โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

7 สายการบินโลกล้มละลาย เซ่นโควิด

efinanceThai

เผยแพร่ 04 มิ.ย. 2563 เวลา 08.15 น.

การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก ทำให้การเดินทางทั่วโลกหยุดชะงัก โดยเฉพาะการเดินทางทางเครื่องบิน จากมาตรการล็อกดาวน์ หลายประเทศประกาศปิดเมือง  ทำให้สายการบินต้องหยุดทำการบินไปโดยปริยาย นั่นหมายถึงการสูญเสียรายได้หลักจากธุรกิจการบิน 

วิกฤติที่เกิดขึ้นถือเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ของอุตสาหกรรมการบิน จากที่ผ่านมาต้องเผชิญการแข่งขันสูง หลายรายตกอยู่ในภาวะขาดทุนสะสมมายาวนาน  ในที่สุดหลายสายการบินต้องล้มละลาย เพราะขาดสภาพคล่องอย่างหนัก หลายรายต้องปิดกิจการ ยุติการดำเนินธุรกิจ  เพราะไม่มีผู้โดยสารซึ่งตั้งแต่ต้นปี 63 ที่ผ่านมา มีหลายสายการบินได้ตกอยู่ในภาวะเหล่านี้ไปแล้ว

 

*** Flybe 

 "Flybe" สายการบินสัญชาติอังกฤษ ประกาศยื่นล้มละลายและปิดกิจการ เมื่อช่วงเช้าวันที่ 5  มี.ค.63  หลังจากที่รัฐบาลสหราชอาณาจักปฎิเสธการสนับสนุนเงินช่วยเหลือ จำนวน 100 ล้านปอนด์  หรือราว 129 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ยังมีแรงกดดันทางการเงินเพิ่มขึ้น หลังจำนวนผู้โดยสารลดลง จากความต้องการเดินทางทางอากาศที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 

การยุติการให้บริการทันทีหลังประกาศภาวะล้มละลาย ทำให้เที่ยวบินทั้งหมดดำเนินการโดย Flybe และ Stobart Air ถูกยกเลิกทั้งหมด 

Flybe ถูกซื้อกิจการในต้นปี 2562 โดยกลุ่ม บริษัท คอนเน็คซึ่งประกอบด้วยเวอร์จินแอตแลนติกกลุ่มสโตบาร์ทและไซรัสแคปิตอล และมีแผนที่จะเปลี่ยนโฉมเป็น Virgin Connect ซึ่งดำเนินงานเป็นผู้ให้บริการป้อนเที่ยวบินระยะยาวของ Virgin Atlantic โดย Flybe มีจำนวนผู้โดยสารราว  9 ล้านคน/ปี

บริษัทประสบปัญหาทางธุรกิจอย่างหนักจากผลกระทบค่าเงิน หลังช่วงปี 59 เงินปอนด์ร่วงลงหนัก  ขณะที่ Flybe มีต้นทุนเป็นดอลลาร์ ขณะที่กำไรส่วนใหญ่อยู่ในสกุลเงินปอนด์ ดังนั้นการลดลงของการลงประชามติสหภาพยุโรปในค่าเงินปอนด์จึงทำให้สายการบินได้รับผลกระทบอย่างหนักนอกจากนี้บริษัทยังประสบภาวะการแข่งขันสูงที่สุดในโลกในอุตสาหกรรมการบิน 

 

 *** Trans States Airlines
     
Trans States Airlines  สายการบินภูมิภาคของสหรัฐ ประกาศเที่ยวบินสุดท้าย โดยลงจอดที่สนามบินนานาชาติเดนเวอร์ เมื่อช่วงเช้าวันพุธ ที่ 1 เม.ย.63  ก่อนการประกาศยุติกิจการซึ่งถือเป็นสายการบินแรกในสหรัฐที่ประสบปัญหาจากผลกระทบโควิด-19 

ก่อนหน้านี้   Trans States Airlines  ได้ประกาศเจตจำนงที่จะหยุดดำเนินการจนถึงปี 2563 และโอนกองเรือของไปยัง ExpressJet Airlines ตามข้อตกลงกับ United Airlines  แต่การปิดฉากของสายการบินนี้มาเร็วกว่าคาด

Trans Trans ให้บริการผู้โดยสารมากกว่า 4.5 ล้านคนต่อปีโดยมีเที่ยวบินประมาณ 237 เที่ยวบินต่อวันให้บริการไปยังกว่า 70 เมืองในอเมริกาเหนือ 

 

***  Compass Airlines 
    
Compass Airlines เป็นอีกหนึ่งในสายการบินของ  Trans States Holdings   ให้บริการเที่ยวบินในฐานะสายการบิน American Eagle และ DeltaConnection โดยเที่ยวบินสุดท้ายที่ดำเนินการ คือ American Eagle Flight 6047 จากทัลซาโอคลาโฮมาไปยังลอสแองเจลิสแคลิฟอร์เนียเมื่อวันที่ 5 เม.ย.63  ก่อนการประกาศปิดตัวอย่างสมบูรณ์เมื่อ 7 เม.ย.63

 Compass Airlines มีฝูงบิน 38 ลำ  สำหรับ Delta Airlines (ในฐานะ Delta Connection) และ American Airlines ขณะที่ทั้งสองสายการบินนี้ทยอยยกเลิกการใช้เครื่องบินเหล่านี้  เนื่องจากการระบาดใหญ่หลายประเทศ และปิดประตูต้อนรับชาวต่างชาติ ทำให้การบินระหว่างประเทศลดน้อยลง   โดยสายการบิน  American Airlines  ได้ประกาศลดเที่ยวบินระหว่างประเทศ 75% ในขณะที่กำลังการผลิตภายในประเทศจะลดลง 20% จะมีแนวโน้มลดลงอีก  ส่วน Delta Airlines  จะลดเที่ยวบินระหว่างประเทศ  80%  

การปรับลดเที่ยวบินดังกล่าวทำให้สายการบินรับจ้างบริการไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป

 

*** Virgin Australia Ariline
    
 Virgin Australia Airlines  สายการบินใหญ่อันดับ 2 ของออสเตรเลีย ประกาศล้มละลาย โดยยื่นขอการบริหารจัดการโดยสมัครใจของเจ้าหนี้ ตามมาตรา 11 กฎหมายล้มละลายของออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 21 เม.ย. ที่ผ่านมา หลังจากที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลทำให้ไม่สามารถหารายได้ขณะที่ค่าใช้จ่ายของสายการบินนั้นมีอยู่ตลอดเวลา  

Virgin Australia Airlines  มีฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สิงคโปร์แอร์ไลน์ HNA Group และ ริชาร์ด แบรนสัน  เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ปัจจุบันมีฝูงบินถึง140 ลำ  ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา สายการบินมีกำไรเพียงแค่ 2 ปี ขณะที่มีหนี้สะสมรวมกว่า 6.8 พันล้านดอลลาร์ หรือมากกว่า 2 แสนล้านบาท  และกำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างหนัก  

หลังการยื่นขอบริหารจัดการโดยสมัครใจ พบว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้ความสนใจกับข้อมูลทางการเงินของ Virgin  เพื่อเตรียมยื่นข้อเสนอซื้อสายการบินอย่างเป็นรูปธรรม คาดว่าการเสนอราคาจะมีผลผูกพันภายในเดือน มิ.ย.นี้

 

*** Avianca Airlines
    
บริษัทอาเวียงกา โฮลดิงส์ เจ้าของสายการบิน Avianca Airlines สายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของลาตินอเมริกา ได้ยื่นล้มละลายที่ศาลในสหรัฐอเมริกา หลังเผชิญปัญหาทางการเงินจากพิษ COVID-19 จนไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด   โดยยังคงให้บริการผู้โดยสารต่อไป ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ หลังการร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลโคลอมเบียยังไม่เป็นผล

 Avianca Airlines ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19  ตั้งแต่ลายเดือน มี.ค. หลังโคลอมเบีย เอลซัลวาดอร์ และเปรู ซึ่งเป็นศูนย์กลางการบินหลักปิดน่านฟ้า  ขณะที่บริษัทยังเผชิญปัญหาทางการเงินมาตั้งแต่ก่อนเกิดการแพร่ระบาด โดยเมื่อปีก่อน มีภาระหนี้สะสมมากถึง7,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  หรือมากกว่า 230,000 ล้านบาท

 

*** Latam Airlines
    
 Latam Airlines  ถือเป็นสายการบินรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคละตินอเมริกา  ได้ประกาศเมื่อวันที่ 26 พ.ค.63 ถึงการยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์สินตามมาตรา 11ต่อศาลกรุงนิวยอร์กของสหรัฐ  เพื่อคงดำเนินกิจการต่อไปได้ในช่วงเวลาที่ทางสายการบินอยู่ระหว่างการทำแผนเพื่อใช้หนี้ให้กับบรรดาเจ้าหนี้และพลิกฟื้นธุรกิจ 

LATAM Airlines Group SA  ได้ออกแถลงการณ์ ว่า ได้ยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 11 ของกฎหมายล้มละลายสหรัฐ เพื่อเริ่มการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่โดยสมัครใจและการปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมาย ด้วยการสนับสนุนของตระกูล Cueto และ Amaro และ QatarAirways ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด  และการปรับโครงสร้างใหม่นี้ เป็นโอกาสที่จะปรับขนาดการดำเนินงาน ให้เข้าสถานการณ์ใหม่ จัดโครงสร้างการเงินให้คล่องตัว ยืดหยุ่น และยั่งยืน โดยยังคงเปิดให้บริการต่อไปตามเงื่อนไขการได้รับอนุญาต

กลุ่มจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากผู้ถือหุ้นรวมถึงตระกูล  Cueto และ Amaro สูงถึง 900 ล้านเหรียญสหรัฐ  เพื่อชำระหนี้ และจะมีเงินสดในมือประมาณ 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ

"LATAM และ บริษัท ในเครือกำลังหารือกับรัฐบาลชิลีบราซิลโคลัมเบียและเปรูเพื่อช่วยจัดหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม เพื่อลดการหยุดชะงักของธุรกิจ  นอกจากนี้ยังคงปรับตัวและตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของ COVID-19 อย่างต่อเนื่องและกำลังเตรียมที่จะต้อนรับลูกค้ากลับมาอีกครั้งเมื่อมีการยกข้อห้ามการเดินทางและเรียกร้องเพิ่มขึ้นรับประกันมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดสำหรับผู้โดยสารและลูกเรือ

LATAM  รายงานผลดำเนินงานปี 62  มีรายรับจากการดำเนินงาน 742 ล้านดอลลาร์สหรัฐและอัตรากำไรจากการดำเนินงาน 7.1%  และมีกำไรสุทธิ190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่มี กระแสเงินสดจากการลงทุน   1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ และหนี้สินที่มีเสถียรภาพประมาณ 4.0x 

 

*** THAI Airways

Thai Airways หรือ การบินไทย ได้ยื่นศาลละล้มละลาย เพื่อขอเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 26 พ.ค.63  และศาลได้มีมติรับคำร้องเมื่อวันที่ 27พ.ค. 63  ทำให้บริษัทอยู่ในภาวะหยุดจ่ายหนี้ทุกรายโดยทันที โดยศาลนัดไต่สวนนัดแรก 17 ส.ค.63

เหตุผลการยื่นคำร้องระบุถึงทุนจดทะเบียน 26,989 ล้านบาท หนี้สินรวม 354,494 ล้านบาท สินทรัพย์รวม 349,636 ล้านบาท  และยังมีหนี้ถึงกำหนดชำระวันที่ 21 พ.ค.63 รวม 10,200 ล้านบาท ซึ่งลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ 

 บริษัทได้ชี้แจงว่า หากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้บริษัท ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้ว ผู้ทำแผนที่ได้รับการแต่งตั้งจากศาลจะมีอำนาจและหน้าที่ในการบริหารจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทต่อไป ซึ่ง?การเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการในครั้งนี้ จะช่วยให้บริษัทสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนฟื้นฟูธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพตามขั้นตอนต่างๆ ซึ่งมีกฎหมายรองรับและให้ความคุ้มครองแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรม ทั้งบริษัทยังสามารถประกอบธุรกิจปกติต่อไปได้ในระหว่างที่อยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการขนส่งผู้โดยสารไปยังจุดหมายปลายทางของการบินไทยในประเทศต่างๆ หรือการขนส่งสินค้าไปรษณีย์ภัณฑ์ ซึ่งจะดำเนินการควบคู่ไปกับการฟื้นฟูองค์กรเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการบริการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ก่อนหน้าการยื่นศาลเพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู้กิจการ  รัฐบาลได้สั่งทบทวนแผนการจัดหาเครื่องบินใหม่ของการบินไทย เนื่องจากบริษัทไม่อยู่ในฐานที่สร้างภาระหนี้ได้อีก ประกอบกับสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลให้บริษัทขาดรายได้หลักจากธุรกิจการบิน  ขณะเดียวกันกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ประเมินความเสี่ยงของบริษัทที่มีถึง 23 ประเด็นเสี่ยง ขณะที่การเป็นสายการบินแห่งชาติ รัฐบาลไม่อาจให้กิจการล้มได้ แต่เลือกที่จะเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการ โดยให้กระทรวงการคลังลดสัดส่วนการถือหุ้นต่ำกว่า 50% โดยขายหุ้น 3.17%ให้กองทุนวายุภักษ์ เพื่อพ้นการเป็นรัฐวิสาหกิจ  ลดข้อจำกัดด้านกฎหมายต่างๆ ก่อนนำไปสู่การยื่นศาลของฟื้นฟูกิจการ

 

**** บทเรียนในอดีต

American Airlines  สายการบินยักษ์ใหญ่ในสหรัฐ และใหญ่ที่สุดในโลก เคยยื่นล้มละลายมาแล้วเมื่อปี 2554  หลังธุรกิจประสบปัญหาขาดทุนมากกว่า10 ปี  และเผชิญเหตุการณ์สะเทือนโลกจากเหตุก่อการร้าย 9/11 โศกนาฎกรรมตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์

และมีกระแสข่าวว่า American Airlines มีความเสี่ยงที่จะยื่นล้มละลายเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 10 ปีนี้ หลังมีหนี้สินมากถึง 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราว 1.08 ล้านล้านบาท ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19

 United Airlines  ได้ตัดสินใจยื่นศาลล้มละลายเพื่อขอฟื้นฟูกิจการเมื่อปี 54  โดยยังดำเนินธุรกิจได้เหมือนเดิม หลังเผชิญต้นทุนธุรกิจที่หนักหน่วงรวมถึงเหตุการณ์โจมตีตึกเวิลด์เทรด ทำให้อุตสาหกรรมการบินในช่วงนั้นซบเซาชัดเจน
 
Delta Airlines เข้าสู่ภาวะล้มละลายจากมีหนี้สะสมมาก 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ  หลังเผชิญขาดทุนต่อเนื่อง ท่ามกลางต้นทุนและการแข่งขันที่สูงจึงนำไปสู่การยื่นศาลขอพิทักษ์ทรัพย์สินตามมาตรา 11 เมื่อปี 48 

Japan Airlines สายการบินแห่งชาติของญี่ปุ่น  และเป็นสายการบินใหญ่สุดในเอเชีย  มีหนี้สินสะสม 7 แสนล้านบาท   ได้ยื่นล้มละลายต่อศาลกรุงโตเกียวในปี 53 ก่อนเข้าสู่การ ฟื้นฟูกิจการ และใช้เพียงเวลา 2 ปี สามารถนำธุรกิจกลับมาเป็นปกติและสร้างผลกำไรได้ 

 
 

ดูข่าวต้นฉบับ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0