โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

5 พฤติกรรมในยามเช้าที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

issue247.com

อัพเดต 08 มี.ค. 2562 เวลา 04.22 น. • เผยแพร่ 10 มี.ค. 2562 เวลา 00.00 น.

เราทุกคนผ่านจุดนี้มาแล้ว..คุณตั้งเป้าว่าจะลดน้ำหนักแต่ดูเหมือนว่าทำอย่างไรน้ำหนักตัวก็ไม่ลด ทั้งๆที่คุณก็ลด ละ เลิกทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นอาหารขยะหรือการกินตามใจปาก งั้นปัญหาคืออะไรล่ะ? ข้อผิดพลาดที่ใหญ่ที่สุดในการลดน้ำหนักคือการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยพฤติกรรมผิดๆ และนี่คือ 5 ความผิดพลาดที่จะทำลายช่วงชีวิตในยามเช้าของคุณ..รวมถึงวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวด้วย

 

1. นอนเกินเวลา

เราคงเคยได้ยินว่าการอดนอนจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในร่างกายทำให้อยากอาหารเพิ่มขึ้น แต่ปรากฏว่าการนอนเกินเวลาก็ไม่ได้ดีต่อสุขภาพของคุณเช่นกัน การศึกษาหนึ่งพบว่าการนอนหลับเกินคืนละ 10 ชั่วโมงจะทำให้ดัชนีมวลกายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ที่นอนหลับคืนละ 7-9 ชั่วโมง

 

2. ไม่ลุกขึ้นมาโดนแดด

หากคุณเอาแต่หลับตาหลังจากที่ตื่นนอนแล้วก็อาจพลาดโอกาสที่จะลดน้ำหนักอันเนื่องมาจากประโยชน์ของแสงแดด การศึกษาชี้ว่าผู้ที่ตื่นมารับแสงแดดในตอนเช้าจะมีดัชนีมวลกายลดลงอย่างเห็นได้ชัดโดยไม่เกี่ยวกับว่าพวกเขารับประทานอาหารไปมากแค่ไหนด้วย การสัมผัสถูกแสงแดดเพียง 20 -30 นาทีก็เพียงพอแล้วที่จะส่งผลต่อดัชนีมวลกายแม้ว่าขณะนั้นฟ้าจะมืดครึ้มก็ตาม นั่นเป็นเพราะร่างกายเชื่อมต่อกับนาฬิกาชีวภาพภายในซึ่งรวมถึงกระบวนการเผาผลาญแคลอรี่ของคุณด้วย

 

3. ไม่จัดที่นอน

การสำรวจของมูลนิธิการนอนหลับแห่งชาติสหรัฐพบว่าผู้ที่จัดเตียงมีแนวโน้มที่จะนอนหลับสนิทมากกว่าผู้ที่ไม่จัดเตียงของตัวเองถึงร้อยละ 19 แม้ว่าจะฟังดูประหลาดแต่การจัดเตียงในตอนเช้าคือบ่อเกิดของพฤติกรรมที่ดีอื่นๆ เช่น การเตรียมอาหารกลางวันที่ดีต่อสุขภาพ เป็นต้น ขณะเดียวกันผู้ที่จัดเตียงเป็นประจำก็จะมีความตั้งใจในการลดน้ำหนักมากกว่าด้วย

 

4. ไม่ชั่งน้ำหนัก

เมื่อมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ได้ทำการสำรวจผู้ชายและผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินจำนวน 162 คนเป็นเวลานานสองปีก็พบว่าผู้ที่ชั่งน้ำหนักตัวเองทุกวันจะประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักมากกว่า ส่วนเวลาที่เหมาะที่สุดก็คือตอนเช้าเมื่อน้ำหนักตัวของคุณต่ำที่สุด

 

5. งดอาหารเช้า

กลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟพบว่าผู้ที่รับประทานอาหารพลังงานต่ำและรับประทานมื้อเช้าที่มีคาร์โบไฮเดรตกับโปรตีนไขมันต่ำรวม 600 แคลอรี่จะรู้สึกหิวและอยากอาหารน้อยกว่าผู้ที่รับประทานมื้อเช้าที่มีพลังงานเพียง 300 แคลอรี่เท่านั้น นอกจากนี้พวกเขาจะเคร่งครัดกับการควบคุมแคลอรี่มากกว่าด้วย รวมถึงมีระดับฮอร์โมนเกรลินต่ำหลังจากมื้ออาหาร กลุ่มนักวิจัยชี้ว่าการรับประทานอาหารมื้อเช้าจะช่วยป้องกันความรู้สึกหิวและพฤติกรรมการกินอย่างไม่บันยะบันยังในช่วงที่เหลือของวัน

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0