โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

AI ผสาน Big Data ปฏิรูปธุรกิจสู่ความคล่องตัว

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 05 ส.ค. 2565 เวลา 06.49 น. • เผยแพร่ 09 เม.ย. 2563 เวลา 11.42 น.
21-1 AI ผสาน Big Data

เทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้เปลี่ยนอุตสาหกรรมอย่างมากมาย ทำให้องค์กรจำเป็นต้องปรับตัว ทั้งเพื่อให้มีความคล่องตัวมากขึ้น คู่ไปกับการป้องกันคู่แข่งรายใหม่ ที่อาจเข้ามาพลิกธุรกิจ “เทคโนโลยีดิจิทัล” จึงกลายมาเป็นกลยุทธ์หลักสำหรับหลาย ๆ ภาคอุตสาหกรรม

เวทีเสวนา “Unleash the Power of Digital Transformation-ปลดปล่อยพลังแห่งดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น” โดย Huawei, Omida และ TM Forum ได้แชร์หลายมุมมองที่น่าสนใจ

“มาร์ก นิวแมน” หัวหน้านักวิเคราะห์ของ TM Forum กล่าวว่า ในขณะที่หลายอุตสาหกรรมเริ่มทรานส์ฟอร์เมชั่น แต่ยังพบว่า อุตสาหกรรมโทรคมนาคม ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่จะเปิดทางให้อุตสาหกรรมอื่น ๆ มาใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ยังมีผู้ประกอบการที่ไม่ได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ก่อให้เกิดความท้าทายจากคู่แข่งหน้าใหม่ที่มาพร้อมโมเดลธุรกิจที่นำดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ

AI จับข้อมูลต่อยอด

“แอรอน โบสมัน-พาเทล” รองประธานบริษัทฝ่ายปัญญาประดิษฐ์และประสบการณ์ผู้ใช้ของ TM Forum กล่าวว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จำเป็นอย่างยิ่งในยุคนี้ ยิ่งในธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งในอนาคตระบบเครือข่ายจะมีการใช้บริการและมีข้อมูลมหาศาล หากไม่มี AI ก็จะไม่สามารถหา used case ที่จะเป็นประโยชน์ทางธุรกิจได้ โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ยุค 5G

“แดนนี่ ยัป ก๊ก โฮ” หัวหน้าทีมวิศวกรโซลูชั่นของหัวเว่ย เทคโนโลยี กล่าวเสริมว่า บริษัทโทรคมนาคมสามารถสร้าง “digital intelligence platform”

โดยใช้ AI รวมรวมข้อมูล, จัดการข้อมูล, วิเคราะห์ข้อมูล และสร้างโมเดลเพื่อการประมวลผลให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจได้

อุตสาหกรรมเทเลคอมเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการสร้างข้อมูลจำนวนมาก ดังนั้น หากมีแพลตฟอร์มดังกล่าวที่สามารถรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้น และคัดเลือกข้อมูลที่เป็น best sample แล้วนำไปวิเคราะห์เพื่อวางแผนธุรกิจ หรือ optimization การดำเนินงานได้ ก็จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง”

ตัวอย่าง เช่น การนำแพลตฟอร์มนี้ มาใช้กับการทำ traffic forecast โดยเริ่มต้นตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลการใช้งานในอดีตของผู้ใช้งานเครือข่าย จากนั้นก็เลือก best sample แล้วนำไปเข้าโมเดลเพื่อคาดการณ์ traffic ในอนาคต ได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ จะทำให้สามารถวางแผนเพื่อตอบสนองผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ด้วยแพลตฟอร์มที่สามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดของธุรกิจโทรคมนาคม จะทำให้สามารถรู้ได้ว่าอุปกรณ์หรือเครือข่ายมีความพร้อมมากแค่ไหน เช่น transport network หรือเสาสัญญาณ ซึ่งหากรู้ข้อมูลความพร้อมของอุปกรณ์พวกนี้แล้ว จะสามารถทำ optimization การดำเนินงานได้ โดยการเลือกส่ง bit ไปยังเส้นทางเครือข่ายที่จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ความท้าทายสู่ความคล่องตัว

“แดนนี่ ยัป ก๊ก โฮ” ยังระบุอีกว่า big data ถือเป็นความท้าทายที่สำคัญ ในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นเพื่อก่อให้เกิดความคล่องตัวทางธุรกิจ การจะใช้ประโยชน์จาก big data ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การจัดเก็บข้อมูล (data storage) เป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นรากฐานในการดึงข้อมูลไปใช้ แม้ว่าต้นทุนของการสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลจะลดลงอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังเป็นราคาที่สูงอยู่ดี

“กล่าวได้ว่า ต้นทุนเป็น trade off ของการใช้ big data นอกจากนี้อีกความท้าทายของ big data คือ การมีข้อมูลจำนวนมหาศาลในระบบ ในขณะที่ข้อมูลเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ตามแต่ละกรณี

ทั้งนี้ การมีข้อมูลในระบบจำนวนมากทำให้เกิดปัญหาของการต้องทำการสุ่มตัวอย่างจำนวนหลายครั้งเพื่อหาชุดของ sample ที่เหมาะสมที่สุดที่จะนำมาวิเคราะห์ ซึ่งหากมีประเด็นที่ต้องการนำข้อมูลมาวิเคราะห์มากเท่าไหร่ อัตราการทำการสุ่มตัวอย่างก็จะมากขึ้นเท่านั้น”

กลยุทธ์ “ความสอดคล้อง”

ด้าน “เจมส์ ครอว์ชอว์” นักวิเคราะห์อาวุโสของ Omdia (กลุ่มบริษัท Ovum, Infonetics และ Heavy Reading) กล่าวว่า ความสอดคล้องกัน (alignment) ของกลยุทธ์ การวางแผน และการดำเนินการ ของแต่ละหน่วยงานซึ่งอยู่ภายใต้องค์กรเดียวกันเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสอดคล้องของการทำการตลาด และการขาย แต่ปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ ยังขาดความสอดคล้องเหล่านี้ ยิ่งในองค์กรใหญ่ ยิ่งเห็นการขาดความสอดคล้องที่มากขึ้น อาทิ ฝ่ายขายก็ยังถูกแบ่งออกเป็นทีมต่าง ๆ เช่น ทีมขายออนไลน์ หรือทีมขายออฟไลน์ ซึ่งมีการดำเนินการที่ขาดความสอดคล้องกัน

“การมีระบบการแชร์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพภายในหน่วยงานจะช่วยลดปัญหาตรงนี้ลงได้ ซึ่งการจะมีระบบ data sharing ที่ดีก็จำเป็นต้องปรับองค์กรให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น”

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0