โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

7 วิธีออมเงิน 10 ปี มีเงินเก็บ 7 หลัก

DDproperty

เผยแพร่ 17 ก.พ. 2563 เวลา 19.07 น.
7 วิธีออมเงิน 10 ปี มีเงินเก็บ 7 หลัก
7 วิธีออมเงิน 10 ปี มีเงินเก็บ 7 หลัก

เชื่อว่าหลายคนคงรู้สึกว่าการออมเงินนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและค่อนข้างน่าเบื่อ แต่อันที่จริงแล้วไม่ได้เป็นอย่างที่คิด เพียงแค่คุณอาจจะเลือกวิธีการออมเงินที่ไม่เหมาะกับตัวเองเท่านั้นเอง ลองเปิดใจดูวิธีการออมเงินทั้ง 7 วิธีที่เรานำมาเสนอ ซึ่งถ้าหากคุณนำวิธีการต่าง ๆ เหล่านี้มา รวมกันให้เหมาะสม คุณก็อาจกลายเป็นเศรษฐีเงินเก็บ 7 หลักได้ภายใน 10 ปี จะมีวิธีไหนบ้างนั้น ลองมาดูกัน

 

1. ออมเงินด้วยวิธีเก็บแบงก์ 50

ออมเงินด้วยแบงก์ 50 ถือเป็นวิธีการออมเงินที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย วิธีการก็คือ ทุกครั้งที่ใช้จ่ายในการซื้อของหรือบริการต่าง ๆ หากได้ทอนเป็นแบงก์ 50 ก็จะต้องเก็บและห้ามยุ่งกับแบงค์ดังกล่าวเด็ดขาด ซึ่งวิธีออมเงินแบบนี้มีข้อดีคือ เป็นวิธีออมเงินที่ง่าย สามารถทำได้ทันทีเมื่อได้เงินทอน อีกทั้งการออมเงินด้วยแบงก์ 50 ก็ถือว่าไม่มากและไม่น้อยเกินไป แล้วยังทำให้รู้สึกสนุกกับการลุ้นว่าจะได้หรือไม่

จากการคาดคะเนแล้วเราคิดว่าสัปดาห์หนึ่งน่าจะเจอแบงก์ 50 อย่างน้อย 3-5 ใบ เมื่อลองมาคำนวณดูเป็นระยะเวลา 10 ปี จะพบว่า

สมมุติ 1 สัปดาห์ เก็บได้ 5 ใบ ใน 1 ปี มี 52 สัปดาห์ ดังนั้นจะเก็บแบงก์ 50 จะได้

52 x 5 = 260 ใบ

ภายในหนึ่งปีจะสามารถเก็บเงินได้

260 X 50 = 13,000 บาท

เพราะฉะนั้น 10 ปี จะสามารถเก็บเงินได้ 13,000 X 10 = 130,000 บาท

 

2. ออมเงินด้วยวิธีเก็บเหรียญ

 

 

ตั้งปณิธานไว้เลยว่าระหว่างวันไม่ว่าหลังจากที่ซื้อของหรือใช้บริการต่าง ๆ แล้วได้เงินทอนเป็นเศษเหรียญ จะไม่แตะต้องเหรียญเหล่านั้นเด็ดขาด เพราะจะต้องนำเหรียญทั้งหมดที่ได้มาแต่ละวันไปหยอดกระปุกที่บ้านก่อนเข้านอน

ออมเงินด้วยวิธีเก็บเหรียญนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกและน่าจะคุ้นเคยกันมาแต่เด็ก เก็บสะสมทีละเล็กละน้อยไม่ต้องคิดมากรับรองว่าเมื่อครบ 10 ปี ลองมานับกระปุกดูน่าจะมีเงินออมเพิ่มจำนวนไม่น้อย หรือทยอยทุบกระปุกไปฝากบัญชีออมทรัพย์ทุกเดือนก็ได้ จะได้ไม่กินเนื้อที่ในห้องนอนมากนัก

วิธีออมเงินนี้นอกจากจะทำให้มีเงินเพิ่มพูนโดยไม่รู้ตัวแล้วยังช่วยทำให้คุณไม่ต้องแบกกระเป๋าที่เต็มไปด้วยเหรียญหนัก ๆ ตลอดเวลา อีกทั้งสำหรับคนที่ไม่รู้จะนำเหรียญสตางค์ เช่น 50 สตางค์ 25 สตางค์ ไปทำอะไร วิธีออมเงินนี้ก็ช่วยได้

 

3. ออมเงินด้วยวิธีเก็บเงินตามปฎิทิน 1-365

หนักพอสมควรสำหรับการออมเงินด้วยวิธีเก็บเงินตามปฏิทินหรือ 365 days saving money challenge ที่อันที่จริงแล้วก็คือ การออมเงินทบไปเรื่อย ๆ จากของเดิมวันละ 1 บาท จนครบ 365 วันนั่นเอง โดยเริ่มแรกก็สร้างตารางดังตัวอย่างด้านล่างนี้ก่อน

 

 

แล้วก็ออมเงินตามตัวเลขในปฏิทินที่คุณสร้างได้เลย แม้ว่าวันหลังจะต้องออมเยอะมากจนแทบเป็นลม แต่เมื่อนับดูดี ๆ 1 ปี จะได้ถึง 66,795 บาท ถ้า 10 ปีก็จะเท่ากับว่าสามารถออมเงินได้ถึง 667,950 บาท

ในอีกด้านหนึ่งคนที่ไม่สามารถออมเงินตามตารางปฏิทินได้เป๊ะ ๆ โดยเฉพาะช่วงเดือนท้าย ๆ ที่จำนวนที่ต้องออมเงินสูงถึงวันละ 300 กว่าบาท แนะนำให้ลองประยุกต์โดยการนำจำนวนวันที่ต้องเก็บมาหารให้กลายเป็นหลายวัน ไม่ต้องทบ เช่น

(365 1) ÷ 2 = 183

หมายความว่า ออมเงินวันละ 183 บาทจนถึงสิ้นปี ก็จะได้เงินเท่ากับวิธีการทบ

หรืออีกวิธีหนึ่งที่ดูสนุกขึ้นมาหน่อย ก็คือ เก็บสลับหัวปีท้ายปี ไปเรื่อย ๆ เช่น

- วันที่ 1 ออมเงิน 1 บาท

- วันที่ 2 ออมเงิน 365 บาท

- วันที่ 3 ออมเงิน 2 บาท

- วันที่ 4 ออมเงิน 364 บาท

 

4. ออมเงินด้วยวิธีฝากประจำ

ออมเงินด้วยวิธีฝากประจำเป็นอีกทางเลือกของคนที่ยังไม่พร้อมลงทุนหุ้น กองทุน ที่มีความเสี่ยงปานกลาง - สูง ต้องการที่เก็บเงินที่ปลอดภัยและได้ดอกเบี้ยงาม แต่จะบอกว่าแค่เห็นดอกเบี้ยสูงแล้วอย่าเพิ่งพุ่งไปธนาคารนั้น ๆ ควรเลือกออมเงินในบัญชีเงินฝากประจำที่ปลอดภาษีด้วย ซึ่ง ณ ตอนนี้ (กุมภาพันธ์ 2563) อัตราดอกเบี้ยของบัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี จะอยู่ช่วงประมาณ 1.75% - 3.0% *ศึกษาเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารนั้น ๆ

ลองคิดเล่น ๆ โดยประมาณ นาย A ออมเงินด้วยวิธีฝากประจำในบัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษีที่มีอัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี เป็นเวลา 24 เดือน เดือนละ 5,000 บาท

 

 

จากตารางด้านบน วิธีคิดคร่าว ๆ ดังนี้ (ความจริงแล้วธนาคารคิดดอกเป็นรายวัน)

เดือนแรก: 5,000 ได้ดอกเบี้ย (0.03 x 5,000) ÷ 12 = 12.5 บาท
เดือนที่สอง: ฝากอีก 10,000 ได้ดอกเบี้ย (0.03 x 10,000) ÷ 12 = 25 บาท

ทบคิดดอกเบี้ยแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนครบ 24 เดือน แล้วเอาทั้งหมดมาบวกกัน จะเป็นเงินยอดรวมทั้งหมดที่ได้จากการออมเงินในบัญชีเงินฝากประจำ สามารถดูตารางครบ 24 เดือนได้ที่นี่

 

5. ออมเงินด้วยวิธีเก็บแบบมีเงื่อนไข ถ้า…ต้องออมเงินไว้…บาท

ถ้านับจากวิธีออมเงินทั้งหมดในที่นี้ การออมเงินโดยสร้างเงื่อนไขให้ตัวเองน่าจะเป็นวิธีที่สนุกและอาจจะทำให้ออมเงินได้มากที่สุดก็ว่าได้ โดยจะขอยกตัวอย่างเงื่อนไขง่าย ๆ ที่น่านำไปใช้

- ถ้าพูดคำหยาบ 1 คำ ต้องออมเงิน คำละ 10 บาท 

เงิน 10 บาทดูเหมือนจะไม่มากแต่ถ้าวันหนึ่งเราเผลอพูดคำหยาบอย่างน้อย 10 คำต่อวัน 1 เดือนก็จะออมเงินได้ถึง 300 บาท เมื่อครบปี ได้ 3,600 บาท และเมื่อครบ 10 ปี จะได้ประมาณ 36,000 บาท

เงื่อนไขการออมเงินแบบนี้นอกจากจะช่วยให้เรามีเงินเก็บแล้วยังช่วยในการพัฒนาคำพูด โดยอาจลองปรับจากคำหยาบเป็นพูดจาอย่างอื่นที่ทำร้ายจิตใจก็ได้

- ถ้าน้ำหนักขึ้น 1 ขีด ต้องออมเงิน ขีดละ 20 บาท

น้ำหนักก็ต้องมีขึ้นมีลง รับประกันว่าคุณจะได้ออมเงินจากเงื่อนไขนี้แน่ ๆ วิธีออมเงินนี้เหมาะมากสำหรับหนุ่มสาวที่กำลังควบคุมน้ำหนัก นอกจากจะได้ออมเงินแล้วยังได้ท้าทายตัวเอง

- ทุกครั้งที่ทำงานพลาด จ่ายค่าปรับ 100 บาท

ออมเงินด้วยเงื่อนไขนี้นอกจากจะช่วยให้มีเงินเก็บแล้วยังช่วยให้รอบคอบมากขึ้น

- เก็บเงิน 500 บาททุกวันพระ 

1 เดือนจะต้องมีวันพระอย่างน้อยสัก 4 วัน หากเก็บวันละ 500 บาท เท่ากับ 1 เดือนได้ 2,000 บาท ถ้า 1 ปี 24,000 บาท เมื่อครบ 10 ปีจะออมเงินได้ถึง 240,000 บาท

 

 

6. ออมเงินด้วยวิธี ตั้งงบใช้ต่อวันแบบแน่นอน

หลังจากหักค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ที่จำเป็น เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเดินทาง ลองกำหนดงบให้ตัวเองดูว่าใน 1 วัน จำเป็นต้องใช้เงินเท่าไหร่แล้วใช้ตามงบต่อวันนั้น ๆ ส่วนเงินที่เหลือจากการหารวันก็นำหยอดกระปุกหรือใช้ฉุกเฉิน

ตัวอย่าง เงินเดือน 20,000 บาท หักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายทุกเดือน 7,000 บาท เหลือเงินที่ใช้ได้ 13,000 บาท

ลองคำนวณดูแล้วพบว่าใช้วันละ 300 บาทก็เพียงพอ = 1 เดือนใช้ 9,000 บาท

สรุป เงินเหลือเก็บ 13,000 - 9,000 = 4,000 บาทต่อเดือน

 

7. ออมเงินด้วยวิธี เอาเงินโบนัส ทำประกันแบบสะสมทรัพย์ ซื้อสลากออมสิน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 

สำหรับพนักงานบริษัทบางรายที่ได้โบนัส การนำเงินโบนัสที่ได้ไปเก็บไว้ในประกันแบบสะสมทรัพย์ สลากออมสิน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็ถือเป็นวิธีออมเงินอย่างหนึ่ง ซึ่งแต่ละประเภทมีรายละเอียดต่างกันดังนี้

- ประกันแบบสะสมทรัพย์ 

เป็นประกันชีวิตที่เราน่าจะคุ้นเคยมากที่สุด เน้นเรื่องได้เงินคืนเมื่อครบกำหนดระยะเวลามากกว่าเน้นคุ้มครอง (ผลพลอยได้) ซึ่งกำหนดระยะเวลาที่ได้รับเงินคืนมีตั้งแต่ 10-25 ปี

- สลากออมสิน 

สลากออมสิน รูปแบบหนึ่งของการออมเงิน โดยเราจะได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนด พร้อมมีสิทธิ์ลุ้นรางวัลทุกเดือน เมื่อครบกำหนดก็ได้เงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ย

สลากออมสินนั้นมีหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมมากก็คือ สลากออมสินพิเศษอายุ 3 ปี อ่านต่อได้ที่นี้ 7 วิธีเก็บเงินง่าย ๆ ฉบับมนุษย์เงินเดือน 

- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ปัจจุบันหลายบริษัทมีให้พนักงานสมัครเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งก็คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยเงินของกองทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายส่วนหนึ่งเรียกว่า ‘เงินสะสม’ แล้วอีกส่วนนายจ้างก็จะจ่ายเพิ่มให้เรียกว่า ‘เงินสมทบ’ เปรียบเทียบได้กับการออมเงินในธนาคารแล้วเราได้ดอกเบี้ยนั่นเอง

เงินก้อนนี้เราจะได้ก็ต่อเมื่อ เสียชีวิต ลาออกจากงาน หรือลาออกจากกองทุน

ไม่เพียงแค่ได้เงินก้อนเท่านั้น เงินที่ถูกหักเข้าไปในกองทุนระหว่างที่เป็นสมาชิกสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้อีก 15% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 500,000 บาท

 

แม้ว่าวิธีออมเงินบางข้อในที่นี้อาจไม่ได้พาคุณไปแตะหลักล้าน แต่อย่างที่บอกว่าถ้าหากนำมาใช้ออมเงินควบคู่กันตั้งแต่ 2 วิธีขึ้นไปก็จะสามารถช่วยให้ให้คุณมีเงินเก็บหลักล้านได้อย่างที่ต้องการ เช่น ออมเงินด้วยแบงก์ 50 พร้อมกับออมเงินด้วยการฝากประจำ ฯลฯ ซึ่งจะทำให้เราสามารถได้เงินก้อนมาฝากประจำและได้ดอกเบี้ยเพิ่มจากเงินเก็บของเราเอง

นอกจากนี้ก่อนที่คิดจะออมเงิน แนะนำว่าให้ลองตั้งเป้าหมายก่อนเป็นอันดับแรก เช่น ต้องการออมเงินเพื่อซื้อบ้าน ซื้อคอนโดมิเนียม ออมเงินเพื่อท่องเที่ยว ออมเงินเพื่อซื้อของชิ้นใหญ่ ออมเงินเพื่อปลดหนี้ ฯลฯ การออมเงินแบบมีเป้าหมายนั้นจะช่วยให้คุณแอคทีพและมองเห็นภาพตัวเองในอนาคตมากขึ้น

 

สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0