โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

7 สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายหากคุณหลับไปทั้งๆที่เมา

issue247.com

อัพเดต 24 ก.ย 2561 เวลา 05.55 น. • เผยแพร่ 24 ก.ย 2561 เวลา 00.00 น.

เราส่วนใหญ่คงเคยทำสิ่งที่น่าเศร้า เช่น กระดกเหล้าไม่กี่แก้วไปจนถึงไม่กี่ขวดในงานวันเกิดเพื่อนและหลับไปทั้งๆที่เมามาย หากคุณมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่าร้อยละ.05 คุณจะรู้สึกถึงผลกระทบของการดื่มหนัก แม้ว่าการดื่มแอลกอฮอล์จะช่วยให้คุณหลับเร็วกว่าปกติ แต่คุณภาพของการนอนหลับจะไม่ต่อเนื่องและไม่เต็มที่ซึ่งคุณสามารถกล่าวโทษได้ว่าแอลกอฮอล์คือตัวการที่ทำให้เคมีในร่างกายรวนเรไปหมด

ผลเสียของการดื่มแอลกอฮอล์มีตั้งแต่ทำให้วงจร REM เปลี่ยนแปลงไปจนถึงทำให้คุณทรมานจากการนอนเหงื่อท่วมในตอนกลางคืน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทุกอย่างตั้งแต่ความจำ สมาธิ การเคลื่อนไหวของร่างกาย พฤติกรรม และอารมณ์ ที่สำคัญอาการเหล่านี้จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อมีอาการเมาค้าง ดังนั้นก่อนที่จะสั่งเหล้าอีกแก้ว กรุณาพิจารณาสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายของคุณหากต้องไปนอนเมาปลิ้นอยู่บนเตียง

 

1. ตกอยู่ในภาวะหลับลึกอย่างรวดเร็ว (เร็วเกินไปในความเป็นจริง)

การศึกษาพบว่าอันที่จริงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้คุณหลับเร็ว แต่บางคนก็แย้งว่าเหล้ามีประโยชน์แค่ช่วงแรกของการนอนหลับเท่านั้น ส่วนครึ่งหลังจะมีแต่ผลเสีย ขณะที่ผลกระทบระยะสั้นและฉับพลันของแอลกอฮอล์คือช่วงเวลาที่ง่วงนอนจะลดลง การดื่มแอลกอฮอล์แค่ไม่กี่แก้วแล้วไปนอนจะทำให้คุณข้ามขั้นตอนแรกของการนอนหลับซึ่งเป็นช่วงที่คุณรู้สึกตัวได้ง่ายไป ดังนั้นในช่วง 1-2 ชั่วโมงแรกคุณจะเข้าสู่ภาวะหลับลึกอย่างรวดเร็วและยากมากที่จะมีใครปลุกคุณให้ตื่นได้ คุณอาจจะมีวงจร REM น้อยลงในช่วงเวลานี้

 

2. อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น

ขณะที่คุณกำลังหลับอยู่ อัตราการเต้นของหัวใจรวมถึงระบบประสาทจะทำงานหนักขึ้น ซึ่งโดยปกติอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นหลังจากช่วง REM ไปแล้ว ทว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะไปรบกวนกระบวนการตามธรรมชาติเหล่านี้ทำให้คุณรู้สึกเหมือนไม่ได้นอน และในตอนเช้าก็จะปรากฎรอยคล้ำรอบดวงตาด้วยความภาคภูมิใจ

 

3. รบกวนการนอนหลับในช่วง REM

แม้ว่าการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อยอาจไม่ส่งผลกระทบต่อ REM ระยะสั้นในช่วงแรกของการนอนหลับ แต่มันก็ไปชะลอและรบกวนวงจร REM ได้ในภายหลัง โดยทั่วไปในแต่ละคืนคุณจะผ่านวงจร REM ประมาณ 5-7 รอบ แต่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะลดให้เหลือแค่ 1-2 รอบเท่านั้น เป็นที่รู้กันดีว่าวงจร REM จะทำให้ร่างกายเป็นอัมพาตชั่วคราวและมีความฝันที่ชัดเจน (เรามักใช้เวลามากกว่า 2 ชั่วโมงในการฝันไม่ว่าจะจำได้หรือไม่ก็ตาม)

REM เป็นช่วงการนอนหลับเพื่อฟื้นฟูร่างกายและทำให้สมองของคุณประมวลความจำ ความเครียด และอารมณ์ในแต่ละวัน หากคุณไม่ได้นอนหลับในช่วง REM อย่างเพียงพอและดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน คุณจะตื่นขึ้นมาในตอนเช้าด้วยความมึนงงและครั้งต่อไปคุณก็จะชดเชยโดยการนอนให้นานขึ้น

 

4. เหงื่อแตกและต้องเข้าห้องน้ำ

หากคุณดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน คุณอาจสังเกตว่าตัวเองตื่นบ่อยและต้องการเข้าห้องน้ำบวกกับอาการกระหายน้ำอย่างรุนแรง นั่นเป็นเพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ต่างจากยาขับปัสสาวะและจะกระตุ้นให้ร่างกายขับของเหลวที่ไปขัดขวางฮอร์โมนในการกักเก็บน้ำไว้ นอกจากนี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังสามารถขยายหลอดเลือดใต้ผิวหนังและเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณเหงื่อออกมากกว่าปกติด้วย

 

5. กรน

บางคนอาจจะกรนเสียงดังทันทีที่หลับเนื่องจากกล้ามเนื้อในร่างกายรวมถึงในลำคอของคุณมีการผ่อนคลาย นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังอาจทำให้คุณเดินละเมอ ละเมอพูด และความจำบกพร่องอีกด้วย

 

6. นอนหลับกระสับกระส่าย

เมื่อผ่านช่วงแรกของการนอนหลับไปแล้วจะยิ่งทำให้คุณมีความรู้สึกไวขึ้นกับการตื่นขึ้นมาในช่วงระหว่างตี 4-6 โมงเช้า การนอนหลับลึกหมายถึงร่างกายจะซ่อมแซมตัวเอง ขณะที่การดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้กระบวนการนี้ยุ่งเหยิง และเมื่อแอลกอฮอล์ค่อยๆหมดฤทธิ์ ร่างกายของคุณก็จะหลุดพ้นจากภาวะหลับลึกและเข้าสู่การนอนในช่วง REM ซึ่งทำให้รู้สึกตัวง่าย เนื่องจากร่างกายของคุณต้องจัดการกับแอลกอฮอล์จึงทำให้คุณรู้สึกกระสับกระส่ายและตื่นบ่อย

 

7. ตื่นขึ้นมาอย่างอ่อนล้า (และอาจเมาค้าง)

การตื่นขึ้นมาแบบเหงื่อโทรมกาย รู้สึกมึนงงและหดหู่เล็กน้อยไม่ใช่เรื่องสนุกเลย อ้อ..แล้วก็ปวดหัวด้วยนะ แหวะ!

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0