โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

7 อาหารสุขภาพ ลดความดันเลือด

The Bangkok Insight

อัพเดต 18 ก.ย 2562 เวลา 02.13 น. • เผยแพร่ 18 ก.ย 2562 เวลา 00.26 น. • The Bangkok Insight
7 อาหารสุขภาพ ลดความดันเลือด

ถือเป็นเรื่องปกติทุกปี ที่คนรักสุขภาพหมั่นไป check up ร่างกาย หรือ ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี ที่โรงพยาบาล เพื่อเช็คระบบองค์รวมให้เรียบร้อยว่า ไม่มีอะไรผิดปกติ ถึงแม้มีสิ่งผิดปกติ เราจะได้ทราบก่อนเนิ่น ๆ เพื่อรักษาได้ทันท่วงที สำหรับตัวดิฉัน ก็เช่นกัน ด้วยความที่อยู่ในสาขาอาชีพเกี่ยวกับ Healthcare จึงมีความตื่นตัวเป็นพิเศษ และประกอบกับเพื่อนสนิทหลายคนข้างตัว ก็จากโลกนี้ไปด้วยโรคร้ายกันหลายคน นี่ยังไม่นับ บุพพาการีของเพื่อน ๆ ที่จากไป บ้างไปด้วยเรื่องโรคร้าย และบางท่าน จากไปด้วยอาการเฉียบพลัน เห็นคนรอบข้างแบบนี้แล้ว ยิ่งทำให้ตื่นตัวขึ้นไปอีก อย่างเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ก็มีโอกาสพาคุณพ่อไปเช็คร่างกาย ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง

เป็นภาพที่เห็นชินตาที่ปกติเราจะไปคลีนิคหรือโรงพยาบาล ก่อนพบแพทย์ทุกครั้ง คุณพยาบาลจะเดินเข้ามาขอตรวจ “ความดันเลือด” เพื่อวัดค่าต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และตบท้ายด้วย วัดความดันเลือด และแน่นอน คุณพ่อดิฉันเอง จะซักถามคุณพยาบาลทันที ว่า “ความดันเลือดผมเท่าไหร่” คุณพ่อถือเป็นคนที่ดูแลร่างกายดีมาก มากคนหนึ่ง ระวังในเรื่องอาหารทานกิน โภชนาการนี่ เคร่งเป็นอันดับหนึ่ง คอเลสเตอรอล ไม่เคยกล้ำกรายเข้าใกล้ เพราะท่านเอง เคยเข้าคอร์สโภชนาการ เสียด้วยซ้ำ รู้หมดว่า อะไรกี่แคลอรี่ ไม่ได้เดานะคะ แต่รู้เป็นค่าตัวเลขแคลอรี่เลย (เจ๋งไหมหล่ะ) ทำให้พวกเรา ซึ่งเป็นลูก ๆ รวมทั้งตัวดิฉัน จึงใส่ใจในเรื่องสุขภาพ ตั้งแต่อายุยังน้อยไปโดยปริยาย เราเคยสงสัยกันไหมค่ะว่า ทำไม ต้องมีการวัดความดันเลือด ? ตัวเลขบน ล่าง มันบอกอะไรแก่เราบ้าง เรามาดูกันค่ะ

ทำไมต้องวัด “ความดันเลือด”

ค่าความดันเลือด หรือ ความดันโลหิต คือ แรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือดแดง โดยเกิดจากการสูบฉีดเลือดของหัวใจ สามารถวัดได้โดยการใช้เครื่องวัดความดันวัดที่ต้นแขน ค่าที่ได้จากเครื่องวัดความดันนี้ โดยปกติ จะมี 2 ค่า คือ ค่าความดันช่วงบน และค่าความดันช่วงล่าง

  • ความดันช่วงบน หรือ ความดันซิสโตลี (Systolic Blood Pressure) คือ แรงดันเลือดในช่วงที่หัวใจบีบตัว โดยค่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตาม หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น อายุ การเคลื่อนไหว อารมณ์แวดล้อม ฯลฯ
  • ความดันช่วงล่าง หคือ ความดันไดแอสโตลี (Diastolic Blood Pressure) คือ แรงดันเลือด ในช่วงที่หัวใจกำลังคลายตัว

สาเหตุของความดันเลือดสูง ง่าย ๆ เลยมีอยู่ 3 สาเหตุสำคัญ ดังต่อไปนี้

  • เกิดจากการที่ไขมันไปอุดตันในเส้นเลือด ทำให้เลือดนั้นไหลเวียนไม่สะดวก ความดันเลือดสูงแน่นอน
  • เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เมื่อน้ำตาลในเลือดสูง ก็จะทำให้เลือดหนืด ความดันเลือดสูง
  • เกิดจากภาวะเกร็ดเลือดสูงผิดปกติ เลือดข้นมาก ซึ่งถือเป็นหนึ่งสาเหตุของความดันเลือดสูง

และหากปล่อยให้ความดันเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน และดูแลรักษาไม่ถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันเลือดสูง โดยมากมักพบโรคเกี่ยวกับหัวใจ และ หลอดเลือด ฯลฯ

ฉะนั้น สิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ในการลดความเสี่ยงของโรคความดันเลือดสูง คือ การเลือกรับประทานอาหาร นั่นเองค่ะ วันนี้ ดิฉัน จึงอยากมาแนะนำอาหารสุขภาพ ที่สามารถหาทานได้ง่ายมาก และเป็นประโยชน์ พร้อมทั้งรักษาสมดุลของระดับความดันเลือดอีกด้วย มาดูกันว่า มีอะไรบ้าง ?

  • อะโวคาโด เจ้าตัวอะโวคาโด มีประโยชน์มากมายจริง ๆ ค่ะ นอกจากจะมีประโยชน์ในเรื่องความสวยงาม ผิวพรรณ บำรุงผิว บำรุงผม แล้ง ตัวอะโวคาโด ยังช่วยลดคอเลสเตอรอลแถมยังป้องกันโรคหัวใจอีกด้วย
  • โยเกิร์ต เน้นทานโยเกิร์ต รสธรรมชาติดีที่สุด โยเกิร์ตที่วางขายตามท้องตลาด ส่วนใหญ่จะมีแมกนีเซียมร้อยละ 13 โพแทสเซียมร้อยละ 19 และในขณะเดียวกัน ร่างกายก็จะได้รับน้ำตาลที่มาจากส่วนประกอบอื่น ๆ ที่อยู่ในเนื้อโยเกิร์ตด้วย
  • ปลานิล อย่างที่เราทราบกันดีว่า ปลาเนื้อขาว ส่วนใหญ่จะมีธาตุแมกนีเซียม และโพแทสเซียมอยู่ค่อนข้างเยอะ ประมาณ 9% ของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปลานิล มีประโยชน์กับคนที่มีปัญหาเรื่องความดันเลือดสูง และเน้นทานปลานิลนึ่ง จะดีกว่า นำมาทอดนะคะ
  • กล้วยน้ำว้า ถือเป็นผลไม้ที่หาง่ายมาก กล้วยเป็นผลไม้ที่อุดมด้วยแร่ธาตุโพแทสเซียมมากถึงร้อยละ 12 มีประโยชน์ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตารเซโรโทนิน จึงทำให้เรารู้สึกเบิกบาน อารมณ์ดี
  • ผักคะน้า ผักคะน้าที่ปรุงสุกแล้วจะมีแร่ธาตุโพแทสเซียมกับแคลเซียมมากถึงร้อยละ 9 และยังมีกรดอัลฟาไลโปอิก ทำงานร่วมกับวิตามินซี ซึ่งจะช่วยต้านสารอนุมูลอิสระในร่างกาย เพิ่มการกระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้ทำงานเป็นปกติ
  • บรอกโคลี ผักบรอกโคลีเป็นผักในตระกูลผักกะหล่ำ ที่มีคุณประโยชน์มากมาย ในบรอกเคอรี่ หนึ่งหัว จะมีโพแทสเซียมมากถึง 14% ที่ช่วยปรับความดันเลือดให้สมดุลอีกด้วย
  • ถั่วขาว ถือเป็นเมนูที่หาง่าย ในถั่วขาว มีแร่ธาตุแมกนีเซียมอยู่มากถึง 30% ซึ่งมีส่วนช่วยลดระดับความดันเลือดได้ อีกทั้ง เป็นเมนูสำหรับคนที่ต้องการลดความอ้วนอีกด้วย จึงถือว่าเป็นเมนูยอดฮิต ได้สองเด้งเลยค่ะ

เพื่อน ๆ จะเห็นว่า วิธีการลดความดันเลือดนั้น ไม่ยากเลย เพียงแต่ต้องระวังเรื่องอาหาร ที่ไม่ควร หวานจัด เค็มจัด มันมาก เพราะสามสิ่งนี้ เป็นตัวการที่ทำให้ระดับความเลือดผิดปกติได้ พบกันฉบับหน้า สวัสดีค่ะ

#KINN_Biopharma
www.kinn.co.th

 

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0