โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

6 ข้อสังเกต ก่อนที่ลูกจะกลายเป็นเด็กเกเร

Mood of the Motherhood

อัพเดต 24 พ.ค. 2562 เวลา 11.08 น. • เผยแพร่ 24 พ.ค. 2562 เวลา 11.00 น. • Features

ไม่มีใครชอบเด็กเกเร โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ ย่อมไม่อยากให้ลูกของเรากลายเป็นเด็กเกเร และไม่น่ารักในสายตาของคนอื่น

M.O.M รวบรวมจุดสังเกตให้คุณพ่อคุณแม่สำรวจลูกตัวเองและแก้ไขได้ทัน ก่อนที่ลูกจะเป็นเด็กเกเร

1. ลูกชอบการแข่งขันและชอบเล่นเกมรุนแรง

เมื่อลูกอยู่ในห้องเรียนแล้วคุณครูสั่งให้ทำกิจกรรม แต่ผลออกมาว่าลูกทำกิจกรรมแพ้เพื่อน ลูกจะแสดงสีหน้าและท่าทางโกรธ อารมณ์เสีย และไม่พอใจ เด็กบางคนมีอารมณ์รุนแรงถึงขั้นพูดคำหยาบหรือใช้กำลัง รวมถึงไม่ว่าจะเห็นเพื่อนมีอะไรก็อยากได้อยากมีเหมือนกัน ไม่พอใจในตัวเอง

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกให้รู้จักความมีน้ำใจ รู้แพ้รู้ชนะ ด้วยการใช้นิทานเป็นตัวช่วยสอนลูก

นอกจากนี้การให้ลูกเล่นเกมที่ไม่เหมาะกับเด็ก ยกตัวอย่างเช่น เกมที่มีการชกต่อย ต่อสู้ และยิงกัน เพราะเด็กยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอ ส่งผลให้เลียนแบบพฤติกรรมและนำมาใช้ในชีวิตจริง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกเกมที่ดี เหมาะกับการเรียนรู้หรือหากิจกรรมอื่นให้ลูกทำแทนการเล่นเกม

2. ลูกคบเพื่อนนิสัยไม่ดี

คบคนพาลพาลไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล สำนวนนี้เกิดขึ้นจริง ถ้าลูกคบเพื่อนนิสัยไม่ดี ลูกก็จะซึมซับเรื่องไม่ดี และนำพาให้ลูกป็นเด็กเกเร สร้างความเดือดร้อนมาให้ตนองและคนอื่น ในทางกลับกันถ้าลูกคบเพื่อนดี ช่วยเหลือกัน พากันเรียนหนังสือ ลูกก็จะเป็นเด็กดี  

3. ลูกเล่นกับเพื่อนหรือพี่น้องแรงๆ

ลูกเริ่มแสดงพฤติกรรมรุนแรง ยกอย่างเช่น แกล้งเพื่อน ตีน้องแรงๆ และทำร้ายร่างกายคนอื่นทันทีที่โมโห เมื่อคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีพฤติกรรมรุนแรงควรแยกลูกออกมาจากกลุ่ม อธิบายถึงสิ่งที่ไม่ควรทำ ด้วยวาจาที่นุ่มนวล และสอนให้ลูกรู้จักขอโทษคนอื่นเมื่อทำผิด และหานิทานแฝงข้อคิดที่จะสอนลูกเรื่องความรุนแรง รวมถึงเล่นกับลูกด้วยการสัมผัสลูบตัว เช่น เกมปูไต่ เล่นจ๊ะเอ๋ ซ่อนแอบ ทำให้ลูกอารมณ์ดีและมีความสุขเพื่อลดพฤติกรรมรุนแรง

4. ลูกชอบโยนความผิดให้คนอื่น

เด็กที่ไม่ยอมรับความผิด ทั้งที่ตัวเองทำผิด เพราะกลัวว่าจะไม่เป็นที่รัก จึงโยนความผิดให้คนอื่น รวมถึงไม่ยอมรับความจริง เช่น สอบตกแต่ไม่ยอมรับว่าเพราะไม่อ่านหนังสือ แต่กลับโทษสิ่งแวดล้อมรอบตัว

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องแก้ไขให้ตรงตามความจริง เช่น “พ่อแม่รู้นะ ว่ามันไม่ใช่อย่างนั้น” แล้วค่อยๆ สื่อสารกับลูกเพื่อทำความเข้าใจอย่างใจเย็น

5. ลูกเป็นเด็กก้าวร้าว รุนแรง และชอบกรี๊ด

ลูกมักกรี๊ดร้องเมื่อไม่ได้ดังใจ ร้องไห้ทุกเรื่องไม่ว่าจะเรื่องไหน หรืออยู่ที่ไหน อาละวาดจนคุณพ่อคุณแม่รับมือไม่ไหว

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกรู้เท่าทันและควบคุมอารมณ์ อารมณ์รัก ชอบ ดีใจ ไม่พอใจ โกรธ และผิดหวัง รวมทั้งฝึกวิธีระบายอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็น การพูดคุย การทำสิ่งทดแทน เช่นโกรธจัด ก็ไปเตะฟุตบอล ว่ายน้ำ หรือวาดรูปเล่าเหตุการณ์ที่ทำให้โกรธ เพื่อที่ลูกเรียนรู้และไตร่ตรองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

6. ลูกต้องการควบคุมผู้ใหญ่

ลูกเรียกร้องให้คุณพ่อคุณแม่ทำตามทุกสิ่งที่ต้องการ โดยไม่แยกแยะว่าควรหรือไม่ควร และคุณพ่อคุณแม่ต้องขอร้องลูกทุกครั้ง เพื่อให้ลูกร่วมมือและเชื่อฟัง ยกตัวอย่างเช่น คุณพ่อคุณแม่ต้องขอร้องให้ลูกทำงานบ้าน

อ้างอิง

Maerakluke

Happymom

Th.theasianparent

Parentsone

Familynetwork

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0