวมถึง กฎ และเงื่อนไข ที่ตั้งไว้ของบริษัท ทำให้รู้สึกหัวเสียและทำงานได้ไม่เต็มที่

คงไม่มีใครอยากเป็นซอมบี้ไร้สติ ขาดไฟไม่มีกะจิตกะใจในการทำงานหรอกว่ามั้ย มาลองเช็กความชัวร์ สำรวจตัวเองให้ดี บางทีภัยร้ายนี้ อาจจะหลบซ่อนแฝงตัวเงียบๆ อยู่ภายในจิตใจของคุณก็เป็นได้ มาดูกันว่าคุณมีอาการแบบนี้แล้วหรือยัง
สัญญาณเตือนภัย อันตรายจากภาวะ Burnout

-  ตื่นเช้ามาพยายามหาข้ออ้างเพื่อลาหยุด
-  ไม่แอคทีฟเหมือนเช่นเคย ทำอะไรก็ดูเหนื่อยไปหมด
-  สมาธิสั่นลง ไม่สามารถโฟกัสงานที่ทำได้
-  เริ่มไม่พัฒนาตัวเอง เลือกที่จะทำแค่ขอไปที
สัญญาณเตือนภัย อันตรายจากภาวะ Brownout

-  ความอดทนต่ำลง เมื่อถูกให้ทำตาม “กฎ” ตลอดเวลา
-  เลือกที่จะอยู่คนเดียว ออกห่างจากสังคมในที่ทำงาน
-  รู้สึกว่าไม่อยากทำงานที่มีอยู่อีกต่อไปแล้ว
-  รู้สึกล้มเหลวกับการท้าทายสิ่งใหม่ๆ ไม่สนุกเท่าเมื่อก่อน
หนึ่งสิ่งควรรู้ไว้ อาการหมดไฟ เป็นกันได้ทุกวัย

ลองสังเกตเหล่าคนทำงาน พนักงานออฟฟิศมักมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้สูงที่สุด  สาเหตุมักมาจากปัญหาต่างๆ ในการทำงานที่เจอ หรือวัฒนธรรมองค์กร ที่บางทีก็ยังคงล้าหลัง  รวมทั้งเรื่องของช่วงวัยที่แตกต่าง การสื่อสาร ทัศนคติ วิธีการทำงาน ด้วยการมองในมุมที่ต่างกัน ผู้ใหญ่ จะมองว่า งานเป็นแค่สิ่งที่จะหล่อเลี้ยงชีวิตให้ผ่านไปในแต่ละวัน จึงไม่แปลกที่สามารถทนกับ Routine เดิมๆ วนอยู่กับการทำอะไรซ้ำๆ ได้เป็นเวลานาน แต่สำหรับคนรุ่นใหม่ มองว่า เราเป็นคนเลือกงาน ไม่ใช่งานเลือกเรา จึงมีอิสระทางความคิด และไม่ต้องการหยุดอยู่กับที่ กระตือรือร้นที่จะหาสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเติมเต็มความต้องการในชีวิต ต่างวัยต่างความคิด สุดท้ายใครทนได้ก็คือผู้ที่อยู่รอด

แนะแนวทางอิคิไก! ปลดล็อคความหมายของชีวิต 

ไม่ว่าใครก็อยากที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และรู้สึกสนุกในทุกครั้งที่ตื่น เราจึงต้องหยิบเอาแนวคิดดีๆ มาเป็นไลฟ์โค้ชในการใช้ชีวิตอย่าง “อิคิไก” แปลเป็นไทย ก็คือ ความหมายของการมีชีวิต หรือการหาความสมดุลหรือจุดกึ่งกลางระหว่างองค์ประกอบ 4 อย่างได้แก่

- สิ่งที่คุณรัก หรือมีความสุขที่จะทำ

- สิ่งที่โลกใบนี้ต้องการ

- สิ่งที่สร้างรายได้ให้เรา

- สิ่งที่เราทำได้ดี

ซึ่งแท้จริงแล้วเราทุกคนต่างมี อิคิไก อยู่ในตัวเอง เพราะเราต่างเกิดมามีสิ่งพิเศษที่ไม่เหมือนใคร และมีเหตุผลที่เกิดมาเพียงแต่ว่าจะหามันเจอได้เร็วแค่ไหน การจะดึงเอา อิคิไก ออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ คือการ ทบทวนตัวเองอย่างจริงจัง จัดสมดุลให้ชีวิต ตัดสิ่งที่ไม่ใช่ออกไป และเลือกทำแต่สิ่งที่รัก

อิคิไก จึงเป็นสิ่งที่ คนรุ่นใหม่นั้นต้องการ และคนยุคเก่าก็ต้องเรียนรู้ เติมเต็มความต้องการที่ยังว่างเปล่า และตัดเรื่องบางเรื่องที่ไม่จำเป็นในชีวิตออกไป รับรองว่าหากหามันเจอเมื่อไหร่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่แค่ไหน คุณก็จะมีความสุขกับมันได้เช่นกันนะ     

คนเรามีช่วงเวลาที่รู้สึกหมดไฟ และเริ่มที่จะหมดใจได้ แต่เมื่อเรารู้ตัวแล้วว่าไฟกำลังจะมอด ก็คงถึงเวลาที่ต้องเติมเชื้อไฟกันใหม่ อาจจะลองพัก ลาพักร้อน ไปใช้ชีวิตอยู่กับตัวเอง ไปทำหัวใจให้แข็งแรงขึ้น ปล่อยสมองให้คิดถึงแต่เรื่องเบาๆ ไม่แน่ระหว่างการพักนี้คุณอาจจะได้คำตอบของการสร้างพลังไฟแบบใหม่ ให้มันลุกโชนอีกครั้งก็ได้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0