โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

6 พฤติกรรมที่ไม่ควรทำบนสื่อโซเชียลเนื่องจากมันมีผลกระทบต่อการสมัครงาน

issue247.com

อัพเดต 17 ม.ค. 2562 เวลา 04.59 น. • เผยแพร่ 18 ม.ค. 2562 เวลา 00.00 น.

จากการศึกษาล่าสุดพบว่าในปีนี้ร้อยละ 70 ของผู้ว่าจ้างจะคัดเลือกผู้สมัครงานบนสื่อโซเชียลขณะที่บริษัทมากกว่าครึ่งหนึ่งกล่าวว่าพวกเขาจะคัดชื่อผู้สมัครงานทิ้งแม้ว่าจะมีคุณสมบัติเพียบพร้อมหากพบว่ามีพฤติกรรมแปลกๆบนอินสตาแกรม เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ แน่นอนว่าผู้ฉลาดหางานเข้าใจเรื่องนี้ดีและพวกเขาไม่มีวันที่จะ…

 

1. โพสต์ภาพของตัวเองขณะดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้สารเสพติด

ไม่ใช่เรื่องผิดหรอกหากคุณดื่มแอลกอฮอล์เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ผู้ว่าจ้างจะปฏิเสธผู้สมัครงานที่เปิดเผยการดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้สารเสพติดมากเกินไปในประวัติออนไลน์ของตัวเองเนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าวจะบ่งบอกถึงการตัดสินและความสามารถในการรับผิดชอบโดยเฉพาะตำแหน่งที่ต้องพบปะลูกค้า ยังจำได้ไหม? แอชลีย์ เพย์น คุณครูโรงเรียนมัธยมจอร์เจียที่ต้องตกงานหลังจากที่โพสต์ภาพของตัวเองลงบนเฟซบุ๊กขณะดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงวันหยุดพักร้อนที่ยุโรป

 

2. โพสต์บทความต่างๆที่ไม่เหมาะสม..หรือไม่โพสต์อะไรเลย

กฎง่ายๆคืออย่าโพสต์อะไรก็ตามที่คุณไม่อยากให้คุณย่าหรือลูกๆเห็น แต่จริงๆคุณก็ควรโพสต์อะไรลงไปบ้าง การศึกษาพบว่าร้อยละ 60 ของพนักงานฝ่ายสรรหาจะไม่เชิญผู้สมัครงานมาสัมภาษณ์หากพบว่าผู้สมัครงานรายนั้นไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆบนสื่อโซเชียลเลย ขณะเดียวกันผู้ว่าจ้างก็ไม่ต้องการคนที่โพสต์ทุกสิ่งทุกอย่างลงบนสื่อโซเชียลเช่นกันเนื่องจากพวกเขากลัวว่าคุณจะเผลอแชร์ข้อมูลลับของบริษัทหรือพูดจาไม่เหมาะสมกับลูกค้านั่นเอง

 

3. ออกความคิดเห็นเชิงส่อเสียดซึ่งเกี่ยวข้องกับเชื้อชาติ เพศ หรือศาสนา

ปัจจุบันโลกของเราพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าแม่ของคุณพูดถูกเมื่อท่านบอกว่าถ้าพูดจาดีๆไม่เป็นก็หุบปากไปเสียดีกว่า หนึ่งในสามของผู้ว่าจ้างจะเมินใส่ผู้สมัครงานที่โพสต์แนวคิดอคติทางเพศ คลั่งศาสนา หรือเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคนรักร่วมเพศ บทเรียนคือสื่อโซเชียลไม่ว่าใครก็สามารถเข้าถึงและมองเห็นได้ไม่ใช่แค่เพื่อนสนิทของคุณ ดังนั้นจงปฏิบัติตัวให้เหมาะสม

 

4. ใส่ร้ายบริษัทเก่า

ไม่มีใครชอบตกเป็นเป้าซุบซิบนินทาของคนอื่นหรอก เกือบหนึ่งในสามของผู้ว่าจ้างบอกว่าพวกเขาจะปฏิเสธผู้สมัครงานที่กล่าวร้ายผู้ว่าจ้างเก่าของตัวเองต่อให้ความคิดเห็นเหล่านั้นมีเจตนาให้เป็นเรื่องขำๆก็ตาม

 

5. โกหกเกี่ยวกับคุณสมบัติของตัวเอง

มหาวิทยาลัยน็อทร์-ดามได้ว่าจ้างจอร์จ โอเลียรีให้เป็นหัวหน้าโค้ชฟุตบอลในปี 2001 แต่ปรากฏว่าในอีก 24 ชั่วโมงต่อมามหาวิทยาลัยจับได้ว่าโอเลียรีโกหกเกี่ยวกับการแข่งขันฟุตบอลที่นิวแฮมป์เชียร์และไม่ได้จบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กด้วย ดังนั้นอย่ามั่วประสบการณ์ของตัวเองลงบนสื่อออนไลน์ ที่สำคัญคุณไปได้ไม่ไกลหรอกถ้าผู้ว่าจ้างรู้ว่าคุณทำไม่ได้ตามที่สัญญาไว้

 

6. ใช้ชื่อหรืออีเมลที่ไม่เป็นมืออาชีพ

เกือบทุกคนที่ใช้ชื่อแสดงในข้อมูลสาธารณะแบบเด็กๆ (หรือไม่เหมาะสม) เมื่อคุณเข้าสู่วัยทำงานก็ควรจัดการข้อมูลต่างๆและที่อยู่อีเมลโดยเฉพาะอีเมลธุรกิจอย่างมืออาชีพ มิฉะนั้นคุณอาจถูกมองว่ายังไม่โตเป็นผู้ใหญ่และขาดวุฒิภาวะ

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0