โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

5 มาตรการคุมเข้ม ป้องกันสุขภาพประชาชนจาก ฝุ่น PM2.5

SpringNews

เผยแพร่ 21 ม.ค. 2563 เวลา 08.35 น. • SpringNews
5 มาตรการคุมเข้ม ป้องกันสุขภาพประชาชนจาก ฝุ่น PM2.5

สถานการณ์ค่า ฝุ่น PM 2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็ก ในช่วงเวลานี้ยังคงต้องมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในทุกพื้นที่ โดยดำเนินการภายใต้ 5 มาตรการสำคัญ ได้แก่

1) เฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัย ผ่านศูนย์อำนวยการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยขณะนี้มีหน่วยงานสาธารณสุขในระดับจังหวัดและเขตสุขภาพ 3 แห่ง คือ สมุทรสงคราม ลำปาง และแพร่ เปิดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Public Health Emergency Operation Center หรือ PHEOC) เพื่อเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพและประสานงานกับศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัดเพื่อแก่ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน

2) เฝ้าระวังการเจ็บป่วย ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ, ระบบหัวใจและหลอดเลือด, ระบบผิวหนัง, ระบบตาและอื่นๆ รวมทั้งผลกระทบในระยะยาว เช่น โรคมะเร็ง รวมถึงเฝ้าระวังและตอบโต้ข่าวที่เป็นเท็จ

3) สื่อสาร สร้างความรอบรู้แก่ประชาชน โดยจัดทำชุดความรู้และสื่อสารชุดความรู้ผ่านช่องทางต่างๆ ในทุกระดับ พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร (ออส.) รวมถึงผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ดูแลเด็กเล็กในระดับพื้นที่ พร้อมลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพและการป้องกันตนเอง

4) ดูแลสุขภาพและจัดระบบบริการสาธารณสุข โดยสนับสนุนหน้ากากอนามัย 400,000 ชิ้น และเปิดคลินิกมลพิษในพื้นที่เสี่ยงครอบคลุมทั้ง 13 เขตสุขภาพ รวมทั้งจัดทำห้องปลอดฝุ่นจำนวน 83 แห่ง แบ่งเป็นในพื้นที่หมอกควัน ภาคเหนือจำนวน 82 แห่ง จังหวัดนนทบุรี 1 แห่ง นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งมุมคลินิกมลพิษ ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 68 แห่ง

5) มาตรการกฎหมาย โดยเฉพาะมาตรการห้ามเผาในที่โล่ง ซึ่งองค์กรปกครองท้องถิ่นได้มีการประกาศกำหนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดกำแพงเพชรและกรุงเทพมหานคร  รวมทั้งประสานผ่านกลไกคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด ขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เสี่ยงควบคุมแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองในพื้นที่ภายใต้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

แพทย์หญิง พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยได้ออกประกาศเรื่องค่าเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็กในบรรยากาศ ซึ่งเป็นปัญหามลพิษที่มีความรุนแรง โดยเฉพาะ ฝุ่น PM2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งระดับของผลกระทบต่อสุขภาพได้ใช้สีเป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบ แบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่
แพทย์หญิง พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยได้ออกประกาศเรื่องค่าเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็กในบรรยากาศ ซึ่งเป็นปัญหามลพิษที่มีความรุนแรง โดยเฉพาะ ฝุ่น PM2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งระดับของผลกระทบต่อสุขภาพได้ใช้สีเป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบ แบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่

สีฟ้า 0–25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

สีเขียว 26–38 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

สีเหลือง 38–50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

สีส้ม 51–90 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

สีแดง 91 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไป

โดยหากพบค่า ฝุ่น PM2.5 ตั้งแต่ระดับสีเหลืองขึ้นไป ประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์, เด็ก, ผู้สูงอายุ, กลุ่มผู้ป่วย, ผู้มีโรคประจำตัว และผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศได้จากเฟซบุ๊กเพจ คนรักอนามัย ใส่ใจอากาศ PM 2.5

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0