โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

กีฬา

5 ปัจจัย วงการลูกหนังอินโด กลับมาเขย่าบัลลังก์อาเซียน

ขอบสนาม

อัพเดต 15 ก.พ. 2561 เวลา 03.21 น. • เผยแพร่ 17 ส.ค. 2561 เวลา 09.36 น. • ขอบสนาม
5 ปัจจัย วงการลูกหนังอินโด กลับมาเขย่าบัลลังก์อาเซียน

ฟุตบอลดินแดนอาเซียน กำลังกลับมาตื่นตัวกันอีกครั้ง หลังจากที่ความสำเร็จในการบ่มเพาะเยาวชน ของเมียนมาและเวียดนาม ส่งผลให้พวกเขาทะยานก้าวไปสู่ทัวร์นาเมนต์เยาวชนโลก แถมหลายๆชาติหยิบยกมานำเป็นแรงผลักดัน เพื่ออยากจะนำธงชาติไปโบกสะบัดเวทีระดับสูง

ในห้วงเวลาที่ฟุตบอลภูมิภาคนี้ เริ่มเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนถ่ายสายเลือดใหม่ของหลายชาติ ดูเหมือนว่าอินโดนีเซีย ที่ครั้งหนึ่งเคยโดนฟีฟ่า แบนห้ามยุ่งเกี่ยวกับวงการฟุตบอล เกือบ 2 ปี พวกเขาเริ่มต้นปฏิรูปขจัดปัญหาในบ้านตัวเองที่ค่อยฉุดรั้งเสียใหม่ นับตั้งแต่ปี 2017 แวดวงลูกหนังดินแดนอิเหนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว

ขอบสนามขอพาไปเจาะลึก 5 ปัจจัยที่นำพาให้อินโดนีเซีย กลับมาฟื้นตัวคืนสู่มหาอำนาจลูกหนังในภูมิภาคอาเซียนอีกครั้ง

1.นายกสมาคมฟุตบอล

หลังพ้นโทษแบนจากฟีฟ่า เมื่อช่วงกลางปี 2016 อีดี้ ราห์มาญาดี้ เข้ามารับหน้าที่นายกสมาคมฟุตบอลคนใหม่ นโยบายแรกที่เขาเริ่มต้น คือการขจัดปัญหาความแตกแยกกันมาช้านาน ตัดสินใจรวมลีกสูงสุดในชื่อของลีก้า วัน เพื่อให้มีลีกอาชีพหมายเลข 1 ของประเทศเพียงแค่ลีกเดียว ในปี 2017

แม้อีดี้ จะเป็นผู้นำทางด้านการทหาร แต่กลับไม่ได้ใช้อิทธิพลที่มีมายุ่งเกี่ยวกับวงการฟุตบอลภายในประเทศ โดยที่เฟ้นหาเลือกคนที่มีกึ๋นความรู้ความสามารถและเข้าใจศาสตร์ลูกหนังมาบริหารจำนวนงานด้านฝ่ายเทคนิค จนเป็นที่มาของการอิมพอร์ตโค้ชมือดีจากสเปน อย่าง หลุยส์ มิญ่า

2.เจ้าของสโมสรทุ่มเงินมหาศาล

เมื่อเกิดการปฏิวัติวงการฟุตบอลภายในประเทศทั้งระบบเมื่อปี 2017 ทั้งการก่อตั้งลีกอาชีพใหม่, จ้างโค้ชต่างชาติมากดีกรีเข้ามาวางโครงสร้างฟุตบอลระดับเยาวชน เพื่อต่อยอดให้ทีมชาติชุดใหญ่เล่นในรูปแบบเดียวกัน ประเด็นนี้เองทำให้เกิดความตื่นตัวของผู้คนมากมายทั่วสารทิศ โดยเฉพาะกลุ่มทุนคนมีอันจะกินในอินโดนีเซีย ที่มองเห็นช่องทางดังกล่าว เข้ามาเทคโอเวอร์สโมสร  แถมยังทุ่มทุนสร้างทีมอย่างเต็มที่รวมไปถึงเรื่องของสนามแข่งขันใหม่ การลงทุนในครั้งนี้พวกเขาหวังต่อยอดในด้านธุรกิจทั้งในสนามและนอกสนาม

3.ดึงแข้งเคยดังมาค้าแข้งในลีก

เมื่ออินโดนีเซีย มีลีกอาชีพ แถมมีกองหนุนท่อน้ำเลี้ยงชั้นดีจากเศรษฐีชั้นนำในประเทศ พวกเขารู้ดีว่าการจ้างแข้งเคยมีชื่อเสียงระดับสูงมาโลดเล่นในประเทศ ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และจะได้เป็นการฟื้นฟูในให้อุตสาหกรรมลูกหนังกลับมาคึกคัก เช่น ปีเตอร์ โอดิมวิงกี้, บูบาการ์ ซาโนโก้, ดิดิเย่ร์ โซโกร่า,คาร์ลตัน โคล, ฌูเลียง โฟแบร์ รวมถึง มิกาเอล เอสเซียง  นี่คือกลุ่มนักเตะที่เข้ามาช่วยยกระดับฝีเท้าและสภาพจิตใจให้นักเตะท้องถิ่นแข็งแรงทั้งเรื่องฝีเท้าประสบการณ์รวมไปถึงแรงบันดาลใจ

4.กุนซือดีกรีระดับสูงจากสเปน

อดีตโค้ชทีมชาติสเปน ชุดแชมป์ยูโร ยู-21 เมื่อปี 2011 อย่าง หลุยส์ มิญ่า ได้รับการแต่งตั้งให้เข้ามาคุมอินโดนีเซีย ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2017 ด้วยประสบการณ์ที่ช่ำชองวงการลูกหนังระดับเยาวชนแดนกระทิงดุมาช้านาน ทำให้หน้าที่หลักของโค้ชชาวสแปนิชรายนี้ มีหน้าที่คล้ายประธานเทคนิคของสมาคมฟุตบอลอินโดฯ  ทั้งเรื่องของการวางแนวทางและระบบต่างๆรวมไปถึงการส่งทีมชาติชุดต่างๆระดับเยาวชนไปชุบตัวที่สเปนด้วยคอนเนคชั่นสม่ำเสมอจนกลายเป็นจุดแข็ง

5.สภาพจิตใจที่แข็งแกร่ง

ผู้เล่นอินโดนีเซียมีลักษณะนิสัยไม่ยอมแพ้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว โดยเฉพาะการที่ลงเล่นฟุตบอลในประเทศตัวเอง ยามที่ต่อกรกับคู่แข่งต่างชาติ เนื่องจากเสียงเชียร์ของแฟนบอลท้องถิ่นที่บ้าคลั่งกีฬาชนิดนี้เข้าเส้นเลือด ที่จะเข้ามาเต็มความจุของสนามยามที่แข้งอิเหนาลงวาดลวดลายทั้งสโมสรและทีมชาติ จุดนี้ส่งผลต่อสภาพจิตใจนักเตะอินโดฯมีแรงฮึกเหิม และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้เล่นมีสภาพจิตใจที่แข็งแกร่ง ไม่เกรงกลัวใครหน้าไหนทั้งสิ้น

เอ็มเร่

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0