โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

4 วิธี ลดผลกระทบทางจิตใจ จากเหตุการณ์รุนแรง

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 28 ก.พ. 2563 เวลา 12.51 น. • เผยแพร่ 28 ก.พ. 2563 เวลา 12.51 น.
27-3p1

หลังปีใหม่มานี้ สังคมเราเจอเหตุการณ์ร้าย ๆ อย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อสภาพจิตใจทั้งผู้ประสบเหตุ ผู้ที่มีคนใกล้ชิดประสบเหตุ และผู้ที่ติดตามข้อมูลข่าวสารทั่วไป ในสถานการณ์แบบนี้ มีคำแนะนำจากกรมสุขภาพจิต 4 ข้อสำหรับจัดการกับความเครียดและผลกระทบทางจิตใจที่เกิดขึ้น

นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากเหตุการณ์กราดยิงที่เทอร์มินอล 21 จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และต่อมาได้เกิดเหตุยิงในห้างเซ็นจูรี่พลาซ่า กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ รวมทั้งมีเหตุการณ์ความรุนแรงอื่น ๆ เกิดขึ้นอีกในระยะเวลาใกล้เคียงกัน อาจทำให้ประชาชนผู้ได้รับข้อมูลข่าวสารหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงมีอาการเครียด หวาดกลัว วิตกกังวล นอนไม่หลับ ฝันร้าย ผวาถึงเหตุการณ์ พูดถึงเหตุการณ์ซ้ำ ๆ

ดังนั้นกรมสุขภาพจิตแนะนำ 4 วิธีลดความเครียด จากเหตุการณ์ความรุนแรง ดังนี้

1.เมื่อรู้สึกว่าเริ่มมีความเครียด มีอารมณ์ร่วมกับข่าวมากเกินไป และเริ่มส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ให้ดึงตัวเองออกจากการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เช่น การหากิจกรรมอย่างอื่นทำ จะทำให้ช่วยลดความเครียดลงไปได้

2.งดการเข้าไปมีส่วนร่วมกับข่าว ทั้งการแชร์ การคอมเมนต์ที่รุนแรงเกรี้ยวกราด เนื่องจากจะเป็นการส่งต่อความรุนแรงต่อไป

3.พูดคุยกับคนใกล้ชิด จะช่วยให้สามารถระบายความรู้สึก คลายความทุกข์ในใจ สร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ ให้ก้าวผ่านความยากลำบากไปได้

4.สังเกตอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง หากรู้สึกว่าเครียดมากเกินไป ไม่สามารถรับมือได้ ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ โทร.044-233-999 และสายด่วนสุขภาพจิต โทร.1323 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลจิตเวชในสังกัดกรมสุขภาพจิต

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0