โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

5 วิธีรักษาสุขภาพจิตฉบับปี 2020

THE STANDARD

อัพเดต 19 ม.ค. 2563 เวลา 17.26 น. • เผยแพร่ 20 ม.ค. 2563 เวลา 07.00 น. • thestandard.co
5 วิธีรักษาสุขภาพจิตฉบับปี 2020
5 วิธีรักษาสุขภาพจิตฉบับปี 2020

ก้าวสู่ศักราช 2020 ด้วยปัญหามาคุการเมืองแตกแยก ทั้งระดับประเทศและระดับโลก ไปยังสิ่งแวดของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างน่าเป็นห่วง แต่เราจะก้าวผ่านความน่าใจหายนี้ไปอย่างไรในศักราชนี้ มีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ออกมาช่วยแนะนำวีธีบรรเทาความเครียดสำหรับคนยุคนี้ ที่ช่วยได้ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และยังส่งผลให้บุคคลิกภายนอกดีขึ้นด้วย

 

 

ฝึกมองในแง่บวก

การมีความคิดมุมบริสุทธิ์มีประเด็นสำคัญอยู่ที่โอกาสเสียชีวิตจากอาการหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมองลดลงถึง 35% รวมถึงการกินอาหารเพื่อสุขภาพและออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยสร้างให้มีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง จากผลวิจัยในปี 2019 ของมหาวิทยาลัยบอสตันพบว่า การที่เราเป็นคนมองโลกในแง่ดีไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่สนใจความเครียดในชีวิตประจำวัน แต่สนใจแต่เรื่องที่รุนแรงส่งผลกับเราจริงๆ สิ่งสำคัญคือเราห้ามโทษตัวเองโดยเด็ดขาด หากปรับความคิดเป็นตัวเราที่กำลังเผชิญเรื่องนี้ มันทำให้เราได้เรียนรู้บางสิ่งและเติบโตได้ในที่สุด

 

“การฝึกฝนให้มองโลกในแง่บวกสามารถทำได้จริง มันเป็นกุญแจที่สำคัญที่ส่งผลกับกระบวนความคิดและโครงสร้างทางสมอง” ริชาร์ด เดวิดสัน นักประสาทวิทยา ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตกล่าว โดยการฝึกนี้เป็นเทคนิคของ ‘Best Possible Self’ เป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการพัฒนาตน โดยขึ้นอยู่กับการฝึกความคิดด้านจินตนาการ และใช้เวลาเพียง 15 นาทีต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 เดือน

 

 

ทำจิตอาสา

‘การให้คือการได้รับ’ หนึ่งในบทสวดอธิษฐานของนักบุญซานฟรานซิสแห่งอัสซีซีกล่าวไว้ ขณะเดียวกันวิทยาศาสตร์ก็มีความถูกต้องอย่างแม่นยำเสมอ และมีผลวิจัยออกมาแล้วว่า เมื่อเราทำความดีแก่ผู้อื่นโดยไม่คาดหวังอะไรกลับมา ร่างกายจะหลั่งสารเคมีความสุขในสมองที่ช่วยให้เราอยากช่วยเหลือคนต่อไป อีกทั้งยังทำให้ระดับความเครียดและภาวะซึมเศร้าลดลง แม้จะเป็นการอาสาเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม อีกเรื่องที่ค้นพบคือการบริจาคช่วยเหลือเด็กกำพร้า ส่งผลให้เรารู้สึกดีกว่าทำจิตอาสาปกติเพราะทำให้ความรู้สึกเครียดและซึมเศร้าลดลง

 

รู้จักขอบคุณและกตัญญูรู้คุณ

ทศวรรษที่ผ่านมาได้มีการสนับสนุนจากวิทยาศาสตร์ไว้ว่า ความกตัญญูรู้คุณนั้นช่วยลดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า รวมถึงทำให้คนรอบตัวเรามองโลกในแง่ดีขึ้นได้ด้วย โดยเดวิดสันเสริมว่า สามารถทำได้โดยเขียนเป็นบันทึกประจำวันถึงสิ่งที่รู้สึกซาบซึ้งและขอบคุณ โดยอาจเขียนก่อนเวลาเข้านอน และให้เขียนเรื่องราวดีๆ ที่เจอในวันนั้นๆ รวมไปถึงผู้คนที่ยื่นมือช่วยเหลือเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กสักเพียงไหนก็สามารถนำมาเขียนได้ 

 

 

เพิ่มการติดต่อทางสังคมของตนเอง

โรเบิร์ต วัลดิงเกอร์ จิตแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวที่งาน TED Talks ว่า “ผู้ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับครอบครัว เพื่อน และคนรอบข้าง มักจะมีความสุขทางจิตใจและร่างกาย รวมถึงมีชีวิตที่ยาวขึ้น มากกว่าคนที่ไม่มีความสัมพันธ์นี้เลย” ซึ่งที่ผ่านมา ฮาร์วาร์ดได้ทำการศึกษาผู้ชายในบอสตันจำนวน 724 คน โดยใช้เวลากว่า 75 ปี ต่อมาเริ่มติดตามไปยังลูกหลาน และภรรยาของคนกลุ่มนี้อีกกว่า 2,000 คนและพบว่า “การแต่งงานที่ไม่ได้เกิดจากความรัก เต็มไปด้วยความขัดแย้ง อาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพเราเอง ซึ่งเป็นกรณีที่เลวร้ายกว่าการหย่าร้าง ในขณะที่การใช้ชีวิตด้วยความสัมพันธ์ที่อบอุ่นนั้น ก็สามารถช่วยทำให้สุขภาพกายและจิตใจดีขึ้นด้วย” วัลดิงเกอร์ กล่าว

 

หาเป้าหมายในชีวิตของตนเอง

รู้ไหมว่าการตั้งเป้าหมายในชีวิตมีส่วนช่วยให้เรามีความสุข ความสนุกสนานมากขึ้น มาร์ติน เซลิกแมน นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ผู้ร่วมก่อตั้งสาขาจิตวิทยาเชิงบวก กล่าวว่า “ความรู้สึกของคนเรามีจุดประสงค์มาจากสิ่งหนึ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเรา ซึ่งอาจหมายถึงศาสนา ครอบครัว สังคม และอื่นๆ ที่กลายเป็นสาเหตุของเป้าหมายในชีวิต” 

 

หนังสือHappiness: Lessons From a New Scienceที่เขียนโดย ลอร์ด ริชาร์ด เลยาร์ด ระบุว่า การปฏิบัติทางจิตวิญญาณอาจเริ่มตั้งแต่การทำสมาธิจนถึงการบำบัดทางปัญญา หากเป้าหมายหลักในชีวิตของคุณคือต้องทำให้ดีที่สุดเพื่อสิ่งท่ีดีที่สุด นั่นอาจจะทำให้เครียดเกินไป ทั้งยังรู้สึกว้าเหว่ และนำไปสู่ความผิดหวังได้ ทั้งนี้คุณควรรู้ว่าเรามีชีวิตอยู่เพื่อสิ่งที่ยิ่งใหญ่และมากกว่านั้น ซึ่งสามารถลดแรงกดดันในชีวิตลงได้ 

 

อ่านเรื่อง การให้กับความสุข เกี่ยวโยงกันอย่างไร? ได้ที่นี่

 

 

ภาพ: Shutterstock

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

อ้างอิง:

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0