โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

8 อาการ ‘ฮีทสโตรก’ อันตรายถึงตาย

The Bangkok Insight

อัพเดต 20 เม.ย. 2562 เวลา 10.13 น. • เผยแพร่ 20 เม.ย. 2562 เวลา 10.08 น. • The Bangkok Insight
8 อาการ ‘ฮีทสโตรก’ อันตรายถึงตาย

อากาศร้อนขึ้นทุกวัน พยากรณ์อากาศ 12.00 น. วันนี้ (20 เม.ย.) จนถึงเวลา 12.00 น.ของวันพรุ่งนี้ ภาคเหนืออุณหภูมิสูงสุด 40-44 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  39-41 องศาเซลเซียส ภาคกลาง 39-42 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออก 34-40 องศาเซลเซียส ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) 34-38 องศาเซลเซียส ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) 34-37 องศาเซลเซียส กรุงเทพฯ และปริมณฑล 36-40 องศาเซลเซียส

ส่วนกรุงเทพต้องรอลุ้นวันที่ 27 เมษายนนี้ว่า ดวงอาทิตย์ที่จะโคจรมาตั้งฉากกับประเทศไทย เวลา 12.16 น. ในพื้นที่กรุงเทพฯ จะเป็นวันทำลายสถิติอุณหภูมิสูงสุดหรือไม่

อุณหภูมิสูงอย่างนี้ ก็ต้องออกโรงเตือนกันบ่อยๆ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน ให้ระวังโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก (Heat Stroke) เพราะอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

ฮีทสโตรก มีลักษณะอย่างไร ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า เป็นกลุ่มอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง เกิดจากการอยู่ หรือออกกำลังกาย หรือทำงานในที่อากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน จนร่างกายไม่สามารถปรับตัว หรือควบคุมระดับความร้อนในร่างกายได้ มีผลกับการทำงานของระบบหัวใจ และหลอดเลือด รวมทั้งระบบประสาท ส่งผลทำให้เสียชีวิตจากอวัยวะต่างๆทำงานล้มเหลวได้

8 สัญญาณ ของผู้ที่ถูกฮีทสโตรก ได้แก่

  • อ่อนเพลีย
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ไม่มีเหงื่อออก
  • รู้สึกกระหายน้ำมาก
  • ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียล
  • ปวดศีรษะ
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เพ้อ ชัก มึนงง หน้ามืด

อาการเหล่านี้หากไม่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที อาจทำให้หมดสติ และเสียชีวิตได้

หากพบผู้มีอาการฮีทสโตรกขอให้ผู้พบเห็นปฏิบัติ ดังนี้

  • รีบนำเข้าที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก
  • ให้นอนราบยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียน
  • ถอดเสื้อผ้าให้เหลือน้อยชิ้น คลายชุดชั้นใน
  • ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น น้ำแข็งประคบตามซอกคอ หน้าผาก รักแร้ ขาหนีบร่วมกับใช้พัดลมเป่า เพื่อระบายความร้อนและลดอุณหภูมิ
  • ร่างกายให้ต่ำลงอย่างรวดเร็วที่สุด
  • หากไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ และนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว หรือโทรสายด่วน 1669

แต่การป้องกันตัวเอง หลีกเลี่ยงฮีทสโตรกไว้ก่อนย่อมดีกว่า ข้อแนะนำสำหรับป้องกัน ได้แก่

  • พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดจัด
  • ควรอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • ไม่ออกกำลังกาย หรือทำงานกลางแดดเป็นเวลานาน
  • สวมเสื้อผ้าที่โปร่งสบาย สีอ่อน ระบายอากาศได้ดี ไม่รัดรูป
  • สวมแว่นกันแดด กางร่ม ทาโลชั่น
  • ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ จนรู้สึกกระหาย หรือริมฝีปากแห้ง ควรดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ก่อนออกบ้านในวันที่อากาศร้อน
  • เลือกออกกำลังกายการช่วงเช้าหรือเย็น
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ดูแลไม่ให้เด็ก ผู้สูงอายุ อยู่กลางแดด หรือในรถที่จอดตากแดด
  • ผู้มีโรคเรื้อรังให้รับประทานยาตามแพทย์สั่ง

 

ส่วนกลุ่มเสี่ยงที่ต้องดูแล และป้องกันฮีทสโตรกเป็นพิเศษ มี 6 กลุ่มเสี่ยง ประกอบด้วย

  • ผู้ที่ทำงาน หรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่น ออกกำลังกาย คนงานก่อสร้าง เกษตรกร
  • เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง
  • คนอ้วน
  • ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

หากผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง เลี่ยงไม่ได้ที่ต้องอยู่กลางแดดจ้าเป็นเวลานานให้ปฏิบ้ติ ดังนี้

  • ดื่มน้ำชั่วโมงละ 1 ลิตร
  • สังเกตหากตัวร้อนจัด แต่ไม่มีเหงื่อ อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว ให้รีบเข้าที่ร่มทันที
  • หลังเข้าที่ร่ม ให้ระบายความร้อนในร่างกาย โดยใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว แช่ตัวในน้ำ ฉีดพรมน้ำแล้วเป่าด้วยลม ประคบน้ำแข็ง จิบน้ำบ่อยๆ
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย

ส่วนกรณีการเสียชีวิตของชายจังหวัดสุพรรณบุรี ที่บ่นอากาศร้อน และหักดิบหยุดดื่มเหล้า นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบโรค อธิบายว่า กรณีดังกล่าว กรมควบคุมโรคขอให้ข้อมูลเบื้องต้นว่า การหักดิบหยุดดื่มเหล้ากะทันหัน ไม่ได้ทำให้เสียชีวิตแต่อย่างใด แต่อาจเกิดจากโรคแทรกซ้อนที่เป็นอยู่ ส่วนในรายที่ติดเหล้าขั้นรุนแรง ร่างกายอาจปรับสภาพไม่ทัน หากจะเลิกดื่ม ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน เพื่อวางแผนในการเลิกดื่มเหล้า

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0