โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

APHR ผิดหวังศาลรธน.ตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่ จี้จนท.รัฐหยุดคุกคามกลุ่มหนุนปชต.-ฝ่ายค้าน

มติชนสุดสัปดาห์

อัพเดต 21 ก.พ. 2563 เวลา 10.10 น. • เผยแพร่ 21 ก.พ. 2563 เวลา 10.10 น.
ตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่ ศาลรัฐธรรมนูญ1

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 สมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน หรือ เอพีเอชอาร์ ได้ออกแถลงการณ์ด่วน ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบพรรคอนาคตใหม่และตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ เป็นเวลา 10 ปี จากกรณีเงินกู้พรรคว่า สมาชิกรัฐสภาในภูมิภาคเอเชิยตะวันออกเฉียงใต้ต่างแสดงความผิดหวังต่อศาลรัฐธรรมนูญที่มีคําสั่งตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่ โดยเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐยุติการคุกคามต่อกลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยและฝ่ายค้าน

ในวันศุกร์ ศาลประกาศยุบพรรคอนาคตใหม่โดยชี้มูลความผิดว่ามีการฝ่าฝืนในมาตราต่างๆ ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง.ศ.2560 สบเนื่องจากการกู้เงินจากนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ก่อตั้งพรรคเป็นจํานวนเกิน10 ล้านบาทในรอบสิบสองเดือน ศาลยังตัดสินอีกว่ากรรมการบริหารพรรคไม่สามารถมีบทบาททางการเมืองหรือตั้งพรรคการเมืองได้เป็นเวลา 10 ปี

“การลงโทษนี้ดูไม่สมเหตุสมผลโดยสิ้นเชิงต่อการกระทําและเมื่อหันไปมองคดีความจํานวนมากที่ดําเนินต่อพรรคอนาคตใหม่และสมาชกพรรคตั้งแต่พรรคก่อตั้งขึ้น เป็นเรื่องยากที่จะไม่ตั้งคําถามว่าพวกเขาถูกเลือกปฏิบัติเพราะเป็นภัยต่อสถาบันการเมืองที่กําลังกุมอำนาจใช่หรือไม่่” กล่าวโดย Abel Da Silva สมาชกรัฐสภาประจําประเทศติมอร์-เลสเต้ และสมาชกรัฐสภาอาเซิยนเพื่อสิทธิมนุษยชน (ASEAN Parliamentarians for Human Rights –APHR)

ในช่วงเลือกตั้งปีพ.ศ. 2562 พรรคอนาคตใหม่ปรากฏตัวในฐานะพรรคที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสามโดยได้รับเสียงจากประชาชนไปมากกว่า 6 ล้านเสียงและได้ที่นั่งทั้งหมด 80 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร

อย่างไรก็ตามนับแต่นั้นมา สมาชิกพรรคอนาคตใหม่ก็ตกเป็นเป้าโจมตีของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยพรรคถูกดำเนินคดีมากกว่า 30 คดีภายใต้กฎหมายต่างๆ โดยที่กฎหมายจํานวนมากไม่สอดคลองกับกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 นายธนาธรถูกตัดสิทธิการเป็น ส.ส. หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญชี้มูลความผิดในฐานถือหุ้นสื่อในระหว่างที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ในขณะที่พรรคอนาคตใหม่เพิ่งรอดการยุบพรรคมาอย่างหวุดหวิดเมื่อเดือนที่แลวหลังจากที่ศาลตัดส้นว่า หัวหน้าพรรคไม่ได้มีความผิดฐานล้มล้างการปกครอง

ผู้วิพากษ์วิจารณ์การเมืองต่างออกมาบอกว่ารัฐบาลและสถาบันของรัฐมีอคติทางการเมืองจากการจ้องจัด การพรรคอนาคตใหม่

ในขณะเดียวกันกลับเพิกเฉยหรือมองข้ามกรณีและข้อกล่าวหาต่างๆที่คล้ายกันที่มีต่อพรรคที่อยู่ฝ่ายเดียวกันกับกองทัพ

“คําตัดสินนี้ ส่งสัญญาณใหักับประชาชนหกล้านคนว่าเสียงของพวกเขาไม่มีความหมายเลย” Francisca Castro สมาชิกรัฐสภาประเทศฟิลิปปินส์และสมาชิก APHR กล่าวและว่า “การเลือกตั้งปีที่แล้วควรจะช่วยปิดฉากการปกครองโดยทหารในประเทศไทย แต่หลังจากที่คําตัดสนของศาลออกมาวันนี้ไม่มีใครสามารถโดนหลอกใหเชื่อได้ว่ามันเป็นเช่นนั้น”

นอกเหนือไปจากการยุบพรรค สมาชิกพรรคอนาคตใหม่ยังต้องเจอการถูกดําเนินคดีทางกฎหมายอีก
และบางคดีอาจนําไปสูการจองจําสมาชิกพรรค

นายธนาธรและสมาชิกพรรคอีกคนหนึ่งคือ นายไพรัฏฐโชติก์ จันทรขจร ถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืน พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 จากการจัดชุมนุมใจกลางกรุงเทพมหานครในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาเพื่อประท้วงรัฐบาลที่พยายามจะยุบพรรคอนาคตใหม่

เจาหน้าที่รัฐกําลังดําเนินคดีกับทั้งสองคนฐานชุมนุมและใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต

พรรคการเมืองจํานวนหนึ่งถูกตัดสทธิเพราะคําตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ นับตั้งแต่พรรคไทยรักไทยโดนให้สิ้นสภาพพรรคในปี พ.ศ. 2550 หลังจากเกิดเหตุรัฐประหาร ส่วนพรรคที่ใกล้ชิดกับกองทัพและสถาบันการเมืองนั้นหลีกเลียงชะตากรรมเชินเดียวกัน และการกระทําเชนนี้ ก็นําไปสู่ข่อครหาเรื่องอคติทางการเมือง

“พรรคอนาคตใหม่คือพรรคล่าสุดท่ามกลางพรรคการเมืองฝ่ายค้านจํานวนมากที่โดนตัดสิทธิิ เป็นที่ประจักษ์ชัดขึ้นเรื่อยๆ ว่าพรรคใดก็ตามที่ท้าทายอํานาจทางการเมืองของทหารและสถาบันรัฐจะไม่ได้รับการละเว้น” Castro จาก APHR กล่าว

APHR ระบุว่าหากรัฐบาลไทยอยากจะฟื้นฟูความเชื่อมั่นให้กับ “เส้นทางสู้ประชาธิปไตย” ของประเทศ

รัฐบาลควรหยุดดําเนินคดีที่มีเจตนาทางการเมืองกับพรรคอนาคตใหม่และสมาชิกพรรค รวมไปถึงนักปกป้องสทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมที่สนับสนุนประชาธิปไตย รัฐบาลควรตรวจสอบและเปลี่ยนกฎหมายที่กดขี่ให้เทียบเท่ากับมาตรฐานและจารีตสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว APHR ออกข้อเสนอแนะให้กับรัฐบาลเพื่อให้การฟื้นฟูประชาธิปไตย ความยุติธรรม และหลักนิติธรรมในประเทศไทยกลับคืนมาและเพื่อให้แก้ไขรัฐธรรมนูญพ.ศ.2560

การดําเนินคดีกับพรรคอนาคตใหม่สอดคล้องกับทิศทางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรัฐบาลจะสกัดกั้นพรรคดวยการดําเนินคดีอาญาที่กุขึ้นมาต่อสมาชิกพรรค และใช้“อาชญากรรม” เหล่านั้นเป็นขออ้างถอนสภาพการเป็นสมาชิกรัฐสภา โดยกระบวนการนี้เรียกว่า“นิติสงคราม”(lawfare)

รูปแบบการดําเนินคดีเช่นนี้ปรากฏให้เห็นในประเทศกัมพูชา ที่มีการยุบพรรคสงเคราะห์ชาติซึ่งเป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวที่มีประสิทธิภาพ และมีการดําเนินคดีที่กุขึ้นมาต่อสมาชิกพรรคและนักกิจกรรม เช่นเดียวกับประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งมีการตัดสินจําคุกหรือดําเนินคดีอาญาที่น่ากังขาต่อสมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้าน โดยเฉพาะผู้ที่เคยวิจารณ์นโยบายสงครามยาเสพติดของประธานาธิบดีดูแตร์เต้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0