โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

AIS ผุดโครงการ “อุ่นใจไซเบอร์” พบเยาวชนใช้เน็ตสูง 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ฐานเศรษฐกิจ

เผยแพร่ 18 มิ.ย. 2562 เวลา 09.50 น.

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส  เปิดเผยว่า เอไอเอส ได้ผลักดันการสร้างสังคม Digital ผ่านแนวคิด“ถ้าเราทุกคน คือเครือข่าย” ประกาศภารกิจภายใต้ชื่อ “อุ่นใจไซเบอร์”เน้นส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างทักษะทาง Digital (Educator) เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะเพื่อให้ใช้ดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน และป้องกัน (Protector) ความเสี่ยงจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน Digital Solutions

ยกระดับมาตรฐานความรู้เท่าทัน Digital ได้นำ DQ (Digital Quotient) ชุดการเรียนรู้ 360 องศา พัฒนาทักษะและความฉลาดทางดิจิทัล ครบทั้ง 8 ทักษะ ให้กับเด็ก ๆ สร้างภูมิคุ้มกันในการก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์ สามารถเข้ามาใช้งานได้ที่ ais.co.th/dq

 

ด้านการพัฒนาระบบคัดกรอง Online Content เปิดตัว AIS Secure Net (Beta) ป้องกันและคัดกรองเนื้อหาบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บ ข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเปิดให้ผู้สนใจทดลองใช้บริการก่อนใคร จำนวน 10,000 คนแรก ลงทะเบียนวันที่ 25 มิ.ย. 2562

 

ยังร่วมมือกับกูเกิล บริการ Parental Control ผ่านแอปพลิเคชัน Google Family Link มาขยายผลสู่กลุ่มผู้ปกครองคนไทย (ใช้ได้ทุกเครือข่าย) ที่จะสามารถให้คำแนะนำ ดูแลการใช้งานโทรศัพท์ รวมถึงดูแลความปลอดภัยจากพิกัดปัจจุบันของบุตรหลานได้ง่าย ๆ

 

เหตุผลที่เปิดโครงการ เนื่องจากผลงานวิจัยหลากสำนักระบุว่า ในปี 2561เยาวชนไทยอายุระหว่าง 8 – 12 ปี มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึง 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ย

ทั่วโลกถึง 3 ชั่วโมง อีกทั้งยังค้นพบว่าเด็กไทยขาดทักษะในการใช้งานดิจิทัลอย่างชาญฉลาดทำให้เสี่ยงได้รับภัยอันตรายที่แฝงมากับอินเทอร์เน็ตใน 4 รูปแบบ คือ การถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ (Cyberbullying) การเข้าถึงสื่อลามก การติดเกม และการถูกหลอกให้พบกับคนแปลกหน้า

นายสมชัยกล่าวเสริมว่า  อีกปัญหาที่ประเทศไทยกำลังได้รับผลกระทบจากการมาของเทคโนโลยีคือ ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2561 มีรายงานว่า คนไทยทิ้งขยะอันตรายทั้งสิ้น 638,000 ตัน ซึ่งขยะส่วนใหญ่เป็นซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สูงถึง 65% อีกทั้งของเสียอันตรายจากชุมชนเหล่านี้ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีเพียง 83,000 ตันเท่านั้น

 

“ในฐานะผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรม Digital โดยตรง เราจึงมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเป็นแกนกลางเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาความรู้แก่เยาวชนผ่าน Digital Platform ที่จะเป็น Digital Platform ของคนไทยทุกคน ผ่านแนวคิด “ถ้าเราทุกคน คือ เครือข่าย” นั่นเอง”

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0