โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

BEM แจกหน้ากากอนามัย รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT 1 ล้านชิ้น เพื่อการเดินทางที่ปลอดภัยไร้โควิด-19

JS100

อัพเดต 01 มิ.ย. 2563 เวลา 07.30 น. • เผยแพร่ 01 มิ.ย. 2563 เวลา 06.44 น. • JS100:จส.100
BEM แจกหน้ากากอนามัย รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT 1 ล้านชิ้น เพื่อการเดินทางที่ปลอดภัยไร้โควิด-19
BEM แจกหน้ากากอนามัย รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT 1 ล้านชิ้น เพื่อการเดินทางที่ปลอดภัยไร้โควิด-19

          หลังจากมีการผ่อนปรนมาตรการต่างๆ ขณะนี้ประชาชนเริ่มกลับมาดำเนินชีวิตตามปกติมากขึ้น  เพียงแต่ต้องปรับตัวให้เป็นลักษณะของ New Normal  หรือ การใช้ชีวิตวิถีใหม่ เช่น การเดินทางโดยรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือMRT ซึ่งเป็นระบบขนส่งสาธารณะ ผู้โดยสารมาใช้บริการจำนวนมาก ต้องมีการป้องกันอย่างเข้มงวด ทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัยขณะใช้บริการ โดยวันนี้เป็นวันแรกที่บริษัทBEM จัดโครงการ Healthy Journey with BEM คือ การแจกหน้ากากผ้าฟรี 1 ล้านชิ้นให้ผู้โดยสาร ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม แบ่งเป็น 3 รอบ รอบแรก วันที่1-7 มิถุนายน  เวลา06.30-09.30น. ที่จุดแจกหน้ากากอนามัย บริเวณประตูทางเข้าชั้นออกบัตรโดยสาร โดยจะสลับหมุนเวียนกันไปในแต่ละสถานี ไม่มีการลงทะเบียน แจก 1 ชิ้น ต่อ 1 คน เช่น วันที่ 2 มิถุนายน แจกที่ สถานีบางใหญ่ บางซ่อน ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย พระราม 9 บางซื่อ บางแค บางโพ ผู้โดยสาร สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ที่ช่องทางต่างๆหรือแอปพลิเคชั่น Bangkok MRT หรือ ใครที่เติมเงินในบัตรโดยสารตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป รับหน้ากากผ้าฟรี 1ชิ้นทันที ตั้งแต่วันนี้ไปจนกว่าของจะหมด

          โดยวันนี้เวลาประมาณ 10.00 น.ผู้สื่อข่าวได้เดินทางโดยรถไฟฟ้าMRT จากสถานีสนามไชยไปยังสถานีสุขุมวิท ซึ่งพบว่า แม้จะไม่ใช่ชั่วโมงเร่งด่วน แต่เจ้าหน้าที่ยังคงเข้มงวดให้มีการเว้นระยะห่างทั้งชานชาลาและในขบวนรถ หากขบวนไหนมีผู้โดยสารจำนวนมาก เจ้าหน้าที่จะให้ออกมายืนรอที่ชานชาลา รอรถขบวนใหม่ และแน่นอนการเว้นระยะห่าง ทำให้รถแต่ละขบวนรองรับผู้โดยสารได้น้อยลง

         นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท BEM ระบุว่า ปกติแล้วจะมีรถไฟฟ้าวิ่ง 40 ขบวน แต่ขณะนี้มีการเว้นระยะห่าง ทำให้สามารถรองรับผู้โดยสารต่อเที่ยวลดลง 3-4 เท่า ในช่วงเวลาเร่งด่วนจึงได้เตรียมเสริมขบวนรถเพิ่มอีก 9 ขบวน รวมเป็น 49 ขบวนและเพิ่มความถี่ในการเดินรถ เพื่อลดความแออัดในขบวนรถไฟฟ้า หากขบวนผู้โดยสารแออัด  เจ้าหน้าที่จะให้ผู้โดยสารออกมายืนรอด้านนอกก่อน และหากสถานีใดมีผู้โดยสารยืนรอจำนวนมาก จะจัดรถขบวนพิเศษ 9 ขบวน เข้าไปให้บริการ รวมถึงยังมีมาตรการอื่นๆด้วย เช่น ลดการสัมผัสเงินสดมีบริการเติมเงินผ่านธนาคารกรุงไทยและทรูวอลเล็ตด้วย ให้บริการเจลแอลกอฮอล์กว่า 800 จุด การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในขบวนรถช่วงเวลาเร่งด่วนสถานีปลายทางสายสีน้ำเงิน คือ สถานีเตาปูนและสถานีหลักสอง ส่วนสายสีม่วง คือ สถานีบางใหญ่  และทุกสถานีจะเพิ่มรอบทำความสะอาดทุกแห่งที่สัมผัสทุกครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง  ขณะเดียวกัน การดูแลพนักงานถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะไม่อยากให้เป็นต้นเหตุนำเชื้อไปแพร่เอง จึงต้องตรวจวัดอุณหภูมิก่อนปฏิบัติงาน สวมหน้ากากอนามัย เช่นกัน ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดยืนยันไม่มีการปรับลดพนักงาน แต่ยังต้องเพิ่มจำนวนพนักงาน เข้ามาดูแลผู้โดยสาร

          นายสมบัติ ยอมรับว่า  สถานการณ์การแพร่บาดโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบกับรายได้ เพราะมีการล็อกดาวน์ บางคนทำงานที่บ้าน จำนวนผู้โดยสารก็ลดลง โดยเฉพาะช่วงเดือนเมษายนมีผู้โดยสารมาใช้บริการลดลงมากที่สุด ร้อยละ 70 หรือใช้บริการไม่ถึงแสนคน จากเดิม เดือนมกราคม มีผู้ใช้บริการมากถึงวันละ 4,500,000 คน แต่หลังจากที่มีการผ่อนปรนมาตรการต่างๆในเดือนพฤษภาคมมีผู้โดยสารมาใช้บริการมากขึ้น เฉลี่ยวันละ 160,000 คนต่อวัน ในส่วนของผลกระทบบนทางด่วนเดิมเมื่อเดือนมกราคม มีผู้ใช้ทาง 1,100,000 เที่ยวต่อวัน เดือนเมษายน ลดลงมาถึงร้อยละ 50  เหลือประมาณ 500,000-600,000 เที่ยวต่อวัน แต่เมื่อเข้าสู่เดือนพฤษภาคมเริ่มดีขึ้น มีผู้ใช้ทางด่วนกลับมาร้อยละ 80-85 หรือ ประมาณ1,000,000 เที่ยวต่อวัน  คาดว่า ไตรมาส 3 หรือตั้งแต่เดือนกรกฎาคมการเดินทางจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เพราะคนยังต้องการใช้บริการรถไฟฟ้าอยู่

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0