โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

แฟชั่น บิวตี้

Burberry เผาทิ้งสินค้าค้างสต็อกมูลค่าเป็นพันล้านบาทในปีเดียว เพื่อรักษาแบรนด์แวลู

sapparot.co

เผยแพร่ 20 ก.ค. 2561 เวลา 04.48 น. • Sapparot
Burberry เผาทิ้งสินค้าค้างสต็อกมูลค่าเป็นพันล้านบาทในปีเดียว เพื่อรักษาแบรนด์แวลู

Burberry แบรนด์แฟชั่นไฮเอนด์จากอังกฤษ เผยเฉพาะปีที่ผ่านมาเผากำจัดสินค้าคางสต็อกทิ้งไปรวมมูลค่ากว่า 28.6 ล้านปอนด์ (1,240 ล้านบาท) ตัดปัญหาถูกขโมยหรือนำไปขายในราคาถูก เพื่อรักษาคุณค่าของแบรนด์

แบรนด์แฟชั่นซึ่งมีลวดลายตารางเป็นซิกเนเจอร์เปิดเผยเรื่องดังกล่าวกับ The Times พร้อมยังเผยว่า มีสินค้าทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า และน้ำหอมค้างสต็อกที่ถูกเผาทำลายทิ้งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา รวมเป็นมูลค่ากว่า 90 ล้านปอนด์ (3,903 ล้านบาท) ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งในการจัดการสินค้าคงเหลือ และได้นำพลังงานที่เกิดจากกระบวนการเผาทำลายมาใช้ประโยชน์ต่อ

หลังการเปิดเผยเรื่องดังกล่าว แน่นอนว่ามีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ Burberry อย่างหนักหน่วง แต่อย่างไรก็ดี การเผาทำลายสินค้าค้างสต็อกเป็นวิธีการรักษาแบรนด์แวลู หรือ คุณค่าและมูลค่าของแบรนด์ ของแบรนด์ไฮแฟชั่นหลายๆ เจ้า ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าตกไปอยู่ในตลาดเทา (grey market ตลาดหรือการซื้อขายแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ โดยที่ผู้จำหน่ายเป็นผู้นำเข้าโดยไม่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากผู้ผลิตหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์) ซึ่งทำให้เกิดการซื้อสินค้าไปขายต่อในราคาที่ถูกกว่า

Burberry
Burberry

Maria Malone อาจารย์ด้านธุรกิจแฟชั่นแห่ง Manchester Metropolitan University กล่าวถึงเคสของ Burberry กับสำนักข่าวบีบีซีว่า นี่เป็นหนทางที่แบรนด์จัดการไม่ให้มีสินค้าที่ราคาถูกกว่าปกติขึ้นในตลาด ถือเป็นการคัดกรองผู้จะมาครอบครองและรักษาคุณค่าของแบรนด์ไว้ ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Burberry พยายามอย่างมากที่จะกู้ภาพลักษณ์แบรนด์กลับคืนมาหลังเผชิญช่วงเวลาที่ลายตารางถูกลอกเลียนไปใส่ไว้บนสินค้าต่างๆ นานาชนิด

ดังเช่นที่กล่าวว่า Burberry ไม่ใช่แบรนด์เดียวที่รักษาแบรนด์แวลูของตนด้วยการเผากำจัดสินค้าที่ขายไม่ออก Richemont บริษัทสัญชาติสวิสเจ้าของแบรนด์ Cartier และ Montblanc ก็มีการซื้อคืนสินค้าทั้งเครื่่องประดับและนาฬิกาที่ขายไม่ออกจากตัวแทนจำหน่าย ชิ้นส่วนนาฬิกาบางส่วนสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ แค่ส่วนใหญ่แล้วก็ถูกเผาทำลายทิ้ง ด้านแบรนด์สตรีทแฟชั่นชื่อดังอย่าง H&M ก็มีการเผาทำลายสินค้าค้างสต็อกเช่นกัน อย่างไรก็ยังตามยังมีการจัดการพลังงาน โดยนำไปเป็นพลังงานให้เมือง Västerås เมืองอุตสหกรรมของสวีเดนที่ซึ่ง H&M ถือกำเนิดขึ้น
อ้างอิง: BBC, UNILAD, TheWeek
ภาพ: Burberry

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0