โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

5 จุดที่ควรเช็กสำหรับ ตรวจบ้าน ก่อนรับโอน

MThai.com

เผยแพร่ 24 เม.ย. 2562 เวลา 13.00 น.
5 จุดที่ควรเช็กสำหรับ ตรวจบ้าน ก่อนรับโอน
การ ตรวจบ้าน ก่อนเซ็นรับโอน สำหรับการซื้อบ้านโครงการ การสร้างบ้านใหม่หรือต่อเติมบ้าน เจ้าของบ้านตรวจดูได้ด้วยตนเองง่ายๆ เพื่อช่วยประหยัดเวลาและลดโอกาสการเกิดปัญหาที่ตามมาจากการรับโอนบ้านที่ไม่ได้ตามข้อตกลงหรือมาตฐาน ฉะนั้นเราไปชม 5 จุดที่ควรเช็กสำหรับตรวจบ้านก่อนรับโอนกันค่ะ 1.ตรวจระบบไฟ เปิดไฟให้ทั่วทั้งบ้านแล้วเช็กให้ครบทุกดวงว่าสว่างหรือไม่ โดยเฉพาะโคมไฟ ติดทุกดวงหรือไม่ แนะนำให้ลองเปิดปิดสวิตช์ไฟหลายๆ…

การ ตรวจบ้าน ก่อนเซ็นรับโอน สำหรับการซื้อบ้านโครงการ การสร้างบ้านใหม่หรือต่อเติมบ้าน เจ้าของบ้านตรวจดูได้ด้วยตนเองง่ายๆ เพื่อช่วยประหยัดเวลาและลดโอกาสการเกิดปัญหาที่ตามมาจากการรับโอนบ้านที่ไม่ได้ตามข้อตกลงหรือมาตฐาน ฉะนั้นเราไปชม 5 จุดที่ควรเช็กสำหรับตรวจบ้านก่อนรับโอนกันค่ะ

1.ตรวจระบบไฟ เปิดไฟให้ทั่วทั้งบ้านแล้วเช็กให้ครบทุกดวงว่าสว่างหรือไม่ โดยเฉพาะโคมไฟ ติดทุกดวงหรือไม่ แนะนำให้ลองเปิดปิดสวิตช์ไฟหลายๆ ครั้ง รวมถึงนำสายชาร์จโทรศัพท์ที่พกมาเสียบดูทุกเต้าว่าใช้งานได้ปกติหรือไม่

2.การตรวจฝ้าเพดานและผนังภายใน สังเกตความเรียบร้อยของแนวผนัง ความเรียบเนียบและรอยร้าว นอกจากนี้สีที่ทาให้มีความสม่ำเสมอ สีไม่พอง ไม่เป็นคลื่น ซึ่งสามารถตรวจเช็กและแก้ไขได้ดังนี้ เช่น

ถ้ามีรอยร้าวบนผนัง อาจเกิดจากการแตกลายงาของปูนที่ฉาบแห้งเร็วเกินไป แก้ไขด้วยการฉาบปิดผิวบาง (สกิม) แล้วทิ้งไว้เพื่อทาสีรองพื้นปูนเก่าและทาสีทับ

– ถ้ารอยแตกเกิดจากโครงสร้างขยับตัว ซึ่งลักษณะของรอยแตกจะเป็นเส้น แก้ไขโดยการสกัดปูนฉาบตามแนวรอยแตกให้กว้างอย่างน้อย 2 – 3 ซม. หลังจากนั้นนำปูนฉาบเดิมฉาบทับและปล่อยให้แห้ง 1 – 2 วัน ทาสีรองพื้นปูนเก่าและทาสีทับ

– ถ้าเกิดจากสีพอง ให้เอาสีเดิมออก โดยใช้เกรียงขูดออกบริเวณที่สีพอง ขัดด้วยกระดาษทราย ฉาบปิดผิว (สกิม) ให้เรียบ ทาน้ำยารองพื้นปูนเก่าและทาสีทับ

– ถ้าผนังเป็นคลื่น แก้ไขโดยขัดส่วนที่เป็นคลื่นออกให้เรียบเสมอกันให้มากที่สุด หลังจากนั้นทาน้ำยางรองพื้นปูนเก่า และทาสีทับ

– ถ้าฝ้าแอ่นตัว ซึ่งสามารถเกิดได้หลายสาเหตุ แต่จะมีวิธีสังเกตได้จากแนวขอบวงกบประตู หน้าต่าง หรือถ้าภายในห้องมีเฟอร์นิเจอร์ก็สามารถเช็กได้เบื้องต้นโดยดูจากระดับหลังตู้ว่าระยะห่างจากฝ้าเพดานถึงหลังตู้นั้นเท่ากันหรือไม่

3.ตรวจพื้น ลักษณะของพื้นแต่ละแบบก็มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัสดุที่เจ้าของบ้านเลือกปูเป็นหลัก ควรเช็กให้ดีว่าตรงกับวัสดุที่เราเลือกใช้หรือไม่ และสิ่งสำคัญของพื้นที่ต้องตรวจคือความลาดเอียงของพื้นในส่วนพื้นเปียก เพื่อให้มีการไหลระบายถ่ายเทน้ำได้ดี

4.ประตูและหน้าต่าง ควรตรวจสอบวงกบต้องติดตั้งได้เรียบร้อยแนบติดกับผนัง วงกบต้องไม่มีรอยบิ่นเมื่อปิดบานประตูต้องเรียบสนิทกับวงกบ และควรสอบถามว่ามีการทำเสาเอ็นรอบวงกบหรือไม่ และควรตรวจสอบการใช้งานในส่วนของตัวบานว่าเป็นของใหม่ ไม่ชำรุด ไม่มีรอยเปื้อน ถ้าเป็นบานกระจก ก็ต้องดูว่าไม่มีรอยแตก ติดตั้งได้แน่นหนากับตัวบาน และตรวจสอบว่าอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ที่ล็อค บานพับ และลูกบิด ทำงานได้ดีหรือไม่ โดยทดสอบจากการใช้งานซ้ำๆ กันหลายๆ ครั้ง ควรทดสอบการใช้งานกลอนทุกตัวว่าใช้งานได้ไหม

5.ตรวจระบบประปา โดยตรวจระบบเก็บน้ำสำรองว่าเป็นแบบบนดินหรือใต้ดิน และทดลองเปิดวาล์วน้ำทุกจุด ตรวจสอบปั๊มน้ำ ดูการรั่วซึมของน้ำด้วย และเปิดก๊อกและฝักบัวทุกตัวว่าน้ำไหลดีไหม เช็กระบบน้ำล้นโดยการทดลองขังน้ำไว้ในอ่างล้างหน้า อ่างล้างจานในครัว เพื่อดูว่าช่องน้ำล้นทำงานหรือเปล่า และจึงปล่อยออกเพื่อดูว่าน้ำสามารถไหลได้สะดวก ที่สำคัญอย่าลืมกดชักโครกโดยใช้ขนมปังแทน เพื่อทดสอบว่าสามารถใช้งานได้ดีไม่มีอุดตัน

ขอบคุณข้อมูลจาก ยิปซัมตราช้าง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0