โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

4 เรื่องกฎหมายการเงินใหม่ ต้องทราบปี 2563

กรุงเทพธุรกิจ

เผยแพร่ 07 ธ.ค. 2562 เวลา 02.30 น.

กลับมาพบกับบทความสุดท้ายของปี 2562 กันแล้วนะครับ ช่วงนี้หลายคนเริ่มวางแผนสำหรับปีหน้ากันแล้ว

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงาน ชีวิตส่วนตัว รวมไปถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ต้องวางแผน วันนี้ผมมีผู้เชี่ยวชาญในด้านการวางแผนการเงินของบริษัทWealth Creation International Co., Ltd.คุณปิติพงษ์ รุ่งเรืองวุฒิกุลCFP®จะมาเล่าเรื่องกฎหมายการเงินที่จะออกใหม่ในปี2563ได้ผู้อ่านทุกท่านได้เตรียมตัวกันตั้งแต่เนิ่นๆ ครับ

วันนี้ผมขอเลือกกฎหมายที่น่าสนใจ และน่าจะมีผลกระทบกับท่านผู้อ่านพอสมควร มาสรุปให้ได้อ่านกันครับ

เริ่มด้วย การหมดเขตการใช้สิทธิลดหย่อน LTFโดยในปี 2562 นี้จะเป็นปีสุดท้ายที่สามารถใช้ค่าซื้อLTFมาเป็นค่าใช้จ่ายในการลดหย่อนภาษีส่วนบุคคลได้ โดยในขณะที่ผู้เขียนเขียนบทความนี้นั้น ได้มีประกาศถึงมติ ครม. เกี่ยวกับกองทุนSSFที่จะมาเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการลงทุนที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ เหมือนกับLTFโดยที่กองทุนSSFนั้นจะต่างจากLTFตรงที่ผู้ซื้อต้องถือกองทุนนี้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี และสามารถซื้อได้ ไม่เกิน 30% ของรายได้ และไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อนำไปรวมกับRMF,กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ,กบข.,ประกันชีวิตแบบบำนาญ และกองทุนออมแห่งชาติ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาทอีกด้วย

จากกฎเกณฑ์นี้ กลุ่มคนที่น่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือกลุ่มผู้บริหารระดับสูง หรือผู้มีรายได้ประจำเฉลี่ยเกิน 250,000 บาทขึ้นไป เพราะจากเดิมที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อน LTFและRMFรวมกันได้สูงสุด 1,000,000 บาท จะลดลงมาเหลือแค่ 500,000 บาทเท่านั้น จากการลองคำนวณดู ผู้บริหารที่มีรายได้ปีละ 3,400,000 บาท จะมีความเป็นไปได้ที่จะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกปีละ 150,000 บาทเลยทีเดียว

ยังไม่หมดแค่นั้น ณ วันแรกของปีวันที่ 1 มกราคม 2563 จะเป็นวันแรกที่เริ่มมีการประเมิน และเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่ง ณ วันที่ 1 มกราคมนั้น ที่ดินทุกที่ที่เรามีชื่อเป็นผู้ครอบครองนั้นจะถูกนำมาคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด โดยที่หากเป็นบ้านพร้อมที่ดินที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และมูลค่าประเมินไม่เกิน 50 ล้านบาท ก็จะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แต่หากเกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่เกินจะถูกนำไปคิดคำนวณภาษี ที่อัตรา 0.03%-0.10% ขึ้นอยู่กับราคาประเมิน แต่หากเป็นอสังหาริมทรัพย์เพียงอย่างเดียว ไม่มีที่ดิน (เช่น คอนโดมิเนียม)นั้น จะได้รับการยกเว้นที่ราคาประเมิน 10 ล้านบาทแรก

ส่วนที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่ไม่ได้มีชื่อในทะเบียนบ้านนั้น จะถูกคิดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอยู่ที่ 0.02%-0.10% ขึ้นอยู่กับราคาประเมิน

และเพื่อไม่ให้ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งก่อสร้างสูงโดยไม่จำเป็น กลยุทธ์อย่างหนึ่งที่แนะนำให้นำมาใช้ก็คือการย้ายทะเบียนบ้านของตัวเราเข้าไปอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาแพงที่สุด เสียก่อนที่จะถึงวันที่ 1 มกราคม 2563 นั่นเองครับ

ถัดมาอีก 3 เดือน วันที่ 31 มีนาคม 2563 จะเป็นวันที่ ธนาคารและสถาบันการเงินจะส่งข้อมูลทางบัญชีของผู้ใช้บริการให้กับสรรพากร เพื่อตรวจสอบรายการเงินเข้าบัญชีบุคคลโดยจะเป็นข้อมูลที่เริ่มเก็บตั้งแต่ มีนาคม 2562 เป็นต้นไป

โดยหากเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ รายชื่อของบุคคลนั้นจะถูกส่งไปที่สรรพากรครับ นั่นคือ "มียอดธุรกรรมทางการเงินเข้าบัญชีเกิน 400 ครั้งต่อปี และยอดรวมเกิน 2,000,000 บาท" หรือ "มียอดเงินเข้าเกิน 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป"

เพราะฉะนั้น หากไม่อยากให้ธนาคารส่งข้อมูลให้กับทางสรรพากร ก็อย่าลืมตรวจสอบยอดเงินเข้า ในปีนี้กันด้วยนะครับ ว่ามีบัญชีไหนใกล้จะถึงเงื่อนไขที่กำหนดไว้บ้างแล้ว และอาจจะเปลี่ยนไปใช้การทำธุรกรรมกับบัญชีต่างธนาคารอื่นแทนครับ อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้หลุดจากเงื่อนไขการส่งข้อมูลของธนาคาร สถาบันการเงินให้กับทางสรรพากรได้แล้วจริงๆ นั้น อาจจะต้องมานั่งคิดวางแผนภาษีในปีหน้าที่จะถึงอย่างเป็นเรื่องเป็นราวให้ถูกต้องแล้วละครับ

ท้ายที่สุด ในวันที่ 11 สิงหาคม 2563 นั้น สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะลดความคุ้มครองเงินฝากลงจากเดิมที่คุ้มครองอยู่ที่ 5,000,000 บาทต่อปี จะเหลือเพียงแค่ 1,000,000 บาท เท่านั้นครับ ดังนั้นการฝากเงินในธนาคารก็ใช่ว่าจะปลอดภัยเหมือนเดิมอีกต่อไป

การลงทุนในกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำใกล้เคียงกับเงินฝาก แต่ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ก็ดูจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากขึ้นครับ แต่อย่างไรก็ตามก่อนการลงทุน อย่าลืมศึกษาทำความเข้าใจในตัวสินค้าให้ดีเสียก่อน หรือขอคำปรึกษาจากนักวางแผนการเงิน CFP®ก็จะช่วยประหยัดเวลาไปได้เยอะเลยครับ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0