โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

6 สิ่งให้กำลังใจเมื่อเพื่อนตกอยู่ในสภาวะเศร้า เหงา มีปัญหา

Mango Zero

เผยแพร่ 19 ก.ค. 2561 เวลา 03.21 น. • Mango Zero

เป็นปกติที่เราจะต้องเจอกับสถานการณ์ที่เพื่อนเศร้า เหงา มีเรื่องทุกข์ และเราก็อยากจะให้กำลังใจเพื่อน แต่ไม่รู้จะพูดว่าอย่างไรดี พูดไปแล้วเพื่อนจะรู้สึกดี หรือ รู้สึกแย่ลงกว่าเดิมไหม เราอาจจะไม่ได้เข้าใจความรู้สึก หรือ สถานการณ์เพื่อนทั้งหมดได้ เพราะ เราไม่ได้เป็นคนที่ต้องเผชิญกับปัญหานั้นเอง แต่เราสามารถพูดคำพูดเล็กๆ น้อยๆ หรือ การกระทำที่แสดงถึงความจริงใจ และ ห่วงใยเพื่อนได้

มีอะไรเล่าให้ฟังได้

ก็เมื่อเราสังเกตุว่าเพื่อนของเราดูไม่น่าจะปกติ ดูซึม ไม่ร่าเริงเหมือนก่อน การเข้าไปถามเพื่อนว่า มีอะไรเล่าให้ฟังได้นะ หรือ มีอะไรบอกได้เว้ย เป็นการใส่ใจ และ ให้ความสำคัญเพื่อน เหมือนคอยเอาใจใส่ว่า ตอนนี้เพื่อนเป็นอย่างไรบ้าง รู้สึกยังไง ทำไมเพื่อนดูเครียด ดูมีอะไรในใจอยากระบาย หรือ บอกเล่าใครสักคน การที่เราเข้าไปคุยก็ทำให้เพื่อนรู้สึกดี

“รู้สึกว่ามีคนที่พร้อมให้เราได้ระบายความในใจออกไปบ้าง เพราะเวลาเจอเรื่องร้ายๆ จะคิดว่าไม่อยากเอาความทุกข์หรือความเศร้าแผ่ไปให้คนอื่นให้บรรยากาศเซ็งไปด้วย แต่พอได้ยินคำนี้จะใจชื้นขึ้นมาหน่อย ว่าอย่างน้อยเราก็ยังมีคนคอยรับฟังและเป็นห่วง”

ฟังอย่างตั้งใจ

บางครั้งเราอาจจะทำอะไรไม่ได้เลย เพราะ เราอาจจะไม่ได้เข้าใจในสถานการณ์ทั้งหมด หรือ เข้าใจความรู้สึกทั้งหมดที่เพื่อนเผชิญ แต่การเป็น “ผู้ฟังที่ดี” เป็นสิ่งที่มีค่ามาก มองในมุมของผู้รับ การที่มีคนตั้งใจฟังในสิ่งที่เรากำลังจะพูด เป็นคนที่เราไว้ใจที่จะเล่าเรื่องแย่ๆ ให้ฟัง ผู้รับฟังก็จะต้องมีความสำคัญในระดับหนึ่งเพราะ เค้าไว้ใจให้เราเข้าไปรับรู้ความรู้สึก และ เรื่องราวของเค้า

“ก็รู้สึกดี ถ้าเวลามีคนรับฟังปัญหาเราอย่างตั้งใจ เหมือนเค้าใส่ใจเราดี แบบรู้ว่าเรากำลังมีปัญหา”

ช่วงนี้โอเคปะ

คล้ายๆ กับคำถามเพื่อนที่ว่า มีอะไรเล่าให้ฟังได้นะ แต่ประโยคเหมือนเป็นประโยคเปิดเรื่อง “ถ้าเพื่อนมีปัญหาจริงๆ” เราจะได้ช่วยรับฟังเพื่อน หรือ แก้ปัญหาไปพร้อมๆ กับเพื่อน แต่ถ้า เพื่อนบอกว่า “โอเค” โดยที่เพื่อนไม่ได้เล่ารายละเอียดอะไรให้ฟัง แสดงว่า “เพื่อนอาจจะยังไม่พร้อมที่จะเล่าเรื่องนั้น” ก็ได้ เราก็ไม่ควรที่จะไปซักถามให้เพื่อนรู้สึกไม่ดีไปกันใหญ่ เมื่อเพื่อนพร้อมที่จะเล่า หรือ ขอความช่วยเหลือ เราค่อยเข้าไปถามถึงรายละเอียดต่างๆ

แต่มันก็จะมีเพื่อนที่ปากบอก “โอเค” แต่จริงๆแล้ว “มันไม่โอเค” เราก็คงทำได้เพียง สังเกตุเพื่อนอยู่ห่าง อย่างห่วงๆ ว่าเพื่อนจะเป็นอย่างไรต่อไป ถ้าเพื่อนไม่ไหว เดี๋ยวเค้าก็เล่าให้เราฟังเองแหละ หรือ ถ้าเพื่อนอาการหนักจริงๆ คนเป็นเพื่อนก็ต้องเข้าไปช่วยแล้วแหละ

“ได้รับการใส่ใจ รู้สึกเหมือนเค้าสังเกตเรา เป็นห่วงเรา อย่างน้อยถึงจะเจอปัญหา หรือ ไม่เจอก็รู้สึกอบอุ่น”

ยังมีข้าอยู่นะเว้ย

เวลาเล่าเรื่องจนถึงตอนจบ แล้วเพื่อนพูดกับเราว่า “ยังมีข้าอยู่นะเว่ย” มันทำให้รู้สึกดี เหมือนว่าเราไม่ได้เผชิญเรื่องร้ายๆ นี้คนเดียว อย่างน้อยก็ยังมีเพื่อนว่ะ ที่เรายังปรึกษา หรือ ขอความช่วยเหลือได้

“คำนี้จะแบ่งเป็น 2 ด้าน ด้านแรกมันก็ดี ทำให้เราใจชื้นมีกำลังใจ อย่างน้อยๆ ก็มีคนที่อยู่ข้างเราในวันที่เราเสียใจ แต่อีกด้านคำพูดนี้ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมาก สุดท้ายคนที่เผชิญหน้าและหลุดจากความเศร้าก็คือ ตัวเราเอง”

เรื่องนี้ก็ต้องผ่านไปได้เพื่อน

ประโยคนี้ได้ 2 แง่ความรู้สึก ต้องขึ้นอยู่กับ น้ำเสียง บริบท ตัวบุคคล และ สถานการณ์ด้วยว่าเป็นอย่างไร ส่วนแรกอาจจะบอกว่า เรื่องนี้ต้องผ่านไปได้เพื่อน เหมือนพูดปัดไปที เหมือนพูดเพื่อให้เปลี่ยนเรื่อง รู้สึกไม่ใส่ใจ แต่ส่วนที่สองคือ ถ้าเพื่อนรู้สึกแบบนั้นจริงๆ จริงใจ ก็จะให้ความรู้สึกว่า เพื่อนอยู่ข้างเรา คอยเป็นกำลังใจให้เราผ่านเรื่องเศร้านี้ไปได้นั้นเอง

“ต้องดูเจตนาของคนตอบว่ามีน้ำเสียงยังไง แบบไหน บางคนดูแบบขอไปที แต่ถ้าเพื่อนจริงใจที่จะรับฟังปัญหา มันเหมือนเป็นพลังบวก ทำให้เราสู้ แต่สุดท้ายปัญหาตัวเราเองก็ต้องจัดการด้วยตัวเอง”

เข้าไปกอด

“การกระทำ สำคัญกว่าคำพูดเสมอ” สัมผัสแห่งการกอด มหัศจรรย์มาก ถ้าเพื่อนรู้สึกไม่ไหวแล้ว ไม่มีอะไรจะทำได้ดีไปกว่าการจะพูดออกไป การเดินเข้าไปกอด ไปจับมือ ตบบ่า หรือ ตบไหล่ ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยเยียวยาจิตใจเพื่อนได้ เพื่อนอาจจะร้องไห้มากขึ้น แต่ในทางกลับกัน “เพื่อนจะรู้สึกปลอดภัย อบอุ่น และมีคนอยู่ข้างๆ ในวันที่รู้สึกแย่” จริงๆ แล้ว มนุษย์ไม่ต้องการอะไรมากมายไปกว่า “การมีเพื่อนที่ดี” ที่คอยอยู่เคียงข้างในวันที่เราท้อ รู้สึกแย่ ไม่มีแรงจะไปต่อ ไม่งั้นจะมีเพื่อนไว้ทำไม จริงปะ

“รู้สึกดี จะรู้สึกอบอุ่นเพื่อนให้กำลังใจ มีคนรู้ว่าเราเป็นอะไร”

สุดท้ายแล้วทุกสิ่งทุกอย่าง ขึ้นอยู่กับ บริบทคำพูด ตัวบุคคล น้ำเสียง ลักษณะการแสดงออก ที่สามารถส่งความรู้สึกมายังเพื่อน ผู้รับได้ บางคำพูดก็ไม่ได้สามารถช่วยเหลือเพื่อน หรือ ให้กำลังใจเพื่อนได้ 100 %

“การกระทำ ต่างหากเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าสิ่งใด” เพราะ การกระทำดังกว่าคำพูดเสมอ อยู่เคียงข้างเพื่อน ให้คำปรึกษา รับฟังเพื่อนอย่างตั้งใจ และ จริงใจ ช่วยกันแก้ปัญหา สิ่งนั้นน่าจะเป็นสิ่งที่เพื่อนคงอยากเห็นมากกว่า

 

 

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0