โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

5 ฮอร์โมนที่อาจส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

issue247.com

อัพเดต 08 มี.ค. 2562 เวลา 04.20 น. • เผยแพร่ 09 มี.ค. 2562 เวลา 00.00 น.

คุณรู้สึกว่าตัวเองลดน้ำหนักไม่ได้ง่ายๆเท่ากับสมัยที่ยังเป็นวัยรุ่นอยู่ใช่ไหม? ขณะที่ผู้หญิงเรากำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน (ปกติคืออายุประมาณ 45 ปี+) อาการร้อนวูบวาบตามร่างกายและเหงื่อออกในตอนกลางคืนอาจไม่ทำให้รู้สึกสับสนได้เท่ากับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น และนี่คือ 5 ฮอร์โมนตัวฉกาจที่อาจทำลายความฝันในการลดน้ำหนักของคุณ พร้อมกับวิธีในการสยบมัน

 

1. เอสโตรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง)

การมีน้ำหนักเกินคือปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นซึ่งเกิดจากการมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำนั่นเอง เอสโตรเจนจะถูกสร้างขึ้นในรังไข่และในที่กักเก็บไขมันของคุณ ยิ่งฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำเท่าไหร่ไขมันก็จะยิ่งสะสมอยู่ตามสะโพกและต้นขาของคุณมากขึ้นเนื่องจากเอสโตรเจนจะกระตุ้นเซลล์ไขมันเพื่อสะสมไขมัน

 

วิธีลดการสะสมไขมันสำหรับการผลิตเอสโตรเจน

อาหารที่มีเส้นใยจะช่วยขับเอสโตรเจนที่ใช้แล้วออกทางลำไส้เพื่อไม่ให้กลับมาในระบบการไหลเวียนอีก

 

2. คอร์ติซอล (ฮอร์โมนความโกรธ)

การศึกษาบางแห่งพบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดที่เพิ่มขึ้นกับการกระจายของไขมันหน้าท้อง ระดับคอร์ติซอลจะเพิ่มขึ้นเมื่อรู้สึกเครียดและยังทำให้รู้สึกอยากอาหารเพิ่มขึ้นด้วย โรคเครียดจะทำให้คนส่วนใหญ่ไม่สามารถลดน้ำหนักได้..หรือที่แย่กว่านั้นคือทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้ระดับคอร์ติซอลอาจส่งผลให้ระดับอินซูลินเพิ่มสูงขึ้นเป็นเหตุให้น้ำตาลในเลือดต่ำซึ่งทำให้ความรู้สึกหิวเพิ่มขึ้นด้วย ร่างกายของคุณจะผลิตคอร์ติซอลออกมาเรื่อยๆตราบเท่าที่ยังรู้สึกเครียดอยู่

 

วิธีสยบฮอร์โมน “ความโกรธ+หิว”?

วิธีที่ดีที่สุดในการปราบฮอร์โมนชนิดนี้คือการลดระดับความเครียดของคุณ บางคนทำได้โดยการพักผ่อนหย่อนใจขณะที่อีกหลายๆคนใช้วิธีออกกำลังกาย

 

3. เลปติน (ฮอร์โมนความอิ่ม)

เลปตินคือฮอร์โมนที่ถูกสร้างขึ้นโดยเซลล์ไขมันในร่างกาย เป้าหมายแรกของมันอยู่ที่สมองโดยเฉพาะไฮโปทาลามัส เลปตินจะส่งสัญญาณไปยังสมองว่าร่างกายสะสมไขมันพอแล้วและไม่ต้องกินอีกต่อไปเพื่อให้ร่างกายสามารถเผาผลาญแคลอรี่ได้ในอัตราปกติ ปัญหาของผู้หญิงส่วนใหญ่คือสัญญาณเลปตินไม่ทำงาน แม้ระดับฮอร์โมนเลปตินจะสูงแต่สมองอาจไม่ได้รับสัญญาณดังกล่าวซึ่งอาการนั้นจะเรียกว่าภาวะดื้อเลปติน ปัจจุบันเชื่อกันว่านี่คือความผิดปกติหลักในโรคอ้วนของมนุษย์

 

วิธีสยบฮอร์โมนที่น่ารำคาญนี้?

กุญแจสำคัญในการป้องกันภาวะดื้อเลปตินคือต้องลดรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดอาการอักเสบ เครื่องดื่มสมูทตี้สีเขียวสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้และการเติมผงกัญชงหรือเนยถั่ว 2 ช้อนชาจะยิ่งเพิ่มปริมาณโปรตีนซึ่งช่วยรักษาภาวะดื้อเลปตินได้

 

4. เกรลิน (ฮอร์โมนความหิว)

เกรลินจะทำงานคู่กับเลปติน เมื่อท้องว่าง..เกรลินจะส่งสัญญาณบอกว่าคุณกำลังหิวและคุณต้องกินอาหารและหยุดทำงานเมื่อคุณได้กินแล้ว เกรลินจะไหลเวียนในกระแสเลือดเช่นเดียวกับเลปตินและข้ามตัวกั้นกลางระหว่างเลือดกับสมอง สุดท้ายก็ไปหยุดที่ไฮโปทาลามัสซึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณว่าคุณหิว ระดับเกรลินจะสูงก่อนกินอาหารและต่ำลงหลังจากที่ได้กิน

 

วิธีสยบฮอร์โมนโมโหหิวนี้?

น้ำคือองค์ประกอบสำคัญในชีวิตซึ่งช่วยสยบฮอร์โมนความหิวชนิดนี้ได้ ดังนั้นคุณควรดื่มน้ำอยู่เสมอและคราวหน้าถ้าคุณรู้สึกหิว..ดื่มน้ำสักแก้วแล้วคุณจะทึ่งเมื่อรู้สึกว่าความหิวได้ลดน้อยลงไป

 

5. เทสโทสเตอโรน (ฮอร์โมนเพศชาย)

ผู้หญิงที่มีระดับเทสโทสเตอโรนต่ำมักจะรู้สึกว่าการสร้างกล้ามเนื้อหรือการเผาผลาญไขมันเป็นเรื่องยาก ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนของผู้หญิงที่ลดต่ำลงมีปัจจัยเกิดจากอายุเพียงอย่างเดียวเท่านั้น..ไม่เกี่ยวกับการหมดประจำเดือนและอันที่จริงเกิดขึ้นก่อนเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหลายปีด้วย เมื่อมีระดับเทสโทสเตอโรนต่ำกล้ามเนื้อของคุณอาจเหี่ยวลีบ กระบวนการเผาผลาญช้าลง และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

 

วิธีฟื้นฟูฮอร์โมนเพศชายนี้?

คุณสามารถฟื้นฟูฮอร์โมนเพศชายนี้ได้โดยการฝึกร่างกายด้วยแรงต้านซึ่งจะช่วยกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน นอกจากนี้การฝึกยกน้ำหนักยังสามารถต่อสู้กับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและรอบเอวที่ล้นหลามได้ด้วย

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0