โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

5 คณะ/วิทยาลัย ที่หลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้จัก แต่น่าเรียนมาก จบแล้วไม่ตกงานแน่นอน

Campus Star

เผยแพร่ 20 พ.ย. 2562 เวลา 09.30 น.
5 คณะ/วิทยาลัย ที่หลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้จัก แต่น่าเรียนมาก จบแล้วไม่ตกงานแน่นอน
ในบทความนี้เราจึงได้รวบรวมข้อมูลน่ารู้ของทั้ง 5 คณะ/วิทยาลัยที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มาให้น้อง ๆ ได้ศึกษากันก่อนตัดสินใจสมัครเรียนต่อกันค่ะ จะมีคณะ/วิทยาลัยแห่งไหนบ้างนั้น ตามมาดูรายละเอียดกันได้เลย

แคมปัส-สตาร์ มีข้อมูลดี ๆ สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยมาฝากกันด้วยจ๊ะ กับ 5 คณะ/วิทยาลัยที่หลาย ๆ คนอาจจะไม่ค่อยรู้จัก หรือว่ารู้จักแต่ไม่รู้ว่าเรียนเกี่ยวกับอะไร

น่าเรียนมาก 5 คณะ/วิทยาลัย ที่หลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้จัก

ดังนั้นในบทความนี้เราจึงได้รวบรวมข้อมูลน่ารู้ของทั้ง 5 คณะ/วิทยาลัยที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มาให้น้อง ๆ ได้ศึกษากันก่อนตัดสินใจสมัครเรียนต่อกันค่ะ จะมีคณะ/วิทยาลัยแห่งไหนบ้างนั้น ตามมาดูรายละเอียดกันได้เลย

1. วิทยาลัยโลกคดีศึกษา ม.ธรรมศาสตร์

วิทยาลัยโลกคดีศึกษา หรือ School of Global Studies (SGS) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เป็นหลักสูตรนานาชาติ ระดับปริญญาตรี Global Studies and Social Entrepreneurship (GSSE) การบูรณาการการศึกษาวิวัฒนาการของโลก และการประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม หรือที่หลาย ๆ คนมักจะเรียกว่า Social Business

วิชาเรียนส่วนใหญ่จะเน้นเรียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน โดยเป็นหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง และการพัฒนาทักษะที่ช่วยทำให้นักศึกษาทุกคนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้จริง

2. วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย ม.ศรีนครินทรวิโรฒ

วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เป็นการเรียนแบบใช้องค์ความรู้ ที่ได้นำความรู้ศาสตร์ด้านตะวันตกและศาสตร์ด้านตะวันออกมาประยุกต์ร่วมกัน รวมถึงการนำภูมิปัญญาชาวบ้านของไทยมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการของคนในยุคปัจจุบันมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย

ซึ่งน้อง ๆ จะได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎีจากตำราเรียน และจะได้ลงพื้นที่จริงในรายวิชาต่าง ๆ เพื่อเรียนรู้การปฏิบัติงานจริง ๆ ว่าเขาทำกันอย่างไร ในรูปแบบการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Block Course) นอกจากจะมีอาจารย์ผู้สอนในแต่ละวิชาเป็นอาจารย์จาก มศว แล้วนั้น ยังมีนักปราชญ์ชาวบ้าน และนักปราชญ์ชาติพันธุ์ มาร่วมทำการเรียนการสอนให้กับนิสิตชั้นปีต่าง ๆ อีกด้วย

หลักสูตรที่เปิดสอน วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว มีดังต่อไปนี้ 

  1. หลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  2. สาขาการจัดการภูมิสังคม

  3. สาขาการจัดการภูมิวัฒนธรรม

  4. หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.)

  5. สาขาการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน (โครงการความร่วมมือระหว่าง วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย กับคณะศึกษาศาสตร์)

3. คณะสิ่งแวดล้อม ม.เกษตรศาสตร์

คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) มีหลักสูตรที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่ครอบคลุมในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ เช่น ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ฯลฯ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน เมื่อน้อง ๆ เรียนจบออกมาแล้วสามารถทำงานได้อย่างหลากหลาย เช่น เจ้าหน้าที่วิจัย เจ้าหน้าที่ควบคุม และเจ้าหน้าที่ระบบนิเวศ เป็นต้น

4. คณะวนศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ในระดับปริญญาตรีแบ่งออกเป็น 2 สาขา ได้แก่ สาขาวิชาวนศาสตร์ (วท.บ.) และสาขาวิชาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ไม้และกระดาษ (วท.บ.) เป็นคณะที่เรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหารจัดการ การอนุรักษ์ป่าไม้ การจัดการลุ่มน้ำ และด้านระบบนิเวศ

เมื่อน้อง ๆ เรียนจบแล้วก็สามารถสมัครเข้าทำงานได้ที่ กรมป่าไม้, กรมการเกษตร, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, บริษัทผลิตภัณฑ์ไม้ และบริษัท/องค์กรอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับด้านการเกษตร หรือด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

5. คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ม.ศิลปากร

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.) มีสาขาวิชาที่เปิดสอน 4 สาขา ได้แก่ สาขาวิชาสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช และสาขาวิชาธุรกิจเกษตร

สำหรับการเรียนการสอนของคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มศก. จะเน้นการเรียนรู้ทางด้านสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติจริง รวมถึงน้อง ๆ ยังจะได้ลงฝึกปฏิบัติงานจริงในหน่วยงานของทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อช่วยเสริมสร้างประสบการณ์การทำงานในฟาร์มกับเกษตรกรตัวจริง เมื่อน้อง ๆ เรียนจบออกไปแล้วสามารถเข้าทำงานได้อย่างหลากหลาย เช่น สัตวบาลประจำฟาร์ม ผู้ช่วยสัตวแพทย์ นักปรับปรุงพันธุ์สัตว์ นักโภชนศาสตร์สัตว์ และทำงานที่บริษัทปุ๋ยหรือวัสดุบำรุงดิน เป็นต้น

บทความที่น่าสนใจ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0