โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

9 เหตุผลที่เราไม่ควร “เที่ยวสวนสัตว์”

Motherhood.co.th

เผยแพร่ 13 ต.ค. 2562 เวลา 04.00 น. • Motherhood.co.th Blog
9 เหตุผลที่เราไม่ควร “เที่ยวสวนสัตว์”

9 เหตุผลที่เราไม่ควร "เที่ยวสวนสัตว์"

เด็กๆส่วนมากจะรักสัตว์และมักรบเร้าให้คุณพ่อคุณแม่พา "เที่ยวสวนสัตว์" อยู่บ่อยครั้ง และในสายตาผู้ใหญ่ การไปสวนสัตว์ถือว่าเป็นกิจกรรมสำหรับเด็กที่เป็นแก่นสาร การได้ไปในสถานที่ที่มีประโยชน์ ให้เด็กได้มีความสนุกและได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกัน แต่เชื่อหรือไม่ว่าในโลกตะวันตกมีกระแสต่อต้านการสวนสัตว์ การไปเที่ยวสวนสัตว์ รวมถึงการโชว์จากสัตว์ในรูปแบบต่างๆ เช่น ละครสัตว์ หรือโชว์มาทาดอร์ต้อนวัวกระทิง มาสักพักใหญ่แล้ว และคนไทยบางกลุ่มก็เริ่มมีความเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกันด้วย เราลองมาดูกันดีกว่าค่ะ ว่ามันมีเหตุผลอะไรที่คนกลุ่มนี้ถึงไม่สนับสนุนการไปสวนสัตว์

สวนสัตว์ = ภาพลวงตาของการอนุรักษ์

นักสิทธิสัตว์ทั่วโลกต่างกระตุ้นให้ผู้คนลืมตาดูความจริงของการปฎิบัติต่อคุณภาพชีวิตสัตว์ที่ถูกคัดเลือกให้จองจำอยู่ในสวนสัตว์ ที่ผ่านมาเราใช้คำว่า "อนุรักษ์" ถูกต้องแค่ไหน การไปสวนสัตว์ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับชีวิตพวกมันสมกับคำว่าอนุรักษ์จริงหรือ การจัดแสดงสัตว์ที่ต้องแลกมาด้วยการถูกจองจำของเผ่าพันธุ์อื่นเพื่อคำว่า "เรียนรู้ธรรมชาติ" หรือเพื่อการเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับคนในเมืองที่ห่างไกลธรรมชาติ และนี่คือเหตุผลว่าทำไมเราถึงไม่ควรให้การสนับสนุนสวนสัตว์

สัตว์หลายตัวในสวนสัตว์ทรมานเพราะถูกกักขัง
สัตว์หลายตัวในสวนสัตว์ทรมานเพราะถูกกักขัง

1. สัตว์ต้องทนทุกข์ทรมานในการถูกกักขัง

สำหรับสัตว์ที่ถูกสร้างมาให้ใช้ชีวิตอย่างอิสระ การถูกกักขังก็เหมือนกำลังอยู่ในนรก กรงขังในสวนสัตว์ที่อังกฤษและสวนสัตว์ซาฟารีนั้น โดยเฉลี่ยแล้วจะมีขนาดเล็กกว่าพื้นที่ที่เป็นบ้านตามธรรมชาติขั้นต่ำ 100 เท่าเลยทีเดียว สำหรับสัตว์ในถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ

ในสวนสัตว์ ทุกการตัดสินใจที่เกี่ยวกับสัตว์ รวมถึงสิ่งที่จะกิน เวลาเข้านอน และสัตว์ตัวที่เลือกเป็นเพื่อน จะถูกควบคุมโดยมนุษย์ พวกสัตว์ไม่สามารถเดินเล่นเองในระยะทางไกลหรือทำสิ่งอื่นๆอีกมากมายที่เป็นธรรมชาติและสำคัญต่อพวกมันเอง บ่อยครั้งที่สัตว์ไม่ได้รับอนุญาตให้อยู่กับครอบครัว เนื่องจากลูกสัตว์มักถูกถ่ายโอนไปยังสวนสัตว์อื่นๆ

ความเครียดในชีวิตประจำวันและการขาดการกระตุ้นมักจะนำไปสู่พฤติกรรมที่ผิดปกติและทำลายตนเอง เช่น การเดินไปเดินมาเป็นวงกลม หรือการทำร้ายตัวเอที่เรียกว่า "Zoochosis" ซึ่งพฤติกรรมประเภทนี้แทบจะไม่เคยได้ยินมาก่อนในสัตว์ป่า บางครั้งผู้ดูแลสัตว์ก็ให้ยาแก้ซึมเศร้าหรือยาระงับประสาทแก่สัตว์เพื่อปกปิดความทุกข์ของพวกมัน

มีสวนสัตว์หลายแห่งที่ดูแลสัตว์ไม่ดี ไม่ผ่านเกณฑ์
มีสวนสัตว์หลายแห่งที่ดูแลสัตว์ไม่ดี ไม่ผ่านเกณฑ์

2. สวนสัตว์หลายแห่งมีมาตรฐานการดูแลที่ไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ

แม้ในสถานการณ์ที่ดีที่สุด มันก็ยังเป็นไปไม่ได้ที่สวนสัตว์จะสามารถตอบสนองความต้องการด้านสิ่งแวดล้อม โภชนาการ ภูมิอากาศ และความต้องการทางสังคมของสายพันธุ์ต่างๆ ภายใต้ที่ที่พวกมันถูกกักขังไว้ได้ ยิ่งไปกว่านั้นสวนสัตว์บางที่ก็ล้มเหลวในการให้การดูแลขั้นพื้นฐาน สวนสัตว์ซาฟารีเซาท์เลคส์ในเมืองคัมเบรียได้ตกเป็นข่าวเมื่อปีที่แล้ว เมื่อมีการค้นพบว่ามีสัตว์เกือบ 500 ตัวตายที่นั่นภายในสามปีนับจากสาเหตุของการขาดสารอาหาร อุณหภูมิที่ต่ำเกินไป และขาดการดูแลจากสัตวแพทย์ เต่าถูกไฟฟ้าดูดโดยรั้วลวดหนามของสวนสัตว์ ขณะที่ลีเมอร์และนกวิ่งผ่านรถไฟของเล่นที่วิ่งวนไปรอบที่อยู่ของพวกมัน

จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยบริสตอลพบว่า สวนสัตว์ในอังกฤษมากกว่าสามในสี่นั้นล้มเหลวในการปฏิบัติตามมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ขั้นต่ำทั้งหมด

© Jo-Anne McArthur / Zoocheck
© Jo-Anne McArthur / Zoocheck

3. สัตว์ถูกนำมาจากบ้านของพวกมัน

สวนสัตว์ยังคงลักพาตัวสัตว์จากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติเพื่อนำมาจัดแสดงให้พวกเราดู เมื่อไม่นานมานี้ Borth Wild Animal Kingdom ในเวลส์ เป็นผู้รับผิดชอบการตายของแมวป่าสองตัวที่ถูกพรากไปจากถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ และอาศัยอยู่ในกรงที่เจ้าของสวนสัตว์ยอมรับว่า "ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์" แมวป่าตัวหนึ่งถูกฆ่าตายหลังจากหนีออกมา ในขณะที่อีกตัวหนึ่งถูกรัดคอจนตายในขณะที่ถูกย้ายไปยังกรงอื่น เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ลูกช้างถูกจับในธรรมชาติและถูกพรากไปจากแม่และฝูงของพวกมัน ก่อนที่จะถูกส่งไปยังประเทศจีนเพื่อใช้ชีวิตที่ถูกกักขังในสวนสัตว์

ผลจากพื้นที่ อาหาร น้ำ และการดูแลจากสัตวแพทย์ ที่ไม่เพียงพอ สัตว์ในสวนสัตว์มักจะประสบปัญหาสุขภาพที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอ และส่วนใหญ่ตายก่อนกำหนด

© Jo-Anne McArthur / Born Free Foundation
© Jo-Anne McArthur / Born Free Foundation

4. 'การอนุรักษ์' คือการควบคุม

สัตว์ส่วนใหญ่ที่อยู่ในสวนสัตว์ไม่ใช่ใกล้สูญพันธุ์ ในขณะที่มีความเข้าใจผิดว่าสวนสัตว์นำสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์กลับคืนสู่ที่อยู่อาศัยดั้งเดิมของพวกมัน แต่ในความเป็นจริงสวนสัตว์ส่วนใหญ่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับการสงวนพันธุ์สัตว์ ซึ่งหมายความว่าสัตว์สายพันธุ์ที่ถูกกักขังที่ต้องเผชิญกับการสูญพันธุ์อย่าง ช้าง หมีขั้วโลก กอริลล่า เสือ ลิงชิมแปนซี และหมีแพนด้า แทบจะไม่เคยถูกปล่อยสู่สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติเพื่อช่วยให้ประชากรของพวกมันเพิ่มจำนวนตามธรรมชาติ

กรงขังไม่ช่วยป้องกันการสูญพันธุ์
กรงขังไม่ช่วยป้องกันการสูญพันธุ์

5. กรงที่ขังสัตว์ทุกที่ในโลกไม่ช่วยยับยั้งสัตว์จากการสูญพันธุ์

ในขณะที่สวนสัตว์ใช้เงินหลายล้านในการรักษาสัตว์ไว้ ถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติกลับถูกทำลายและสัตว์ถูกฆ่า เนื่องจากมีเงินทุนไม่เพียงพอสำหรับการป้องกัน วิธีเดียวที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนในการอนุรักษ์สัตว์ คือการสนับสนุนแผนการที่พุ่งเป้าหมายไปยังต้นเหตุของการสูญพันธุ์ของสัตว์ นั่นคือการทำลายถิ่นที่อยู่ของพวกมัน

© Jo-Anne McArthur / Born Free Foundation
© Jo-Anne McArthur / Born Free Foundation

6. สัตว์ที่มีสุขภาพดีถูกฆ่า

สวนสัตว์เลือกที่จะผสมพันธุ์สัตว์เพราะผู้คนชอบที่จะเห็นลูกสัตว์ โปรแกรมการปรับปรุงพันธุ์ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์อย่างแท้จริง และภายใต้หน้ากากของ "การอนุรักษ์สัตว์ป่า" สวนสัตว์หลายแห่งกำจัดสัตว์ "ส่วนเกิน" ไม่ว่าจะโดยการฆ่าหรือขายให้กับตัวแทนจำหน่ายสัตว์ที่ทำผิดจรรยาบรรณ ยีราฟชื่อมาริอุสถูกฆ่าตายโดยสวนสัตว์โคเปนเฮเกน และเลี้ยงมันให้กับสิงโตใน เพราะถือว่ามันไร้ประโยชน์สำหรับการผสมพันธุ์ ในสวนสัตว์แห่งหนึ่งของอังกฤษ มีซากสัตว์ที่ถูกเชือด รวมทั้งลิงบาบูนและกวางที่ใกล้สูญพันธุ์ ถูกปล่อยให้เน่าอยู่ข้างถังขยะ

กว่าจะโชว์ได้ ช้างตัวนี้ต้องผ่านอะไรมาบ้าง ใครจะรู้
กว่าจะโชว์ได้ ช้างตัวนี้ต้องผ่านอะไรมาบ้าง ใครจะรู้

7. สัตว์ได้รับการฝึกฝนให้แสดง

สัตว์ไม่ใช่นักแสดงหรือของโชว์ที่จะให้คนมาจ้องมอง แต่ในสวนสัตว์หลายแห่งพวกมันได้รับการฝึกฝนให้แสดง ราวกับว่าพวกมันอยู่ในคณะละครสัตว์ ในปีนี้ หมีแพนด้าต้องวาดรูปผ่านซี่กรงขังซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสวนสัตว์ที่ออสเตรีย และจากนั้นภาพวาดจะถูกขายออนไลน์ ในสวนสัตว์ที่อลาบามา แพนด้าแดงก็ต้องทำเช่นเดียวกันเพื่อพยายามดึงดูดผู้มาเยือน ย้อนกลับไปในปี 2010 ช้างที่ Woburn Safari Park ในอังกฤษ ถูกบังคับให้เชื่อฟังคำสั่งของผู้ดูแลผ่านการช็อตด้วยไฟฟ้าแรงสูง เป็นที่น่าหงุดหงิดใจมาก เมื่อพบว่าสัตว์ยังคงเติบโตในสวนสัตว์ที่อังกฤษเพื่อถูกจำหน่ายให้กับคณะละครสัตว์จากประเทศอื่น

© Jo-Anne McArthur / Born Free Foundation
© Jo-Anne McArthur / Born Free Foundation

8. เด็กๆกำลังได้รับบทเรียนที่ผิด

การศึกษาวิจัยในเด็กอายุระหว่าง 7 ถึง 15 ปีที่ไปเยี่ยมสวนสัตว์ลอนดอนพบว่า ส่วนใหญ่ของพวกเขารวมถึงผู้ที่ไปทัวร์สวนสัตว์เพื่อการศึกษา - ไม่มีผลการศึกษาในเชิงบวก ในหลายกรณีการไปทัวน์สวนสัตว์นั้นมีผลกระทบทางลบต่อความเข้าใจในสัตว์และถิ่นที่อยู่ของพวกมัน

เพื่อเปรียบเทียบให้ดูสมเหตุสมผล เราจะไม่ไปที่คุกเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับสังคมมนุษย์ทั่วไป ดังนั้น ทำไมเราถึงจะไปเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์โดยการสังเกตพวกมันในกรงด้วยเล่า

ในท้ายที่สุด สวนสัตว์เป็นเพียงธุรกิจที่มุ่งเน้นไปที่ความบันเทิงของผู้คนและสร้างรายได้ - ไม่ใช่สถานที่ให้ความรู้ พวกเขาทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่ามันเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ที่จะเข้าไปยุ่งกับสัตว์ ขังพวกมันไว้ในกรงที่น่าหดหู่และคับแคบ และไปควบคุมชีวิตของพวกมัน

หนูน้อยจะรู้ไหมว่าลิงอาจกำลังป่วยทางใจ
หนูน้อยจะรู้ไหมว่าลิงอาจกำลังป่วยทางใจ

9. กฎหมายคุ้มครองสัตว์ยังขาดแคลน

สัตว์บางสายพันธุ์ เช่น ปลาวาฬออร์กา หรือช้างที่เดินทางระยะไกลในป่า ไม่เหมาะกับการถูกจองจำในรูปแบบใดๆทั้งสิ้น กฎหมายและข้อบังคับใดๆที่มีอยู่ในตอนนี้นั้น มีส่วนน้อยมากที่จะหยุดยั้งความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นจากการจำกัดอิสรภาพของสัตว์

สวนสัตว์ที่ดีจริงๆมีบ้างไหม?

สวนสัตว์ที่มีมาตรฐานไม่ใช่มีแค่อาหารและที่นอนเท่านั้น ผู้ดูแลต้องเข้าใจพฤติกรรม วิถีความเป็นอยู่ สภาพสิ่งแวดล้อมของสัตว์นั้นๆในที่อยู่ดั้งเดิมของพวกมัน พฤติกรรมทางสายพันธุ์ที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง การออกแบบที่อยู่ในสวนสัตว์นั้นควรเอื้อให้สัตว์สามารถใช้ชีวิตแบบในธรรมชาติแท้จริงของมันให้มากเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้ปลอดจากความเครียดต่างและความเบื่อหน่าย จนเกิดพฤติกรรมทำซ้ำซากซึ่งถือเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตของสัตว์ ที่จัดเป็นภัยคุกคามของชีวิตสัตว์ในสวนสัตว์ส่วนมากในทุกวันนี้

การรักษาพันธุ์สัตว์จะได้ผล หากสัตว์ได้อยู่ในถิ่นของมัน
การรักษาพันธุ์สัตว์จะได้ผล หากสัตว์ได้อยู่ในถิ่นของมัน

เราทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์?

เราจะสามารถปกป้องสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ได้ หากเรารักษาที่อยู่อาศัยของพวกมันและหยุดสัตว์ไม่ให้ถูกตามล่าและฆ่า ไม่ใช่โดยการเพาะพันธุ์พวกมันไว้ในกรง แทนที่จะสนับสนุนสวนสัตว์เราควรให้การสนับสนุนกลุ่มต่างๆ เช่น สมาคมไพรเมตสากล (International Primatological Society) และองค์กรอื่นๆ ที่ทำงานเพื่ออนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัย การนำสัตว์ไปเก็บรวบรวมไว้ในที่เดียวกันไม่ใช่วิธีที่จะช่วยพวกมันให้พ้นจากการสูญพันธุ์ ความรอดของพวกสัตว์อยู่ที่การปกป้องบ้านของพวกมัน แทนที่จะไปเที่ยวสวนสัตว์ เราสามารถช่วยเหลือสัตว์ได้โดยการสนับสนุนองค์กรที่ทำงานเพื่อปกป้องพวกมันจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ

เราควรช่วยเขตรักษาพันธุ์ที่ไม่แสวงหากำไร ที่ให้การช่วยเหลือและดูแลสัตว์แปลกที่ไม่สามารถปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ และไม่นำไปขายหรือเพาะพันธุ์เพื่อขาย

หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้เด็กๆเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ ก็ให้ดูสารคดีธรรมชาติที่แสดงให้เห็นว่าสัตว์ประพฤติตนอย่างไรเมื่อพวกมันอยู่ในที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0