โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

5 วิธีรับมืออาการ “จุกเสียดท้องตอนตั้งครรภ์”

Motherhood.co.th

เผยแพร่ 30 พ.ค. 2563 เวลา 04.30 น. • Motherhood.co.th Blog
5 วิธีรับมืออาการ “จุกเสียดท้องตอนตั้งครรภ์”

5 วิธีรับมืออาการ "จุกเสียดท้องตอนตั้งครรภ์"

อาการ "จุกเสียดท้องตอนตั้งครรภ์" มักปรากฏขึ้นในช่วงไตรมาสที่สอง และอาจแย่ลงเมื่อท้องของคุณโตขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้เกิดอาการเสียดท้องในระหว่างตั้งครรภ์ พร้อมด้วย 5 เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญในการบรรเทาอาการ

อาการจุกเสียดท้องป็นความรู้สึกแสบร้อนในอกของคุณ โดยจะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่าง (LES) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่รับผิดชอบในการเก็บสิ่งของของกระเพาะอาหารให้อยู่ในที่ทางของพวกมัน เริ่มที่จะคลายตัวหรือมีจุดรั่วไหล ซึ่งจะส่งผลให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นสู่หลอดอาหาร

ความรู้สึกเสียดในท้องมาพร้อมกับความแสบร้อนในอก
ความรู้สึกเสียดในท้องมาพร้อมกับความแสบร้อนในอก

โชคไม่ดีนักที่ผู้หญิงส่วนใหญ่จะพบกับอาการเช่นนี้ในยามที่พวกเธอตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ และความรู้สึกอึดอัดนี้มีแนวโน้มที่จะแย่ลงเมื่อทารกในครรภ์ของคุณเติบโตขึ้น

อาการแสบร้อนกลางอกมักปรากฏหลังอาหารหรือก่อนนอน มันอาจจะเริ่มต้นจากความรู้สึกอึดอัดไปจนถึงความรู้สึกเจ็บปวด การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุและแนวทางการป้องกันกันสามารถช่วยบรรเทาอาการให้กับคุณแม่ได้ นี่คือสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับอาการเสียดท้องในการตั้งครรภ์

สาเหตุของการจุกเสียท้องตอนตั้งครรภ์

ฮอร์โมนการตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องต่ออาการจุกเสียดที่เป็นภัยสำหรับผู้หญิงหลายคน ฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในระดับสูงทำให้กล้ามเนื้อที่อยู่ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารเกิดการคลายตัว เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น กรดจากกระเพาะอาหารของคุณสามารถเคลื่อนตัวย้อนออกมาได้ง่ายขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น ทารกในครรภ์ที่กำลังเติบโตของคุณออกแรงกดไปยังกระเพาะอาหารและกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่าง (LES) ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสที่กรดจะถูกผลักย้อนเข้าไปในหลอดอาหาร เมื่อมดลูกเจริญเติบโตกดทับบริเวณท้อง ในท้องของคุณจะมีช่องว่างน้อยลงในการทำงาน

อาหารที่มีกรด ของทอดของมัน อาหารรสจัด ควรงดเว้น
อาหารที่มีกรด ของทอดของมัน อาหารรสจัด ควรงดเว้น

5 แนวทางป้องกันอาการจุกเสียด

คุณแม่จะบรรเทาอาการเสียดท้องในระหว่างตั้งครรภ์ได้อย่างไร เพียงลองทำตาม 5 เคล็ดลับเหล่านี้เพื่อบรรเทาอาการปวดเสียดในท้อง

กินน้อย แต่กินบ่อย

การกินมากเกินไปทำให้เกิดอาการจุกเสียด เมื่อคุณตั้งครรภ์ จะมีพื้นที่ให้ท้องของคุณขยายได้น้อยลง การควบคุมอาหารที่มีเหตุผลไม่เพียงแต่จะช่วยป้องกันอาการแสบร้อนกลางอกในระยะสั้นเท่านั้น แต่สามารถป้องกันไปตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ของคุณด้วยเช่นกัน เพราะการเพิ่มน้ำหนักมากขึ้นเกินกว่าระดับน้ำหนักที่แนะนำ จะทำให้เกิดแรงกดดันต่อช่องท้องของคุณ แทนที่จะกินอาหาร 3 มื้อต่อวัน ให้เปลี่ยนเป้าไปที่การกินมื้อเล็ก ๆ  6 มื้อ ในปริมาณที่ไม่เกิน 1 ½ ถ้วยต่อมื้อ มื้ออาหารเล็ก ๆ จะย่อยง่ายขึ้น ช่วยบรรเทาอาการจุกเสียดในระหว่างตั้งครรภ์

กำจัดอาหารที่เร้าให้เกิดอาการ

ระบุอาหารที่ทำให้คุณเกิดอาการมากขึ้นและแบนพวกมันออกจากรายการอาหาร ในขณะที่ไม่มีอาหารที่ "ถูกห้าม" อย่างจริงจัง แต่สิ่งที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการได้ที่รู้กันไปในระดับสากลก็คือ อาหารที่มีกรด เช่น ผลไม้จำพวกมะนาว/ส้ม มะเขือเทศ อาหารทอดและมัน อาหารรสจัด ช็อคโกแลต กาแฟ เครื่องดื่มอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่คุณควรงดอยู่แล้วเช่นกัน

โฟกัสกับปริมาณของเหลว

อาหารเหลวมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดปัญหาน้อยกว่าอาหารแข็ง เนื่องจากอาหารจะเคลื่อนผ่านกระเพาะอาหารเร็วขึ้น ซุป สมูทตี้ โยเกิร์ต มิลค์เชค โปรตีนเชคและพุดดิ้ง เป็นตัวเลือกที่ดี มองหาของเหลวที่มีโปรตีนมากมาย เช่น นมและโยเกิร์ต และตั้งเป้าหมายที่จะลดการกินอาหารแข็งให้น้อยลง ดังนั้น ควรคี้ยวอาหารที่เป็นของแข็งอย่างช้า ๆ และเคี้ยวอย่างดีมาก จนกระทั่งพวกมันเกือบเหลว จงจำไว้ว่าอย่างไรก็ตามการดื่มน้ำในปริมาณมากระหว่างมื้ออาหารอาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอกได้ เพราะการดื่มอาจทำให้คุณกลืนอากาศเข้าไปได้มากขึ้น ถ้าคุณรู้สึกกระหายน้ำในระหว่างมื้ออาหาร ให้จิบเพียงเล็กน้อยในระหว่างอาหารก็พอ

นอนอย่างฉลาด

เพื่อหลีกเลี่ยงอาการเสียดท้องตอนกลางคืนในระหว่างตั้งครรภ์ อย่ากินอะไรเลยภายในอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน การวางตัวในแนวนอนทำให้กรดจากกระเพาะอาหารของคุณเดินทางขึ้นสู่หลอดอาหารได้ง่ายขึ้น ยกหัวเตียงให้สูงขึ้นโดยวางหนังสือไว้ใต้ขาเตียง และหากคุณไม่ได้นอนในท่าตะแคงซ้าย ให้เริ่มเดี๋ยวนี้เลย เพื่อที่กรดในกระเพาะอาหารจะต้องเดินทางขึ้นสูงเพื่อไปยังหลอดอาหาร เราต้องทำให้กรดมันไหลขึ้นไปยาก ๆ เข้าไว้ สตรีมีครรภ์ไม่ควรนอนหรือโค้งงอตัวทันทีหลังรับประทานอาหาร

แม้แต่จะใช้ยาลดกรดก็ต้องปรึกษาแพทย์เสียก่อน
แม้แต่จะใช้ยาลดกรดก็ต้องปรึกษาแพทย์เสียก่อน

ใช้ยาลดกรดอย่างระมัดระวัง

ยาลดกรดสามารถช่วยต่อต้านกรดในกระเพาะอาหารและบรรเทาอาการเสียดท้องได้อย่างรวดเร็ว มันเป็นเรื่องที่ปกติที่จะใช้ยาลดกรดประเภทที่มีแคลเซียม อย่างไรก็ตาม แคลเซียมที่มากเกินไปสามารถป้องกันการดูดซึมธาตุเหล็ก ดังนั้นอย่ากินยาลดกรดจำพวกนี้ในเวลาเดียวกันกับที่คุณรับประทานวิตามินก่อนคลอด นอกจากนี้หลีกเลี่ยงยาลดกรดที่มีอลูมิเนียม เช่น อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์หรืออลูมิเนียมคาร์บอเนต เป็นส่วนผสม มันสามารถทำให้เกิดอาการท้องผูกและอาจเป็นพิษหากใช้ในปริมาณมาก

การใช้ยาที่มีแอสไพรินก็ควรหลีกเลี่ยงในระหว่างตั้งครรภ์ มองหาซาลิไซเลตหรือกรดอะซิติลซาลิไซลิคในรายการส่วนผสม คุณไม่ต้องการยาลดกรดที่มีโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดา) หรือโซเดียมซิเตรตเช่นกัน เรื่องจากสารทั้งสองมีโซเดียมสูง ซึ่งทำให้เกิดการกักเก็บน้ำ

ก่อนที่จะรีบไปที่ร้านขายยาที่ใกล้ที่สุด คุณต้องแน่ใจว่าได้ปรึกษาแพทย์ของคุณก่อนที่จะใช้ยาลดกรดหรือยาอื่น ๆ ในระหว่างตั้งครรภ์

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0