โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

5 เรื่องมองไปข้างหน้ากับทิศทางเศรษฐกิจและค่าเงินปี 2019 จากมุมมองธนาคารกสิกรไทย

Brand Inside

อัพเดต 16 พ.ย. 2561 เวลา 03.32 น. • เผยแพร่ 16 พ.ย. 2561 เวลา 03.29 น. • Wattanapong Jaiwat
Navigating Investment Investing
ภาพจาก Unsplash

ใกล้จะหมดปี 2018 เข้ามาเรื่อยๆ แล้ว ได้เวลาของการมองไปยังภาพรวมของเศรษฐกิจในปีหน้า ซึ่งมีความท้าทายจากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก

ภาพจาก Shutterstock
ภาพจาก Shutterstock

Brand Inside สรุปจากงานสัมมนา “ส่องทิศทางเศรษฐกิจปีกุน” โดยธนาคารกสิกรไทย ซึ่งได้รวมมุมมองสำคัญที่ต้องรู้เกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจในปีหน้า ซึ่งในปี 2018 ที่กำลังใกล้จะหมดปีแล้วนั้น โลกเผชิญกับความท้าทายในด้านเศรษฐกิจไม่น้อย แต่ก็ยังมีการเจริญเติบโตที่ดี ไม่ว่าจะเป็นภาคการส่งออก เศรษฐกิจของสหรัฐที่แข็งแกร่ง เป็นต้น

ธนาคารกสิกรไทยได้ย้อนมองกลับไปในปี 2018 เศรษฐกิจโลกเจอกับเรื่องอะไรมาบ้าง

  • Brexit
  • การเมืองของประเทศอิตาลี ที่พรรค 5 Star Movement ชนะการเลือกตั้ง
  • การเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐที่ผ่านพ้นไป
  • ความเสี่ยงของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Markets) เช่น ตุรกี
  • สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน

ปัจจัยในปี 2019 ที่ต้องติดตาม สำหรับในปีหน้าเศรษฐกิจโลกยังมีความท้าทายใหม่ๆ สำหรับในประเทศไทยแล้วยังมีปัจจัยภายในที่เสริมขึ้นมาอีก

ภาพจาก Shutterstock
ภาพจาก Shutterstock

สงครามการค้าเต็มรูปแบบ (End of Global Trade Cycle)

สำหรับภาคการส่งออกของโลก ตั้งแต่ปี 2016 ขยายได้ดีตลอด การค้าของโลกเติบโต 5.2% หลายๆ ประเทศมีการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ เช่น จีน สหภาพยุโรป เป็นต้น แต่ในปีนี้เริ่มมีสัญญาณการส่งออกที่ชะลอตัวจากหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ประเทศไทย

มุมมองของธนาคารกสิกรไทยมองว่าในปี 2019 การค้าโลกน่าจะชะลอตัวลง โดย IMF คาดการณ์ว่าภาคการส่งออกจะเติบโตเหลือแค่ 4.2% ประเด็นสำคัญที่ทำให้การค้าชะลอตัวลงคือ “สงครามการค้า” แบบเต็มรูปแบบในปี 2019 สหรัฐฯ กำลังที่จะเก็บภาษีจากสินค้าจีนอีก 267,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ปัจจัยข้างต้นคาดว่าจะทำให้ภาคการส่งออกของไทยก็ชะลอลง

ภาพจาก Unsplash
ภาพจาก Unsplash

เศรษฐกิจจีนเริ่มชะลอตัวลง

เศรษฐกิจจีนกำลังใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ โดยในช่วงที่ผ่านมาเติบโตเฉลี่ยในระดับที่เกิน 6% มาตลอด แต่ปัจจุบันเศรษฐกิจจีนกำลังจะหมดยุคการใช้แรงงานราคาถูกเป็นหลักแล้ว แถมปัญหาโครงสร้างประชากรจีนที่เน้นนโยบายลูกคนเดียว กำลังจะไม่สอดคล้องกับโครงสร้างประชากร รวมไปถึงแรงงานจีนในปัจจุบันไม่ตรงกับอุตสาหกรรมซึ่งเป็นแบบเก่า ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐาน เช่น การทำเหมืองถ่านหิน โรงงานถลุงเหล็ก ฯลฯ

ทำให้รัฐบาลจีนต้องพาประเทศก้าวไปสู่เศรษฐกิจแบบใหม่ ที่เน้นการผลิตที่เน้นคุณภาพ หรือสินค้าไฮเทค เช่น สนับสนุนอุตสาหกรรมอีเล็กทรอนิคส์มากขึ้น และรวมไปถึงเน้นภาคการบริการมากขึ้น แต่เนื่องด้วยปัญหาโครงสร้างของจีนที่การผลิตที่ยังล้นเกิน ทำให้การบริโภคในจีนบริโภคไม่ทัน ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง แม้ว่าจะลดการส่งออกรวมไปถึงลดกำลังการผลิตสินค้าแล้วก็ตาม

แม้ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลจีนจะต้องทำการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น นโยบายปล่อยกู้ SME ให้มากขึ้น ฯลฯ แต่ก็มีความเสี่ยงคือจีนก่อหนี้ได้มากแค่ไหน ปัจจุบันจีนมีหนี้ต่อ GDP อยู่ที่ 266% ถือว่าสูงมาก

ฉะนั้นประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบ เนื่องจากมูลค่าการค้าที่ไทยซื้อขายกับจีนมีสูงถึง 18% แถมด้วยนักท่องเที่ยวจีนก็มาไทยในช่วงที่ผ่านมามหาศาล การที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงย่อมส่งผลกับเศรษฐกิจไทย

ภาพจาก Unsplash
ภาพจาก Unsplash

เศรษฐกิจกับหนี้สาธารณะของสหรัฐ

ในช่วงปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจของสหรัฐเข้มแข็งอย่างมาก ปัจจัยอย่างหนึ่งคือการผลักดันนโยบายการปฏิรูปภาษี ของประธานาธิบดีทรัมป์ แต่หลังจากการเลือกตั้งกลางเทอมทำให้อาจเกิดความยืดเยื้อของนโยบาย นอกจากนี้นโยบายของทรัมป์คือ นโยบายขาดดุลทางการคลังเพื่อที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ ปัจจุบันสหรัฐขาดดุลทางการคลังสูงถึง 4% และอาจถึง 5% ต่อปี และคาดว่าจะไม่ลดลงด้วย

ทำให้ปัจจุบันหนี้สาธารณะของรัฐบาลสหรัฐอยู่ที่ 21.5 ล้านล้านสหรัฐ คิดเป็นหนี้ต่อ GDP ประมาณ 105% ทำให้รัฐบาลสหรัฐต้องยกเลิกเพดานหนี้

อย่างไรก็ดีคาดว่าในปี 2019 เศรษฐกิจสหรัฐน่าจะเริ่มชะลอตัวลง เนื่องจากปัญหาของหนี้สาธารณะสหรัฐกดดัน

ภาพจาก Shutterstock
ภาพจาก Shutterstock

สภาพคล่องและค่าเงิน

ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Fed กำลังลดงบดุลลง ธนาคารกลางในหลายๆ ประเทศเริ่มดำเนินนโยบายทางการเงินแบบปกติ เช่น ธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB กำลังจะยกเลิกนโยบายผ่อนคลายทางการเงินในสิ้นปีนี้ คาดว่าจะทำให้เงินทุนไหลออกจากกลุ่มประเทศเกิดใหม่ต่อเนื่องในปีนี้ โดยตลาดเกิดใหม่มีการไหลออกของเงินทุนตลอดตั้งแต่ปี 2017 โดยเฉพาะในตลาดหุ้น

นอกจากนี้ถ้าหากถ้าความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เช่น สงครามการค้า ฯลฯ เงินทุนน่าจะไหลออกมากกว่าเดิม ยิ่งทำให้ค่าเงินในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ยิ่งอ่อนค่าลงอีก

แบงค์พัน
ธนบัตรไทยมูลค่า 1,000 บาท // ภาพโดย Peter Hellberg from Stockholm, Sweden (Thai baht) [CC BY-SA 2.0 (http://creativecommons.org/licenses/by-sa/2.0)], via Wikimedia Commons

มองค่าเงินบาทและอัตราดอกเบี้ยปีหน้า

ทีมนักวิเคราะห์ของธนาคารกสิกรไทยมองถึงเรื่องอัตราดอกเบี้ยไทยว่า การที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน ไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากเงินเฟ้อลดลง การส่งออกชะลอตัวลง รวมไปถึง นักท่องเที่ยวจีนที่ลดลง โดยคาดว่าถ้าหากมีการขึ้นดอกเบี้ยน่าจะขึ้นไวสุดในเดือนธันวาคม แต่ความเป็นไปได้คาดว่าไตรมาสแรกปี 2019 น่าจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกมากกว่า

สำหรับสาเหตุที่คณะกรรมการนโยบายการเงินต้องขึ้นดอกเบี้ย เพราะว่าถ้าคงอัตราดอกเบี้ยเดิมที่ 1.5% จะถือว่าต่ำเกินไป ทำให้เกิดการหาส่วนต่างทางมูลค่า (Search for Yield) ซึ่งจะสร้างความเสี่ยงให้กับเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไทย กับสหรัฐอเมริกา เริ่มกว้างขึ้น เลยทำให้ต้องขึ้นดอกเบี้ย

สำหรับทิศทางค่าเงินบาทไทย ธนาคารมองว่า ค่าเงินในเอเชียอ่อนค่าลง เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่ามากขึ้น เนื่องจากเงินไหลออกกลับไปสู่ดอลลาร์ เช่น ค่าเงินหยวนอ่อนค่าไปมาก เนื่องจากสงครามการค้า ส่วนอินโดอินเดีย เงินไหลออก เนื่องจากกลัวความเสี่ยง

ต้นปีหน้าค่าเงินน่าจะอ่อนค่า คาดว่าค่าเงินบาทของไทยจะอยู่ในกรอบราวๆ 32.5-33.2 มุมมองสิ้นปี 2019 ธนาคารมองว่าค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 34 บาท

สำหรับปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

  • นโยบายดอกเบี้ย ของประเทศอื่นๆ
  • ราคาน้ำมัน
  • การเจรจา Brexit กับสหภาพยุโรป ว่าจะออกไปในทิศทางใด
  • การเลือกตั้งภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ไทย อินโดนีเซีย อินเดีย
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0