โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

7 ข้อดีของการทำท่าแพลงก์ทุกวัน

issue247.com

อัพเดต 01 มี.ค. 2562 เวลา 03.31 น. • เผยแพร่ 02 มี.ค. 2562 เวลา 00.00 น.

แพลงก์เป็นหนึ่งในท่าออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดซึ่งคุณสามารถทำได้ที่บ้าน ท่านี้ไม่ต้องใช้เวลาหรือความพยายามมากนักแถมยังเห็นผลเร็วอีกด้วย และนี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นหากคุณออกกำลังกายด้วยท่านี้เป็นประจำ

 

1. กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวแข็งแรง

ท่าแพลงก์จะเกี่ยวข้องกับกลุ่มกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวทั้งหมดซึ่งประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อพยุงอวัยวะภายในช่องท้อง กล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง กล้ามเนื้อด้านข้างลำตัว และกล้ามเนื้อก้น การทำท่าแพลงก์จะทำให้ความสามารถในการยกของหนักเพิ่มขึ้น สร้างกล้ามเนื้อรอบเอว และเสริมกำลังรองรับให้กับแผ่นหลัง

 

2. ความเสี่ยงในการบาดเจ็บที่หลังและกระดูกสันหลังลดลง

ท่าแพลงก์คือท่าออกกำลังกายที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกล้ามเนื้อโดยที่ไม่ทำให้เกิดความตึงเครียดบริเวณกระดูกสันหลัง การทำท่านี้เป็นประจำจะช่วยลดอาการปวดหลังและเสริมกำลังรองรับให้กับกระดูกสันหลังโดยเฉพาะส่วนบน

 

3. กระตุ้นการทำงานของกระบวนการเผาผลาญ

การทำท่าแพลงก์ทุกวันสามารถเผาผลาญแคลอรี่ได้มากกว่าการออกกำลังกายทั่วไป ท่าแพลงก์จะมีประโยชน์โดยเฉพาะกับผู้ที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง การออกกำลังกายที่บ้านทุกวันๆละ 10 นาทีก่อนหรือหลังทำงานจะทำให้ระดับการทำงานของกระบวนการเผาผลาญสูงขึ้นแม้กระทั่งในช่วงเวลานอนหลับ

 

4. ปรับบุคลิกให้ดีขึ้น

คุณจะเริ่มยืดตัวตรงได้ง่ายขึ้นเนื่องจากท่าดังกล่าวจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับกล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อคอ กล้ามเนื้อไหล่ และกล้ามเนื้อหน้าอก แล้วคุณจะไม่ยืนหรือนั่งหลังงออีกต่อไป

 

5. พัฒนาการทำงานประสานร่วมกันของร่างกาย

คุณเคยลองยืนขาเดียวไหม? แล้วเกิดอะไรขึ้น? ถ้าเซไปเซมาก็เป็นไปได้ว่ากล้ามเนื้อหน้าท้องของคุณยังไม่แข็งแรงพอ แต่การทำท่าไซด์แพลงก์ (ท่าบริหารกล้ามเนื้อท้องด้านข้าง) เป็นประจำจะทำให้คุณเริ่มทรงตัวได้ดีขึ้น

 

6. มีความยืดหยุ่น

ความยืดหยุ่นคือข้อดีของการทำท่าแพลงก์ คุณจะได้ยืดกล้ามเนื้อรอบๆหัวไหล่ กระดูกสะบัก และกระดูกไหปลาร้า ขณะเดียวกันก็บริหารกล้ามเนื้อไบเซพกับกล้ามเนื้อสะโพก ส่วนเท้ากับนิ้วเท้าก็จะเริ่มมีความยืดหยุ่น

 

7. สภาพทางจิตวิทยาดีขึ้น

การออกกำลังกายส่งผลต่อระบบประสาท มันจะช่วยยืดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่มักจะแข็งตึงไปทั่วร่างกายเนื่องจากความตึงเครียด ที่สำคัญท่าแพลงก์ยังสามารถขจัดความวิตกกังวลและอาการที่เกิดจากภาวะซึมเศร้าได้อีกด้วย

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0