โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เจาะลึก Makro หลังรับโอนกิจการกลุ่ม Lotus’s ขาย PO สร้างการเติบโตระดับเอเชีย

Wealthy Thai

อัพเดต 10 ส.ค. 2566 เวลา 02.24 น. • เผยแพร่ 03 ธ.ค. 2564 เวลา 16.52 น.

ดีลใหญ่แห่งปีที่เกิดขึ้น อย่างการปรับโครงสร้างธุรกิจของกลุ่มซีพี ด้วยการให้ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) (“Makro” หรือ “บริษัท”)รับโอนกิจการกลุ่ม Lotus’s ทั้งในไทยและมาเลเซีย ถูกพูดถึงอย่างต่อเนื่องว่าดีลนี้ จะส่งผลประโยชน์โดยตรงต่อ Makroอย่างไร น่าสนใจแค่ไหน และเป็นอีกหนึ่งโอกาสการลงทุน เพื่อร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจค้าส่ง (B2B) และค้าปลีก (B2C) ที่จะเติบโตไปด้วยกันในภูมิภาค
ก่อนที่เราจะไปศึกษารายละเอียดการรับโอนกิจการในครั้งนี้ เรามาเริ่มทำการสำรวจธุรกิจที่เป็นจุดแข็งของ Makro ซึ่งนับว่ามีความน่าสนใจอย่างมาก เนื่องจาก Makro มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญธุรกิจค้าส่งแบบ B2B ในประเทศไทยมามากกว่า 32 ปี โดยปัจจุบัน Makro มีจำนวนสาขาทั้งหมด 145 สาขา แบ่งเป็นสาขาในไทย 138สาขา และในต่างประเทศ 7 สาขา นอกจากนี้ Makro ยังมีโมเดลขยายสาขาผ่านรูปแบบร้านค้าที่หลากหลายอีกด้วย เช่น ศูนย์จำหน่ายสินค้ารูปแบบคลาสสิก (Classic Store), ศูนย์จำหน่ายสินค้ารูปแบบฟู้ดเซอร์วิส (Foodservice Store)เป็นต้น
หากมาพูดถึงก้าวต่อไปของ Makro ภายหลังรับโอนกิจการจากกลุ่ม Lotus’s รวมทั้งโอกาสการขยายตลาดต่างประเทศนั้น Makroและ Lotus’sจะร่วมมือกันนำความเชี่ยวชาญในธุรกิจ B2B (Business to Business หรือการค้ากับผู้ประกอบการ) และ B2C (Business to Consumer หรือ การค้ากับผู้บริโภค) มาสนับสนุนซึ่งกันและกัน ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้ง 2 กลุ่มให้ดียิ่งขึ้น ด้วยช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายรวมทั้งสนับสนุน SMEs และผู้ผลิตสินค้ารายย่อย สร้างมาตรฐานสินค้าไทยให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในระดับสากลพร้อมทั้งร่วมมือกันพัฒนาแพลตฟอร์ม O2O ที่เป็นการผสมผสานช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคดิจิทัล และสร้าง Ecosystem ที่เข้มแข็งเชื่อมโยงทุกภาคส่วน ยกระดับ Makro และ Lotus’s ให้เป็นองค์กรที่มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ยังจะทำให้ผลประกอบการของ Makroมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น จากการรับรู้รายได้กลุ่ม Lotus’sที่มีสาขาอยู่ในทำเลที่มีศักยภาพและมีพื้นที่เช่าภายในศูนย์การค้าจำนวนมาก ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังเปิดประเทศ และการผ่อนคลายล็อกดาวน์ รวมทั้งจะเพิ่มโอกาสการเติบโตจากการขยายธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีประชากรเป็นจำนวนมาก
เช่นเดียวกันกับมุมมองของนักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ที่ออกมาประเมินประเด็นดังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจ โดยมีใจความว่า หลังจากเสร็จสิ้นธุรกรรมรับโอน Makro จะได้กลุ่ม Lotus’s โดยอิงยอดขายเฉพาะธุรกิจค้าส่งค้าปลีกสิ้นสุดปี 2563 กลุ่ม Makro จะก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกอาหารสดและสินค้าอุปโภคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจะช่วยให้กลุ่มบริษัทมีความครอบคลุมธุรกิจทุกด้าน ประเมินสร้างโอกาสและ Synergy ต่อยอดหลากหลาย
ขณะที่ ภาพรวม Makro ภายหลังรับโอนกิจการ จะประกอบด้วย ธุรกิจทั้งค้าส่งและค้าปลีก โดย ธุรกิจค้าส่งของ Makro มีลูกค้าหลัก คือ กลุ่มผู้ค้าส่ง อาทิ ร้านโชห่วยและกลุ่ม HoReCa ภายใต้ฐานสมาชิกจำนวนมากกว่า 3.8 ล้านราย ส่วนทางด้านธุรกิจค้าปลีกของกลุ่ม Lotus’sจะครอบคลุมลูกค้าผู้บริโภคทุกระดับ ภายใต้ฐานสมาชิกจำนวน 23 ล้านราย ที่มีช่องทางจำหน่ายในภูมิภาคทั้งเครือ 2,226 สาขา แบ่งเป็นสาขาในประเทศ 2,164 สาขา และในมาเลเซีย 62 สาขา อีกทั้งยังพร้อมด้วยช่องทางจำหน่ายในอนาคตทางด้าน Digital Platform ทั้งในส่วนลูกค้ากลุ่มค้าส่งในส่วน Makroclick และค้าปลีก ในส่วน Lotus’s นอกจากนี้ อีกธุรกิจที่เข้ามาพร้อมกับ Lotus’s ด้วย คือ ศูนย์การค้าทั้งในประเทศไทยและมาเลเซีย ซึ่งมีพื้นที่ให้เช่าราว 7.15 และ 2.96 แสนตารางเมตร ตามลำดับ ส่วนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการรับโอนกิจการนั้น ประกอบด้วย การเพิ่มประสิทธิภาพจัดหาสินค้าเทียบเท่ากับผู้ประกอบการระดับโลก, การพัฒนาประสิทธิภาพผ่านระบบเทคโนโลยีมากขึ้น การทำงานของหน่วยงานสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพและคล่องตัวมากขึ้น และการเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ร่วมกัน
ถัดมาคือ ภาพรวมการขยายตัวของกลุ่มที่ Makro ที่ยังเน้นไปในอุตสาหกรรมค้าส่งค้าปลีกของประเทศไทยใน 2-3 ปีจากนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินว่า ยังมีโอกาสที่ดีสำหรับ Makro จากภาพอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะฟื้นตัวจากช่วงที่ได้รับผลกระทบ COVID ปี 2563-2564 ที่กระทบมูลค่าธุรกิจให้ลดลง 7.5% และ 4.6% ตามลำดับ และเชื่อว่าจะกลับมาเติบโตอีกครั้ง หลังสถานการณ์ COVID ในปัจจุบันคลี่คลาย
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินกำไรสุทธิปี 2564 ของ Makroไว้ที่ระดับ 6,952 ล้านบาท เติบโตจากปี 2563 ที่รายงานกำไรสุทธิ 6,562.67 ล้านบาท หลังจากนั้นปี 2565 คาดเติบโตโดดเด่นมาที่ระดับ 13,882 ล้านบาท และปี 2566 คาดจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 17,723 ล้านบาท
โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 Makro รายงานผลการดำเนินงาน โดยมีรายได้รวม 166,024 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 4,570 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 4.0% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของธุรกิจแม้จะต้องเผชิญกับ COVID-19
ล่าสุด ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา Makro ได้ทำการรับโอนกิจการทั้งหมดของกลุ่ม Lotus’s ทั้งในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย จากบริษัท ซี.พี.รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด หรือ CPRH เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2564 ของ Makro และบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา
โดย Makro จะเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนทั่วไป (Public Offering หรือ PO) จำนวนไม่เกิน 1,300 ล้านหุ้น ประกอบด้วย

  • หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดย Makro จำนวนไม่เกิน 910 ล้านหุ้น

  • หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL จำนวนไม่เกิน 156 ล้านหุ้น

  • หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือ CPH จำนวนไม่เกิน 156 ล้านหุ้น

  • หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย บริษัท ซี.พี.เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด หรือ CPM จำนวนไม่เกิน 78 ล้านหุ้น

ซึ่งการเสนอขาย PO ในครั้งนี้ มีราคาเสนอขายอยู่ที่ 43.50บาทต่อหุ้น และเปิดจองซื้อวันที่ 4-9 ธ.ค. นี้
โดยจะมีการจัดสรรหุ้นสามัญบางส่วนจากหุ้นสามัญทั้งหมดที่เสนอขายให้แก่ประชานทั่วไปให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ ดังนี้

  • ผู้ถือหุ้นเดิมของ Makro ในอัตราส่วน 10หุ้นสามัญเดิมของ Makro ต่อ 1หุ้นสามัญของ Makro ที่เสนอขาย

  • ผู้ถือหุ้นเดิมของ CP ALL ในอัตราส่วน 15 หุ้นสามัญเดิมของ CP ALL ต่อ 1 หุ้นสามัญของ Makro ที่เสนอขาย

  • ผู้ถือหุ้นเดิมของ CPF ในอัตราส่วน 70 หุ้นสามัญเดิมของ CPF ต่อ 1 หุ้นสามัญของ Makro ที่เสนอขาย

ซึ่งจะเสนอขายหุ้นสามัญในราคาเดียวกันกับราคาที่จะเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป
อย่างไรก็ตาม Makro อาจพิจารณาจัดสรรหุ้นส่วนเกินสำหรับ Over-Allotment จำนวนไม่เกิน 130,000,000หุ้น โดยคิดเป็นสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 10ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่เสนอขายให้แก่ประชาชนในครั้งนี้

โดยเชื่อมั่นว่า หุ้น Makro จะกลายเป็นหุ้นที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนสถาบันทั้งในและต่างประเทศมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในด้านฐานะการเงินเพื่อเป็นเงินทุนรองรับการขยายธุรกิจ ลดต้นทุนทางการเงิน และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการของ Makro
ผู้ถือหุ้นเดิมของ Makro CPALL และ CPF ที่ได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นสามัญ Makro สามารถจองซื้อผ่านตัวแทนจำหน่ายหุ้น ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพและธนาคารไทยพาณิชย์ หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok Bank Mobile Banking และแอปพลิเคชัน SCB EASY App ซึ่งการจัดสรรหุ้นจะดำเนินการด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของ SETTRADEตามสิทธิที่ได้รับแก่ผู้ถือหุ้นสามัญเดิมของทั้ง 3 บริษัท
และสำหรับนักลงทุนรายย่อยทั่วไป ก็สามารถร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกที่จะเติบโตครั้งสำคัญไปด้วยกันกับ Makroได้ โดย สามารถจองซื้อหุ้น PO ของ Makro ผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok Bank Mobile Banking, SCB EASY App และทรูมันนี่ วอลเล็ท โดยบริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที หรือที่ธนาคารกรุงเทพและธนาคารไทยพาณิชย์ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยการจัดสรรจะดำเนินการด้วยวิธี Small Lot Firstซึ่งจะดำเนินการจัดลำดับการจัดสรรให้แก่ผู้จองซื้อรายย่อยผ่านการสุ่มโดยระบบคอมพิวเตอร์ของ SETTRADE และดำเนินการจัดสรรหุ้นเป็นรอบๆ ให้แก่ผู้จองซื้อรายย่อยแต่ละราย จนกว่าหุ้นที่นำมาจัดสรรจะหมด
สำหรับการกำหนดราคาเสนอขายหุ้น PO ที่ 43.50บาทต่อหุ้น ถือเป็นราคาที่ไม่แพงและเป็นราคาที่มีความเหมาะสมด้วยเหตุผล 4ประการ ได้แก่ 1) นักลงทุนทุกกลุ่มจะได้จองซื้อในราคาเดียวกัน ทั้งผู้ถือหุ้นเดิมที่มีสิทธิได้รับจัดสรร ผู้จองซื้อรายย่อย นักลงทุนสถาบัน และนักลงทุนหลักแบบเฉพาะเจาะจง (Cornerstone Investors) 2) ง่ายต่อการสื่อสารและการดำเนินการกับนักลงทุนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะนักลงทุนรายย่อยและผู้ถือหุ้นเดิม ที่มีสิทธิได้รับจัดสรร สามารถชำระเงินจองซื้อด้วยราคาเดียวกัน ลดปัญหาเรื่องกระบวนการคืนเงินจองซื้อ 3) นักลงทุนจะได้จองซื้อหุ้นสามัญ MAKRO ในราคาเดียวกับราคา Swap Price (ราคาแลกเปลี่ยน) ในช่วงที่ บมจ.สยามแม็คโคร ออกหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง (PP) เพื่อรับโอนกิจการทั้งหมดของกลุ่มโลตัสส์จากบริษัท ซี.พี.รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด เท่ากับเป็นการลงทุนเพื่อเริ่มเติบโตไปพร้อมกับบริษัทฯ ร่วมกัน และ 4) ราคาเสนอขาย 43.50บาทต่อหุ้น ต่ำกว่าราคาหุ้นเฉลี่ยย้อนหลัง 1สัปดาห์ ซึ่งอยู่ที่หุ้นละ 47บาท โดยมีส่วนลดประมาณ 7.5%และต่ำกว่าราคาหุ้นเฉลี่ยย้อนหลัง 1เดือน ซึ่งอยู่ที่หุ้นละ 48บาท โดยมีส่วนลดประมาณ 9.3%
ทั้งนี้ จำนวนหุ้นที่เสนอขายครั้งนี้ไม่เกิน 1,300ล้านหุ้น และอาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกินไม่เกิน 130ล้านหุ้น ซึ่งทางบริษัทฯ พิจารณาแล้วว่าเหมาะสม เนื่องจากหลังสิ้นสุดการเสนอขายหุ้น PO จะมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) เกินกว่า 15%ตามเกณฑ์ขั้นต่ำของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมีผลกระทบต่อสัดส่วนการถือครองหุ้น (Control Dilution) ของผู้ถือหุ้นเดิม และอัตรากำไรสิทธิต่อหุ้นของ MAKRO (EPS Dilution) น้อยกว่า กรณีที่มี Free Float เป็นจำนวนมากกว่านี้
ส่วนกลุ่มนักลงทุนหลักแบบเฉพาะเจาะจง (Cornerstone Investors) ซึ่งเป็นนักลงทุนสถาบันชั้นนำมีจำนวน 14ราย ที่ลงนามในสัญญา Cornerstone Placing Agreement รวมทั้งสิ้นประมาณ 423ล้านหุ้น มูลค่ารวมกว่า 18,400 ล้านบาท
ทางกลุ่มบริษัทฯ เห็นคุณค่าและให้ความสำคัญกับความเชื่อมั่นที่ผู้ถือหุ้นเดิมของ MAKRO, CPALL และ CPF มีต่อกลุ่มบริษัท จึงเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมนี้ ได้ทำการจองซื้อหุ้น MAKRO ตามสิทธิการถือหุ้น และเปิดโอกาสให้สามารถจองซื้อเกินกว่าสิทธิการถือหุ้นที่มีอยู่ได้อีกด้วย
ของมีจำกัด!! สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทุกวันในเวลาทำการ (9:00 – 16:00) โทร. 02-090-9191
คำเตือน: บทความนี้ไม่ได้ชี้นำให้ซื้อหรือขายแต่อย่างใด และทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างครบถ้วนและทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0