โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

4 หัวใจการเงิน...สินทรัพย์มั่งคั่ง ชีวิตมั่นคง (2)

Rabbit Today

อัพเดต 16 ม.ค. 2562 เวลา 14.38 น. • เผยแพร่ 16 ม.ค. 2562 เวลา 14.38 น. • ดร.ธนาวัฒน์ สิริวัฒน์ธนกุล
asset-2-biz-buzz-Rabbit-Today-banner

4 หัวใจการเงิน เดอะซีรีส์ทั้งหมด 4 ตอน ว่าด้วยเรื่องการจดบันทึกรวบรวมข้อมูลทรัพย์สินที่มีค่าต่างๆ นานา จากหลากหลายแหล่งที่เราเรียกกันว่า สินทรัพย์ และนำมาจัดหมวดหมู่ใส่กล่องเป็น 4 ประเภทสินทรัพย์ ให้เป็นระเบียบในการติดตามและตรวจสอบ

หลายคนเมื่อรวบรวมข้อมูลสินทรัพย์ทั้งหมดที่มีอยู่อาจพบว่ามีสินทรัพย์มากมายจนคาดไม่ถึง และทำให้เกิดความกังวลใจต่อมาว่าถ้าเกิดสินทรัพย์ที่มีอยู่เกิดสูญหายหรือด้อยค่าลงไป จะทำอย่างไร จะส่งผลทำให้ชีวิตแย่ลงจนรับไม่ได้หรือไม่

มองดูอีกทีโลกนี้ก็ยุติธรรมเสมอนะครับ คนที่ไม่มีทรัพย์สินก็เป็นทุกข์ในความไม่มีของตนเอง ในขณะที่คนที่มีทรัพย์สินอยู่มากมายก็เกิดทุกข์กังวลใจว่าทรัพย์สินที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ อาจเสื่อมค่า หรือดับสูญไป

ทรัพย์สินต่างๆ เหล่านี้ที่เราจับต้องได้ อาจประสบกับปัญหาความไม่แน่นอน หรือพบเจอกับอุบัติเหตุเภทภัยต่างๆ ที่ไม่ได้ตั้งใจแล้วอาจทำให้ความรวยของเราลดลง จากการที่สิ่งของเหล่านั้นเสื่อมสลาย มีราคาลดลง และสูญหาย 

อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าตัวของเราก็เป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงที่สุด ที่ประเมินไม่ได้ด้วยเช่นกัน ส่งผลทำให้เราต้องเรียนรู้ที่จะบริหารความเสี่ยงกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกาย จิตใจ และการกระทำของเรา แล้วส่งผลทำให้เราต้องสูญเสียเงินทองไปกับเหตุการณ์เหล่านั้น

4 หัวใจการเงิน…สินทรัพย์มั่งคั่ง ชีวิตมั่นคง (2),ธุจฃรกิจและการเงิน,Rabbit Today
4 หัวใจการเงิน…สินทรัพย์มั่งคั่ง ชีวิตมั่นคง (2),ธุจฃรกิจและการเงิน,Rabbit Today

3 ทางออกต่อไปนี้อาจทำให้ผู้อ่าน Rabbit Today ที่เป็นคนรวยในปัจจุบัน หรือกำลังจะเป็นคนรวยในงวดถัดไป อาจเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ได้บ้าง

1. การแบกรับความเสี่ยงไว้เอง เป็นการบริหารความเสี่ยงที่เรามีการคิดวิเคราะห์เองแล้วว่า ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่เป็นภัยต่างๆ นั้นเป็นจำนวนเงินไม่มาก และเราสามารถยอมรับความสูญเสียดังกล่าวได้ เช่น ความสูญเสียที่เราอาจจะประมาทเลินเล่อแล้วทำให้จาน แก้ว หรือเครื่องใช้ในบ้านต่างๆ เสียหาย

แต่ต้องย้ำว่า เกิดขึ้นจากการตระหนักถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจแล้ว และมีการวิเคราะห์ความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้แล้ว ไม่ใช่เป็นการเพิกเฉยละเลยถึงเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนในอนาคต

2. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการบริหารความเสี่ยงที่เราพยายามลดความสูญเสีย ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น เช่น การเปลี่ยนเครื่องใช้ในบ้านที่แตกหัก เช่น แก้ว จาน ชาม ต่างๆ ให้เป็นพลาสติกหรือสเตนเลสที่คงทน การไม่ดื่มสุราไม่เที่ยวกลางคืนเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ เป็นต้น

3. การถ่ายโอนความเสี่ยง เป็นแนวทางในการบริหารความเสี่ยงที่เราคิดวิเคราะห์ถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแล้วว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ดังกล่าว เพราะอาจเกิดขึ้นจากอุบัติภัยทางธรรมชาติ หรือโรคร้ายแรงต่างๆ ที่แม้ว่าเราจะพยายามดูแลสุขภาพให้ดีแล้ว ก็อาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงไปได้ และความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น อาจทำให้เราต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวนมาก

4 หัวใจการเงิน…สินทรัพย์มั่งคั่ง ชีวิตมั่นคง (2),ธุจฃรกิจและการเงิน,Rabbit Today
4 หัวใจการเงิน…สินทรัพย์มั่งคั่ง ชีวิตมั่นคง (2),ธุจฃรกิจและการเงิน,Rabbit Today

ตัวอย่างของเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อย แต่อาจสร้างความสูญเสียทางการเงินให้เราเป็นจำนวนมาก อาจได้แก่ อุบัติภัยทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว หรืออุบัติเหตุ จากความไม่ตั้งใจ ความประมาทเลินเล่อ เช่น รถชน ไฟไหม้ รวมไปถึงโรคร้ายแรงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิต หัวใจ เส้นเลือดในสมองตีบ เป็นต้น 

เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้คนไทยจำนวนมากมักคิดเข้าข้างตัวเองว่าเราเกิดมาพร้อมกับโชคดี เดี๋ยวสักวันหนึ่งเราจะถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 ซึ่งมีโอกาสเพียง 1 ในล้านเท่านั้น 

ส่วนโชคร้ายนั้นมักจะเฉี่ยวเราไปมาไปโดนคนอื่นแทน แต่ลืมไปว่าโชคร้ายเพียงแค่โรคมะเร็งอย่างเดียวก็มีโอกาสตรวจพบในคนไทย 1,000 คนต่อคนไทยทุกๆ 1,000,000 คน นั่นแปลว่าโชคร้ายจากโรคมะเร็งเพียงอย่างเดียวก็มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าการถูกลอตเตอรี่แล้ว 1,000 เท่า แล้วอุบัติเหตุและโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ รวมแล้วก็ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสมากกว่าเป็นกี่หมื่นเท่านะครับ

ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้เราอาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือกำจัดให้หมดไปได้ แต่เราก็สามารถถ่ายโอนความเสี่ยงดังกล่าวนี้ไปยังบุคคลที่สาม ซึ่งก็คือบริษัทประกันภัยและบริษัทประกันชีวิต เพื่อให้เข้ามาแบกรับความเสียหายต่างๆ แทนเรา

4 หัวใจการเงิน…สินทรัพย์มั่งคั่ง ชีวิตมั่นคง (2),ธุจฃรกิจและการเงิน,Rabbit Today
4 หัวใจการเงิน…สินทรัพย์มั่งคั่ง ชีวิตมั่นคง (2),ธุจฃรกิจและการเงิน,Rabbit Today

สินทรัพย์สภาพคล่องและสินทรัพย์เพื่อการลงทุน อาจไม่สามารถประกันความเสี่ยงได้ เนื่องจากบริษัทประกันจะรับประกันเฉพาะความเสี่ยงอย่างแท้จริง (Pure Risk) ที่จะส่งผลกระทบด้านลบเท่านั้น ต่อความมั่งคั่งของบุคคลหากเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้น แต่ความเสี่ยงเชิงสุ่ม (Speculative Risk) ที่อาจมีทั้งกำไรและขาดทุนจากการออม และลงทุนในสินทรัพย์สภาพคล่องและสินทรัพย์ เพื่อการลงทุนจะไม่ได้ทำประกันได้

การบริหารความเสี่ยงผ่านการวางแผนประกัน จึงอาจมุ่งเน้นไปที่การถ่ายโอนความเสี่ยงที่อาจเกิดความสูญเสียต่างๆ กับสินทรัพย์ใช้ส่วนตัวที่มีมูลค่าสูงๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก รถยนต์ บ้าน และคอนโดมิเนียม รวมไปถึงความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพและชีวิตจากอุบัติเหตุและโรคร้ายแรงต่างๆ

การกำหนดวงเงินเอาประกันภัยในกรณีที่เกิดเหตุที่ไม่คาดฝัน อาจคำนวณได้ยุ่งยาก แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ช่วย Disrupt ปัญหาเหล่านี้ ทำให้เราสามารถคำนวณได้อย่างง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันต่างๆ เพราะอย่าลืมว่า ทุกวันนี้เรากำลังอยู่ในยุค IoT (Internet of Things)

หนึ่งในโปรแกรมวางแผนการเงินง่ายๆ ที่จะลองแนะนำให้คุณเข้าไปกรอก เพื่อจะได้สามารถวิเคราะห์จำนวนเงินเอาประกันภัย อยู่ในเว็บไซต์ www.allaboutfin.com ครับ

บทความตอนต่อไปในซีรีส์นี้ เราจะมาดูกันว่าหัวใจที่สองของการมีสถานะทางการเงินที่ดีคืออะไร ติดตามคอลัมน์นี้ไปเรื่อยๆ นะครับ ผมจะแนะนำการเงินเรื่องไกลตัวที่ดูเหมือนยาก ให้เป็นเรื่องง่ายๆ ที่จะเปลี่ยนชีวิตใหม่ให้คุณให้มั่งคั่งและมั่นคง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0